คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Saturday, March 30, 2019

สมุนไพร ขี้กาเทศ

ขี้กาเทศ ชื่อสามัญ Bitter apple, Colocynth, Colocynth pilp.



ขี้กาเทศ ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus colocynthis (L.) Schrad. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ลักษณะของขี้กาเทศ
ต้นขี้กาเทศ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะเลื้อยพัน
ใบขี้กาเทศ แผ่นใบเป็นสีเขียว ขอบใบหยิก
ดอกขี้กาเทศ ดอกเป็นสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน
ผลขี้กาเทศ ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมเรียบ เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุก ผลจะมีขนาดเท่ากับผลส้มขนาดเล็ก ภายในมีเนื้อนิ่ม และมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่แบนสีขาวหรือสีออกน้ำตาล
ผลขี้กาเทศรูปขี้กาเทศเมล็ดขี้กาเทศ
สรรพคุณของขี้กาเทศ
เนื้อผลนำมาปั่นเป็นน้ำดื่มเป็นยาลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดความดันโลหิตสูง (เนื้อผล)
เนื้อผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (เนื้อผล)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขี้กาเทศ
สารสำคัญที่พบในสมุนไพรขี้กาเทศ ได้แก่ alanine, caffeic acid, citrullonol, coumaric acid, cacurbitacin, clateridine, fructose, tetradecenoic acid
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ต้านเชื้อรา
จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าจะเป็นพิษเมื่อใช้สารสกัดผลด้วยแอลกอฮอล์ในขนาด 70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสารสกัดจากผลด้วย ethyl acetate ในขนาด 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือสารสกัดจากผลด้วยคลอโรฟอร์มขนาด 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
จากการทดลองแบบ Randomized, double-blind, placebo-controlled clinical trial ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นชาย 12 คน และหญิงอีก 38 คน ที่มีอายุ 40-65 ปี โดยทำการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน ให้รับประทานแคปซูลผลขี้กาเทศขนาด 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน หรือรับประทานยาหลอกร่วมกับการรักษาปกติ เป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานแคปซูลขี้กาเทศมีปริมาณ HbA1C และระดับน้ำตาลลดลง ตลอดการทดลองไม่พบอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร จึงเห็นได้ว่าผลขี้กาเทศสามารถช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้โดยไม่ก่ออาการข้างเคียง แต่การรับประทานผลขี้กาเทศนี้ไม่มีผลลดระดับไขมัน ทั้งระดับคอเรสเตอรอลรวม, Low-density lipoprotein, High-density lipoprotein, ไตรกลีเซอไรด์ ระดับเอนไซม์ asparate transaminase, alanine transaminase, alkaline phosphatase ปริมาณยูเรียและ creatinine ในเลือด
จากการศึกษาฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลในเลือดของสารสกัดเมทานอลจากผลขี้กาเทศในหนูแรท ผลการทดลองพบว่า การป้อนสารสกัดเมทานอลจากผลขี้กาเทศในขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีผลลดระดับคอเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, low-density lipoprotein และ very low-density lipoprotein และเพิ่ม high-density lipoprotein ในเลือดของหนูแรท ทั้งในภาวะที่มีไขมันในเลือดสูงและในภาวะที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียว และการป้อนสารสกัดเมทานอลจากผลขี้กาเทศทั้งสองขนาดมีผลเพิ่มระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ superoxide dismutase, glutathaione และ catalase และลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาการเกิดออกซิเดชันของไขมัน ทั้งในภาวะที่มีไขมันในเลือดสูงและในภาวะเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ ยังมีผลลดระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase และ alanine aminotransferase ในตับ และลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญในหนูที่มีภาวะเป็นโรคเบาหวาน ผลจากการทดลองนี้จึงแสดงให้เห็นว่า สารสกัดเมทานอลจากผลขี้กาเทศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสามารถลดไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดได้
เมื่อมี ค.ศ.2007 ที่ประเทศจอร์แดนได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากผลขี้กาเทศ โดยทำการทดลองในหนู 20 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ให้สารสกัดขี้กาเทศ ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว เป็นเวลา 7 วัน ผลการทดลองพบว่า ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของกลุ่มควบคุม = 180 ± 9.69 mg./dl. ส่วนอีกกลุ่มมีระดับคอเลสเตอรอล = 135 ± 6.82 mg./dl. (P < 0.01) ค่า LDL-C พบ P < 0.01

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment