คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Wednesday, April 10, 2019

สมุนไพรเอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด ชื่อวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. ex J.J. Sm., Gastrochilus miniatus (Lindl.) Kuntze, Saccolabium miniatum Lindl.) จัดอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE)


 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พุ่มสุวรรณ เอื้องไข่เหลือง เอื้องมันปู เอื้องฮางคาง (เชียงใหม่), เอื้องฮ่องคำ (ลำปาง), เอื้องเหลืองพระฝาง (กรุงเทพฯ), เข็มเหลือง, เข็มแสด, สุขสำราญ เป็นต้น

ลักษณะของเอื้องเข็มแสด
ต้นเอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ

ใบเอื้องเข็มแสด ใบออกเรียงสลับในระนาบเดียวกันและซ้อนกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบตัดเป็นจักแหลม ด้านล่างเป็นสันเหลี่ยม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็งเป็นสีเขียวแก่ ใบพับเป็นร่อง และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อยเมื่ออยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้ง

ดอกเอื้องเข็มแสด ออกดอกเป็นช่อตั้งตามซอกใบ ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 20-50 ดอกต่อช่อ ช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกหนา กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นมันสีส้มหรือสีเหลืองอมส้ม กลีบปากเป็นสีแสด ฝาปิดกลุ่มเรณูเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของเอื้องเข็มแสด
ในหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ระบุว่า รากของพรรณไม้ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ascocentrum miniatum (Lindl.) (ตามตำราเรียกต้น "เข็มเหลือง") มีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยารักษาฝีกาฬจับหัวใจ (ราก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment