คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Tuesday, April 16, 2019

สมุนไพรคงคาเดือด

คงคาเดือด

คงคาเดือด ชื่อวิทยาศาสตร์ Arfeuillea arborescens Pierre ex Radlk. จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)


มีชื่อท้องถิ่น ๆ อื่นว่า ช้างเผือก (ลำปาง), สมุยกุย (นครราชสีมา), ตะไล (ราชบุรี), ตะไลคงคา (ชัยนาท), คงคาเลือด หมากเล็กหมากน้อย (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของคงคาเดือด
ต้นคงคาเดือด จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 8-20 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ลำต้นมีขนาดเท่าต้นมะพร้าวหรือใหญ่กว่า เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือเป็นสีหม่น ๆ และมีด่างเป็นดวงขาว ๆ ทั่วไปตามลำต้น ส่วนกิ่งนั้นเป็นสีเขียว มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน อาจพบในพม่าด้วย ส่วนในไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ โดยพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และขึ้นประปรายตามป่าราบ ชอบเขาหินปูน ระดับความสูงจนถึง 600 เมตร

ใบคงคาเดือด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมยาวหรือเว้าตื้น โคนใบมนเบี้ยวไม่เท่ากันหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบหรือบางใบมีรอยหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-7 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบมีขนยาวใกล้เส้นกลางใบทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร

ดอกคงคาเดือด ดอกเป็นแบบแยกเพศร่วมต้น ออกดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร โดยจะออกที่ปลายยอด ช่อกระจุกเรียวยาว ม้วนขดเล็กน้อย ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาวประมาณ 5-5.9 มิลลิเมตร สีแดงอมเขียว กลีบดอกมี 2-4 กลีบ เป็นสีขาว มีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร จานฐานดอกเป็นรูปคล้ายปาก ดอกมีเกสรเพศผู้ 6-9 อัน เกลี้ยง ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 5-9 มิลลิเมตร ในดอกเพศเมียจะสั้นกว่าในดอกเพศผู้ อับเรณูยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รังไข่มี 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 2 เม็ด มีขนและไร้ก้าน ในดอกเพศผู้ฝ่อ ในดอกเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย

ผลคงคาเดือด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี เป็นผลแบบแคปซูล บาง เกลี้ยง ปลายผลและขั้วผลแหลม มีปีก 3 ปีก ยาวประมาณ 3.2-5.5 เซนติเมตร ส่วนปีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลสดเป็นสีเขียว พอแห้งจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในมีเมล็ดสีดำ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่กลับมีขนขึ้นสีน้ำตาลปกคลุม ยาวประมาณ 5-5.5 มิลลิเมตร ขั้วเมล็ดมีขนาดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม


สรรพคุณของคงคาเดือด

เนื้อไม้คงคาเดือด
เปลือกต้นและเนื้อไม้มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
เปลือกต้นใช้กินเป็นยาดับพิษไข้ แก้พิษร้อนในกระหายน้ำ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ซางตัวร้อน (โรคของเด็กเล็ก มีอาการสำคัญคือ ซึม เบื่ออาหาร มีเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า) (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
เปลือกต้นมีรสเย็นออกขมฝาด ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ (เปลือกต้น)
เนื้อไม้มีรสเย็นขมฝาด ใช้ฝนกินเป็นยาฆ่าพยาธิ (เนื้อไม้)
เปลือกต้นนำมาต้มเอาน้ำอาบรักษาอาการคัน ช่วยแก้อาการคันแสบร้อนตามผิวหนัง (เปลือกต้น, เนื้อไม้)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment