คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Wednesday, April 17, 2019

สมุนไพรคนทีเขมา

คนทีเขมา

คนทีเขมา ชื่อสามัญ Five-leaved chaste tree, Chinese chaste, Indian privet, Negundo chest nut
คนทีเขมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex negundo L. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

สมุนไพรคนทีเขมา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คนทีสอดำ (ภาคเหนือ), คนทิ คนที (ภาคตะวันออก), โคนดินสอ คนดินสอดำ ดินสอดำ ผีเสื้อดำ (อื่น ๆ), กูนิง (มาเลเซีย-นราธิวาส), กุโนกามอ (มาเลเซีย-ปัตตานี), หวงจิง (จีนกลาง), อึ่งเกง (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น


ลักษณะของคนทีเขมา

ต้นคนทีเขมา จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 3-6 เมตร ผิวลำต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล กิ่ง ก้าน และใบมีกลิ่นหอม กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีสีเทาและมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม รากเป็นสีเหลือง เนื้อในรากเป็นสีขาว พรรณไม้นี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ กิ่งตอน และเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกา และได้แพร่พันธุ์มายังเอเชียตอนใต้ ไปจนถึงญี่ปุ่นและต่อมายังเอเชีย ที่ระดับความสูงประมาณ 200-1,400 เมตร

ใบคนทีเขมา ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 5 หรือ 3 ใบ โดย 3 ใบบนจะมีขนาดใหญ่กว่า 2 ใบล่าง ใบบนมีก้าน ส่วนใบล่างไม่มีก้าน ใบมีกลิ่น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบยาวแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีขาว ปกคลุมไปด้วยขนอ่อน

ดอกคนทีเขมา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีอยู่เป็นจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวแกมม่วงอ่อน กลีบดอกแตกออกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย เชื่อมติดกันที่โคน ปลายกลีบล่างแผ่โค้ง กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน

ผลคนทีเขมา ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปกลม แห้ง เปลือกแข็งเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ติดผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน

ข้อควรรู้ : คนทีเขมาเป็นสมุนไพรเก่าแก่ชนิดหนึ่ง แม้จะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในบ้านเรา แต่คงเข้ามาเป็นเวลานานแล้วพร้อม ๆ กับคนทีสอ ในภาษาพื้นบ้านจะเรียกสมุนไพรทั้งสองชนิดนี้เหมือนกัน เช่น ผีเสื้อบ้าง ดินสอบ้าง แต่จะแยกขาวกับดำ โดยผีเสื้อดำจะหมายถึงคนทีเขมา ส่วนผีเสื้อขาวจะหมายถึงคนทีสอ หมอยาบอกว่า สมุนไพรทั้งสองชนิดนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้ แต่หมอยาจะนิยมใช้คนทีสอมากกว่าเพราะกลิ่นดีกว่า คนทีเขมานอกจากชนิดนี้แล้วยังมีคนทีเขมาอีก 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งมีลักษณะของต้นที่คล้ายกัน แต่เมล็ดจะมีสีดำมากกว่า โดยมีชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vitex neyundo L.var. heterophylla (Franch) Rehd และชนิด Vitex quinata A.N. Willd โดยทั้งสองชนิดนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้

สรรพคุณของคนทีเขมา

ใบใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ใบ)
ใช้เป็นยาบำรุงเลือดลม ด้วยการใช้ผลอย่างเดียว หรือใช้กิ่ง ก้าน ใบ และผล นำมาตากแห้ง ดองกับเหล้ากิน (ผลควรทุบให้แตกก่อนนำมาดอง) ใช้กินครั้งละ 1 เป๊ก หรือประมาณ 30 ซีซี วันละ 1-2 ครั้ง หากกินเป็นประจำจะช่วยทำให้เลือดลมดี ไม่มีสิวมีฝ้า ลดอาการไม่สบายขณะมีประจำเดือนและคนวัยทองได้ (กิ่ง, ก้าน, ใบ, ผล)
ยางใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ยาง)
ใบใช้ผสมกับน้ำใช้ทาหน้าผากรักษาอาการปวดศีรษะ หรือนำใบสดมาขยี้ดม ขยี้ปิดที่หน้าผาก ขยี้กับน้ำแล้วเอาลูบหัว ลูบตามตัว ต้มอาบ เอาใบมาชงกิน หรือนำใบแห้งมาสูบก็ได้ (ใบ)
ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการหูอื้อ (ใบ)
ใบมีรสหอมร้อน ใช้เป็นยาแก้เยื่อจมูกอักเสบ (ใบ)
ยางมีรสร้อนเมา ใช้ขับเลือดและลมให้กระจาย (ยาง)
ใช้เป็นยาแก้พิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยกระจายพิษไข้ในร่างกาย แก้ไอหวัดตัวร้อน (รากและก้าน)
ตำรายาไทยจะใช้รากและใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดไข้ แก้ไข้ (รากและใบ) ส่วนช่อดอกก็มีสรรพคุณเป็นยาลดไข้ด้วยเช่นกัน (ช่อดอก)
ใช้เป็นยารักษาไข้หวัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-40 ใบ หรือประมาณ 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 3 เวลา หรือใช้ใบแห้งนำมาสูบแก้หวัดที่มีน้ำมูกไหล ส่วนอีกวิธีให้ใช้ใบสด 30-40 กรัม ผสมกับหอมใหญ่ 8 กรัม และขิงสดอีก 8 กรัม นำไปต้มกับน้ำกิน (ใบ) ส่วนดอกและผลก็มีสรรพคุณรักษาไข้หวัด ไอหวัดด้วยเช่นกัน (ดอก, ผล)
ใช้รักษาโรคไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 180 กรัม ใส่น้ำให้ท่วมแล้วนำไปต้มโดยใช้ไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้ข้น จนเหลือราว ๆ ถ้วยครึ่ง แล้วแบ่งรับประทานครึ่งหนึ่งก่อนมีอาการ หลังจากกิน ไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ให้กินส่วนที่เหลือ หรือจะใช้รากสดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินก่อนมีอาการราว ๆ 3 ชั่วโมงก็ได้ (ราก, ใบ)ส่วนผลก็มีสรรพคุณรักษาไข้มาลาเรียด้วยเช่นกัน (ผล)
ใช้รักษาโรคไข้รากสาดน้อยรวมถึงอาการไอ ให้ใช้ผลประมาณ 3-10 กรัม นำมาคั่วโดยอย่าให้ไหม้ เพราะจะทำให้ยาไม่มีฤทธิ์ จากนั้นให้นำมาต้มกิน (ผล)
ใช้เป็นยาแก้ไอ (ราก, ใบ, ผล)
ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ (ใบ)
ใช้เป็นยาขับเสมหะ (ราก, ใบ, ผล)
ใช้รักษาหอบหืด ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 50 ลูก หรือใช้ประมาณ 6-15 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใส่น้ำตาลทรายจำนวนพอควร แล้วนำมาชงกับน้ำกินวันละ 2 เวลา หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 6-20 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ชงกับน้ำกินก็ได้ (ผล, เมล็ด) ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้หอบหืดด้วยเช่นกัน (ราก)
ใช้รักษาหลอดลมอักเสบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (รากและก้าน)
รากมีรสร้อนเมา ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ลม (ราก)
เปลือกต้นมีรสหอมร้อน ใช้เป็นยาแก้ลมเสียดแทง (เปลือกต้น)
ช่อดอกมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการท้องเสีย (ช่อดอก)
รากและใบใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง (รากและใบ, รากและก้าน) หรือจะใช้เปลือกต้นเป็นยาต้มกินบรรเทาอาการปวดท้องก็ได้ (เปลือกต้น)
รากใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหาร (ราก)แก้อาการปวดกระเพาะ (รากและก้าน, เมล็ด) หรือใช้ผลรักษาอาการปวดท้องโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3-10 กรัม นำมาบดให้เป็นผง แล้วปั้นเป็นเม็ดกิน (ผล)
ใช้รักษากระเพาะอาหารเป็นแผล กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ปวดกระเพาะ ด้วยการใช้ผลแห้งหรือเมล็ดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือบดเป็นผงกิน หรือจะใช้รากสดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลแดงพอสมควร ต้มกับน้ำกินก็ได้ (ราก, ผล, เมล็ด)
ช่วยแก้อาหารไม่ย่อย (เมล็ด)
ใบ ดอก และผลใช้เป็นยาแก้บิด แก้ลำไส้อักเสบ (ใบ, ดอก, ผล) ใช้รักษาโรคบิดไม่มีตัวลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-40 ใบ หรือประมาณ 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 3 เวลา (ใบ) ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือใช้ชงดื่มแทนชาเพื่อป้องกันลำไส้อักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด) ด้วยการใช้รากสดประมาณ 30 กรัม นำมาหั่นให้เป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนำมาคั่วกับเหล้าให้หวานจนเป็นสีเหลือง ใส่น้ำประมาณ 2 ถ้วย แล้วต้มให้เหลือเพียง 1 ถ้วย นำมาใช้กินก่อนอาหารค่ำ (ราก, รากและก้าน)นอกจากนี้เปลือกต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้พยาธิด้วยเช่นกัน (เปลือกต้น)
รากมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ใบ, ดอก, ผล)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
รากใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงแห้ง (ราก)
คนทีเขมา สมุนไพรเฝ้าเลือดลมผู้หญิง นิยมใช้เข้ายาอาบ ยาอบ และยาประคบสำหรับผู้หญิง โดยทำเป็นยาต้มกินจะทำให้เลือดลมดี ผู้หญิงที่เลือดแห้ง ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีอาการผิดเลือดผิดลม หากใช้สมุนไพรชนิดนี้ต้มกินต้มอาบเป็นประจำจะช่วยลดอาการไม่สบายก่อนมีประจำเดือนได้ เช่น อาการหงุดหงิดฉุนเฉียว อารมณ์แปรปรวนง่าย ร้องไห้ง่าย นอนไม่หลับ ขี้ลืม พูดจาเพ้อเจ้อ สับสน ปวดศีรษะ วิงเวียน ท้องอืด บวม ปวดเมื่อยตามตัว และเจ็บตึงเต้านม นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดจะไปลมจะมา หรือที่เรียกว่า วัยหมดประจำเดือน และยังเหมาะกับผู้หญิงหลังคลอด เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยปรับระบบการทำงานของเลือด อารมณ์ผิดปกติหลังคลอด เช่น อารมณ์แปรปรวน หดหู่ ซึมเศร้า จนบางคนมีอาการหมดอารมณ์ทางเพศไปเลย หรือที่เรียกว่า "โรคเบื่อผัว" นอกจากนี้ยังช่วยขับน้ำนม ขับเหงื่อได้อีกด้วย โดยใช้เปลือกต้น ผล และใบ นำมาต้มกินหรือนำผลไปดองกิน (เปลือกต้น, ใบ, ผล)


ยาดองคนทีเขมาแก้โรคสตรีเบื่อผัว ทำให้ไข่ตกเป็นปกติ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ บำรุงสตรีให้อ่อนเยาว์ขึ้น จะใช้เมล็ดคนทีเขมา 50 กรัม นำมาตำให้พอแหลก ดองกับเหล้าท่วมตัวยา 4 เท่า ทิ้งไว้นาน 7 วัน ใช้กินครั้งละ 1 ถ้วยตะไล เช้าและเย็น (เมล็ด)
ใช้รักษาอาการลมผิดเดือนหลังคลอด เช่น อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า เบื่อผัว ให้ใช้เมล็ดตากแห้ง นำมาตำแล้วดองกับเหล้ากินวันละ ½ -1 ถ้วยตะไล เช้าและเย็น (เมล็ด)
ยาแก้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีอารมณ์หงุดหงิดช่วงมีประจำเดือน จะใช้เมล็ดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนกินครั้งละ 2 เม็ด เช้าและเย็น (เมล็ด)
ตำรับยาขับเลือดร้ายขณะอยู่ไฟ อันเนื่องมาจากปวดท้อง ซึ่งกำลังอยู่ไฟ เนื่องจากเลือดคลั่งและทำให้เลือดดี จะใช้ใบคนทีเขมา 1 บาท, ใบหนาด 1 บาท, ใบผักเสี้ยนผี 1 บาท, กะทือ 1 บาท, กระเทียม 1 บาท, ขิง 1 บาท, ดีปลี 1 บาท, พริก 1 บาท, หัวข่า 1 บาท, หัวไพล 1 บาท, หัวหอม 1 บาท, สารส้ม 1 บาท และผิวมะกรูดอีก 22 บาท นำมารวมเข้าด้วยกัน ตำเป็นผงละลายน้ำร้อนหรือน้ำสุรา ใช้กินครั้งละ 1 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (ใบ)
ตำรับยาแก้เลือดแห้ง จะใช้รากคนทีเขมา รากมะตูม รากมะอึก เปลือกไม้แดง เปลือกเพกา ไผ่สีสุก และฝาง นำมาต้มกิน (ราก)
รากใช้เป็นยารักษาโรคตับ (ราก) ใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบ (รากและก้าน, ใบ, ดอก, ผล)
ใบใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน (ใบ)
ช่อดอกใช้เป็นยาฝาดสมาน (ช่อดอก)
ใช้รักษาบาดแผลจากของมีคม บาดแผลจากสุนัขและตะขาบกัด ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
ใช้รักษาแผลพุพองจากไฟไหม้ ด้วยการใช้กิ่งแห้ง นำมาคั่วโดยอย่าให้ไหม้ แล้วนำมาบดให้เป็นผงผสมกับน้ำมัน ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล (กิ่งแห้ง)
ใช้รักษาฝีคัณฑสูตร ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 15 กรัม นำมาคั่วแล้วบดให้เป็นผง หรืออาจจะผสมเหล้าเล็กน้อยก็ได้ แล้วใช้กินตอนท้องว่าง (ผล)
ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ฝี เชื้อราที่เท้า ถอนพิษสาหร่ายทะเล ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
ใบ ดอก และผล ใช้ภายนอกเป็นยาแก้ผดผื่นคัน น้ำกัดเท้า แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ทั้งตะขาบกัด แมงมุมกัด โดยใช้ใบสดมาตำพอกแผล (ใบ, ดอก, ผล)
ยางใช้เป็นยาแก้คุดทะราด ฆ่าพยาธิผิวหนัง (หนัง)
ใบใช้เป็นยาแก้อาการบวมฟกช้ำดำเขียว ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำกิน ส่วนกากที่เหลือใช้พอกบริเวณที่ฟกช้ำ (ใบ) นอกจากนี้ เปลือกต้นก็มีสรรพคุณแก้ฟกบวมด้วยเช่นกัน (เปลือกต้น)
ผลใช้เป็นยารักษาอาการเหน็บชา (ผล)
ใช้รักษาโรคปวดตามข้อ ด้วยการใช้กิ่งสดประมาณ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำ ใช้แบ่งกิน 2 เวลา เช้าและเย็น (กิ่งสด)
ใบมีสรรพคุณรักษาโรคปวดตามข้อด้วยเช่นกัน (ใบ)
ใบใช้เป็นยาแก้ปวดตามข้อตามกล้ามเนื้อ ด้วยการนำใบมาอังไฟให้ร้อน ใช้นวดประคบ หรือใช้ทำเป็นน้ำมันนวด โดยใช้ใบสด 4 กิโลกรัม และน้ำมันงาหีบเย็น 1 ลิตร นำใบมาล้างให้สะอาดเด็ดเอาก้านทิ้ง แล้วนำไปตำให้แหลกคั้นเอาแต่น้ำ มาเคี่ยวรวมกับน้ำมันงาโดยใช้ไฟปานกลาง โดยเคี่ยวจนน้ำระเหยหมดเหลือแต่น้ำมัน โดยมีตะกอนสีเขียวเล็กน้อย จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมันมาเก็บไว้ใช้นวด ส่วนรากและใบก็ใช้ทำเป็นลูกประคบแก้อาการปวดตามกล้ามเนื้อได้ หรือจะใช้ก้านเป็นยาขับลมชื้นแก้อาการปวดเมื่อย ปวดบวม โดยนำก้านมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้ดองกับเหล้ากิน (ราก, ก้าน, ใบ) ตามตำรายาโบราณจะมีคนทีเขมาอยู่ในยาประคบ ยาย่าง รวมทั้งนำไปเคี่ยวน้ำมันทำเป็นยาพอก ใช้เป็นยากินเพื่อแก้อาการปวดเมื่อยตึงตามข้อ เส้นขัด เอ็นขัด เหน็บชา ลมในเอ็น เถาดาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ตกต้นไม้ ควายชน

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม กิ่งแห้งให้ใช้ 15-35 กรัม ใบแห้งให้ใช้ 10-35 กรัม ส่วนเมล็ดให้ใช้ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment