คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Friday, April 19, 2019

สมุนไพรควินิน

ควินิน

ควินิน ชื่อสามัญ Quinine อ่านได้หลายอย่าง คือ ควินนีน, ควินไนน์, ไควไนน์ (แต่ไม่อ่านว่า ไควนีน) ส่วนเยอรมันเขียนว่า Chinin และอ่านว่า คีนิน



ควินิน ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinchona pubescens Vahl (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cinchona succirubra Pav. ex Klotzsch) (ควินินเปลือกแดง), Cinchona calisaya Wedd. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cinchona ledgeriana (Howard) Bern.Moens ex Trimen) (ควินินเปลือกเหลือง)จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรควินิน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ซิงโคนา (ทั่วไป), กิมโกยนับ กิมโกยเล็ก (จีน), จินจีเล่อ จินจีน่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของควินิน

ต้นควินิน จัดเป็นไม้ยืนต้นเขียวตลอดปี มีความสูงของต้นได้ประมาณ 8-30 เมตร ลำต้นตั้งตรงถึง 6 เมตร จึงมีการแตกกิ่งก้าน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้กิ่งชำหรือเมล็ด แต่ถ้าปลูกเป็นจำนวนมากจะนิยมใช้เมล็ดปลูก เจริญงอกงามได้ในพื้นที่ความสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000-9,000 ฟุต มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดีสของเอกวาดอร์และเปรู และต่อมาชาววิลันดาได้นำพันธุ์ไม้ชนิดนี้ไปปลูกในประเทศอินโดนีเซีย อังกฤษ อินเดีย และศรีลังกา

ใบควินิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมสั้น โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หลังใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อนกว่า หรือเป็นสีเขียวอ่อนปนแดงเล็กน้อย มักมีสีแดงและมีขนสั้น ๆ ตามเส้นใบใหญ่ ก้านใบสั้นเป็นสีแดง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ใบอ่อนเป็นสีแดง

ดอกควินิน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู กลีบเลี้ยงดอกติดกันเป็นหลอดสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 2.4-3.6 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ตามกลีบดอกมีขนสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 5 อัน จะติดกับหลอดกลีบดอก ส่วนก้านเกสรเพศเมียมีอยู่ 1 อัน และยาวพันอยู่ติดกับหลอดดอก ส่วนปลายแยกเป็น 2 แฉก ภายในรังไข่นั้นแบ่งออกเป็น 2 ห้อง

ผลควินิน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระสวย รูปกลมรี หรือรูปไข่ยาว มีความยาวประมาณ 2.5-3.2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาล พอแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดประมาณ 25 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดจะเป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาลแดง
ผลควินิน

หมายเหตุ : นอกจากควินินชนิด Cinchona succirubra Pav. แล้ว ยังมีควินินอีก 2 ชนิด คือ ควินินชนิด Cinchona Ledgeriana Moens ซึ่งต้นจะมีลักษณะคล้ายกันแต่จะมีความสูงน้อยกว่า หรือสูงได้ประมาณ 10 เมตร ใบจะเป็นรูปไข่ยาวและแคบกว่าชนิดแรก ใบเรียบเป็นมันไม่มีขน ส่วนเปลือกต้นจะเป็นสีเหลือง และควินินชนิด Cinchona ofcinalis L. ซึ่งเป็นควินินชนิดที่พบได้ในประเทศจีน มีเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล ซึ่งควินินทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้

สรรพคุณของควินิน

ใช้เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร (เปลือกต้น)
เปลือกต้นมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้เปลือกแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินหรือบดเป็นผงผสมกิน จะมีรสฝาด ส่วนอีกตำรับให้ใช้เปลือกแห้งประมาณ 3 กรัม (สำหรับคนแข็งแรงให้ใช้เปลือกต้น 6 กรัม) ผสมกับเปลือกอบเชยประมาณ 1.5 กรัม แล้วนำมาต้มกับน้ำกิน (เปลือกต้น)

ใช้แก้อาการเมาค้าง ด้วยการใช้เปลือกต้นแห้งประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาแก้พิษสุราเรื้อรัง ด้วยการใช้เปลือกต้นประมาณ 5-8 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาแก้ปากเจ็บ คอเจ็บ ด้วยการใช้เปลือกต้นแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำแล้วใช้อมบ้วนปากกลั้วคอ 2 เวลา เช้าและเย็น (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยารักษาหัวใจเต้นเร็ว (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย (เปลือกต้น)
ขนาดและวิธีใช้ : ให้ใช้เปลือกต้นประมาณ 3-6 กรัม นำมาบดเป็นผงรับประทาน หรือใช้ประมาณ 3-8 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับคนที่เป็นไข้มาลาเรียที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นสีดำ สตรีมีครรภ์ และคนที่เป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรง

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment