ขี้อ้ายดง
ขี้อ้ายดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Walsura villosa Wall. ex Hiern จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (MELIACEAE)สมุนไพรขี้อ้ายดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลำไยป่า (เชียงใหม่), เฟียง (เลย), ขัดลิ้น (อุทัยธานี), คัดลิ้น (กาญจนบุรี), ขี้อ้ายแดง ขี้อ้ายนา (ราชบุรี), ขี้ล้อ ขี้อ้าย (ภาคเหนือ), ข่าลิ้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กัดลิ้น คัดลิ้น (ตามตำรายาเรียก) เป็นต้น
ลักษณะของขี้อ้ายดง
ต้นขี้อ้ายดง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 5-8 เมตร พบขึ้นในป่าเบญจพรรณและตามป่าราบทั่ว ๆ ไปใบขี้อ้ายดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ แผ่นใบหนา ใบมีขนาดประมาณ 4 นิ้วฟุต ท้องใบเป็นสีน้ำตาล และมีขนบาง ๆ อ่อน ๆ ขึ้นเล็กน้อย
ดอกขี้อ้ายดง ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกที่ง่ามใบและปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอม
ผลขี้อ้ายดง ออกผลเป็นแบบช่อ ผลมีลักษณะกลมรี ผิวผลเกลี้ยง มีสันตื้น ๆ ปลายผลมีติ่งแหลม ผนังผลบางคล้ายหนัง
สรรพคุณของขี้อ้ายดง
รากขี้อ้ายดงมีรสร้อนจัด ใช้เป็นยารักษาเส้นเอ็นพิการและบำรุงเส้น (ราก)ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ยานี้กับบุคคลที่เป็นโรคดีเดือดและโรคเส้นประสาทพิการ
ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com
No comments:
Post a Comment