เข็มแดง
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เงาะ (สุราษฎร์ธานี), จะปูโย (มลายู-นราธิวาส), ตุโดบุโยบูเก๊ะ (มลายู), เข็มดอกแดง เป็นต้น
ลักษณะของเข็มแดง
ต้นเข็มแดง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะต้นนั้นจะคล้ายกับเข็มขาว ถ้ามีอายุหลายปีอาจมีขนาดของต้นเท่ากับต้นมะม่วงได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นปรปรายในจังหวัดต่าง ๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท ชอบขึ้นเองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณใบเข็มแดง ใบมีลักษณะหนายาวและแข็งเป็นสีเขียวสด ปลายใบแหลม
ดอกเข็มแดง ออกดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่มีสีแดงเข้ม ดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาวมาก แต่จะไม่มีกลิ่นหอม
ผลเข็มแดง ผลมีลักษณะกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ
หมายเหตุ : รูปที่ใช้ประกอบเป็นรูปจากต้นเข็มแดงที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora Lobbii
สรรพคุณของเข็มแดง
รากใช้ปรุงเป็นยาบำรุงไฟธาตุ (ราก)รากใช้เป็นยารักษาตาพิการ (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้เสมหะและกำเดา (ราก)
รากใช้เป็นยาบรรเทาอาการบวม (ราก)
ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com
No comments:
Post a Comment