คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Wednesday, May 1, 2019

สมุนไพรคำรอก

คำรอก

คำรอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Ellipanthus tomentosus Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ellipanthus cinereus Pierre, Ellipanthus subrufus Pierre) จัดอยู่ในวงศ์ถอบแถบ (CONNARACEAE)




สมุนไพรคำรอก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หมาตายทากลาก หำฟาน (เชียงใหม่), อุ่นขี้ไก่ (ลำปาง), ตานนกกดน้อย ประดงเลือด (สุโขทัย), กะโรงแดง คำรอก ช้างน้าว จันนกกด จับนกกรด (นครราชสีมา), ตานนกกดน้อย (สุรินทร์), กะโรงแดง คำรอก จันนกกด ช้างน้าว (ราชบุรี), กะโรงแดง หมาตายทากลาก (ภาคตะวันออก), ตานนกกรดตัวเมีย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ตานกกด เป็นต้น

ลักษณะของคำรอก
ต้นคำรอก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 12-20 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน เรือนยอดเป็นรูปพุ่มไข่หรือแผ่เป็นพุ่มแคบ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเทา แตกเป็นร่องลึกตามความยาวของลำต้น และเป็นสะเก็ดหนา ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พบได้ในพม่า อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ชายป่าดิบ และป่าพรุ ที่ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 800 เมตร

ใบคำรอก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีค่อนข้างยาวหรือรูปรีถึงรูปใบหอก ปลายใบมนถึงเรียวแหลม โคนใบสอบถึงกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-18 เซนติเมตร แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนมีขนขึ้นตามเส้นกลางใบ ส่วนผิวใบด้านล่างมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงสั้นหนานุ่มทั่วไป มีหนาแน่นตามเส้นใบ เส้นแขนงใบมีข้างละ 6-10 เส้น ปลายจรดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ปลายก้านใบมีข้อ ใบลักษณะลู่ลง
ดอกคำรอก ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านช่อดอกสั้น มีขนขึ้นหนาแน่น ดอกส่วนมากเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อน ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ปลายทู่หรือแหลม แยกกัน กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนยาวห่าง ส่วนด้านในเกลี้ยง ส่วนกลีบดอกนั้นมี 5 กลีบ กลีบเป็นสีขาวหรือสีครีม แยกกัน ขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนยาวห่าง ส่วนด้านในมีขนสั้นหนานุ่ม ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เป็นหมัน 5 อัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่เบี้ยว มีขนขึ้นหนาแน่น ยอดเกสรเพศเมีย ปลายแยกเป็น 2 แฉก ส่วนใบประดับเป็นรูปสามเหลี่ยม ออกดอกในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม

ผลคำรอก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม ปลายผลแหลม ผลมีขนาดยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ผิวผลมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่น มีก้านผลสั้น ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกผลบาง ไม่มีเนื้อผล พอแก่แล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ติดผลในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
เมล็ดคำรอก เมล็ดเป็นสีดำเป็นมัน ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ยาวได้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีส้มแดงคล้ายกับตาของนกกรด (ภาพแรกคือเมล็ดอ่อน ส่วนภาพสองคือเมล็ดแก่)

สรรพคุณของคำรอก
รากคำรอกใช้ผสมกับรากตาไก้ และรากตากวง นำมาต้มกินเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต (ราก)
ตำรายาไทยจะใช้เนื้อไม้ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
กิ่งก้านและต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยเรียกน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร (กิ่งก้านและลำต้น)
เนื้อไม้มีรสฝาดขมมัน ใช้เป็นยาแก้กระษัย เป็นยาถ่ายพิษเสมหะและโลหิต (เนื้อไม้)
กิ่งก้านและต้นใช้ผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้นพลองเหมือด ต้นสบู่ขาว แก่นพลับพลา และแก่นจำปา นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หอบหืด (กิ่งก้านและต้น)
กิ่งก้านและต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยป้องกันอาการท้องอืด (กิ่งก้านและลำต้น)
เนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง ช่วยคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อท้อง (เนื้อไม้)
กิ่งก้านและต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้องเกร็ง หรือรักษาอาการบีบเกร็งของช่องท้อง (กิ่งก้านและลำต้น)
ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้เนื้อไม้คำรอกเข้ายากับตาไก้และขันทองพยาบาท นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องผูก (เนื้อไม้)
เปลือกต้นและแก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้นและแก่น)
เนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ รักษาอาการไตพิการ (เนื้อไม้)
เปลือกต้นและแก่นใช้ต้มสกัดเป็นยารักษาการทำงานที่ผิดปกติของไต ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง และมักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) (เปลือกต้นและแก่น)
เนื้อไม้ใช้เป็นยาถ่ายพิษตับ แก้ตับทรุด (เนื้อไม้)
รากใช้ผสมกับนมวัวทั้งห้า แก่นจวง อ้อยดำ ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยารักษาประดงที่มีอาการปวดวิ่งตามตัว (ราก)
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (เนื้อไม้)
รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตรของสตรี (ราก)
กิ่งก้านและต้นใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาประดงกินกระดูก (กิ่งก้านและต้น)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment