คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Wednesday, May 15, 2019

สมุนไพรฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Kalanchoe laciniata (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบหิน (CRASSULACEAE)



สมุนไพรฆ้องสามย่าน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เถาไฟ ฮอมแฮม (แม่ฮ่องสอน), คะซีคู่ซัวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ส้นเส้า, มือตะเข้, ทองสามย่าน, ใบทาจีนเป็นต้น


ลักษณะของฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป กลิ่นของพรรณไม้ชนิดนี้สด ๆ จะมีกลิ่นคล้ายการบูรกับผิวส้ม

ใบฆ้องสามย่าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบมีหลายรูปร่าง ใบบริเวณกลางลำต้นจะเว้าเป็นแฉกลึกแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ดูคล้ายใบประกอบ แต่ละแฉกจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ตรงปลายแหลม ขอบจักเป็นฟันเลื่อยแกมซี่ฟันหยาบ ๆ มีสีเขียวและมีไขเคลือบ ใบมีที่เล็กกว่าขอบใบมักจะเรียบหรือเกือบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และแบน ค่อนข้างจะโอบลำต้นไว้ ส่วนใบบริเวณโคนต้นจะไม่เว้าหรือเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หรือเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ตรงขอบเป็นจักซี่ฟันแกมเป็นคลื่นและไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบสั้น ใบทั้งสองแบบจะเป็นสีเขียวอ่อนและอาจมีสีม่วงแซม


ดอกฆ้องสามย่าน ออกดอกเป็นช่อชูขึ้นบริเวณปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีใบประดับแคบและเล็ก ส่วนกลีบรองกลีบดอกเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม ตั้งตรง ตรงโคนเชื่อมติดกัน ส่วนตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนกลีบดอกเป็นรูปทรงแจกัน ส่วนโคนนั้นจะพองออกสังเกตเห็นได้ชัด จะมีสีเขียว ส่วนบนจะมีสีเหลือง ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ซึ่งจะมีอยู่ 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน โผล่พ้นกลีบดอกออกมาเล็กน้อย ส่วนท่อเกสรเพศเมียเกลี้ยงและยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปหอก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยงและเป็นสีเขียว

ผลฆ้องสามย่าน ผลเป็นผลแห้ง ออกผลเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน แตกตามตะเข็บเดียว

สรรพคุณของฆ้องสามย่าน

ใบฆ้องสามย่านใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงร่างกาย (ใบ)
ใบใช้ผสมกับดีปลี จันทน์ทั้งสอง ใบน้ำเต้า ดอกบัวหลวงขาว ละลายน้ำดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกแคแดง น้ำตำลึง เป็นยาแก้ไข้เพื่อลม ไข้เพื่อโลหิต ไข้เพื่อเสมหะ และทำให้ตัวเย็น (ใบ)
ตำรายาไทยใช้ใบเป็นยาเย็นดับพิษร้อน แก้ร้อนใน (ใบ)
ใบนำมาตากแดดให้แห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ทาลิ้นเด็กอ่อนเป็นยาแก้ละอองซางได้ชะงัด (ใบ)
ใบใช้ตำพอกหน้าอกรักษาอาการไอและเจ็บหน้าอก (ใบ)
ใบใช้รับประทานเป็นยาแก้บิด รักษาอาการท้องร่วง (ใบ)
ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ใบ)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบนำมาตำพอกรักษาบาดแผลมีดบาด น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาห้ามเลือดในแผลสดได้ดี (ใบ)
ใบใช้เป็นยาพอกบาดแผล บรรเทาอาการระคายเคืองและทำให้แผลหายได้โดยมีเนื้องอกมาปิดแทน เป็นยาสมานและฆ่าเชื้อบาดแผล (ใบ)
ใบใช้ตำพอกกันแผลฟกช้ำ แผลไหม้ แผลเรื้อรัง แผลฝีมีหนอง (ใบ)
ใบใช้ตำพอกฝีทำให้เย็นเป็นยาถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน รักษาอาการเจ็บปวด แก้พิษอักเสบปวดบวม พิษตะขาบ แมงป่องต่อย (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้งูพิษกัด ด้วยการใช้ใบสด 5 กรัม ผสมกับต้นสดฟ้าทะลายโจร 15 กรัม (Andrographis paniculate Nees) เอาไปตำชงด้วยเหล้าที่หมักจากข้าว ใช้กินครั้งเดียวหมด (ใบ)
ใบนำมาคั้นเอาน้ำมาผสมปรุงกับน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาโรคอวัยวะโตที่เรียกกันว่าโรคเท้าช้างให้ทุเลาหรือชะงักได้ (ใบ)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment