ตาเป็ดตาไก่
ตาเป็ดตาไก่ ชื่อสามัญ Christmas berry, Australian holly, Coral ardisia, Coral bush, Coralberry, Coralberry tree, Hen's-eyes, Hilo Holly, Spiceberryตาเป็ดตาไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia crenata Sims จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)
สมุนไพรตาเป็ดตาไก่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้างปลาดง ตับปลา ลังกาสา (เชียงใหม่), จ้ำเครือ (ลำปาง), ลังกาสาขาว (ตราด), ตีนจำโคก (เลย), ประดงนกกด (สุราษฎร์ธานี), ตาเป็ดหิน (ชุมพร), มาตาอาแย (มลายู-ยะลา), ตาไก่ใบกว้าง (ทั่วไป), มหาเฮง (ชื่อทางการค้า), ตีนเป็ด, ตาเป็ดเขา, ตุ้มลงเดี๋ยง เป็นต้น
ลักษณะของตาเป็ดตาไก่
ต้นตาเป็ดตาไก่ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร พบขึ้นตามพื้นที่ป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำดีใบตาเป็ดตาไก่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบหยักมนและมีต่อม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบเป็นสีเขียวสด เมื่อใบดกจะเป็นพุ่มน่าชมยิ่งนัก
ดอกตาเป็ดตาไก่ ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม โดยจะออกที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเป็นรูประฆัง ดอกเป็นสีชมพูแกมขาว หรือสีม่วงแกมชมพู ผิวมีต่อมกระจาย ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 4-5 อัน ติดที่หลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ
ผลตาเป็ดตาไก่ ผลเป็นผลสด ผลมีลักษณะกลม เมื่อสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวแข็ง
ตาไก่ใบกว้าง
สรรพคุณของตาเป็ดตาไก่
ตำรายาพื้นบ้านจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยเจริญอาหาร (ราก)ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรจำพวกประดงรวม 9 ชนิด แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคประดง (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาแก้ปากเปื่อย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ขูดเปลือกใช้ห่อใบพลูย่างไฟอบไข้ (เปลือก)
ใบใช้ต้มกับน้ำอาบแก้ผื่น ตุ่มตามผิวหนัง (ใบ)
ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com
No comments:
Post a Comment