ชงโค
ชงโค ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia pottsii var. decipiens (Craib) K.Larsen & S.S.Larsen จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะโป (น่าน)
หมายเหตุ : ชงโคชนิดนี้น่าจะเป็นชนิดย่อยเดียวกันกับชงโคขาว ที่พบขึ้นหนาแน่น โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะของชงโค
ต้นชงโค จัดเป็นไม้พุ่มพาดพันกับต้นไม้อื่น ไม่มีมือเกาะ ตามกิ่งอ่อนมีขน ชงโคชนิดนี้เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบได้เฉพาะที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดเพียงครั้งเดียวใบชงโค ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-14 เซนติเมตร แผ่นใบแยกเป็นสองพู ปลายใบมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ ผิวใบด้านบนเรียบ
ดอกชงโค ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง ชงโคชนิดนี้กลีบดอกจะเป็นสีขาว รังไข่มีขนกำมะหยี่ขึ้นปกคลุม ไม่ใช่ขนแข็งเอน
ผลชงโค ผลมีลักษณะเป็นฝักและแตกได้
ฝักชงโคขาว
สรรพคุณของชงโค
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากชงโค นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาเจริญอาหาร (ราก)ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com
No comments:
Post a Comment