คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Tuesday, May 7, 2019

สมุนไพรแคหางค่าง

แคหางค่าง

แคหางค่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Markhamia stipulata (Wall.) Seem. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Markhamia stipulata var. kerrii Sprague, Dolichandrone cauda-felina (Hance) Benth. ex Hemsl., Markhamia cauda-felina (Hance) Sprague) จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)



สมุนไพรแคหางค่าง ชนิดนี้มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แคเขา (ภาคเหนือ)

หมายเหตุ : ต้นแคหางค่างที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นคนละชนิดกับต้นแคหางค่างที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fernandoa adenophylla (Wall. ex G.Don) Steenis และเป็นคนละชนิดกับแคหางค่างหรือแคหัวหมูที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Markhamia stipulata var. stipulata

ลักษณะของแคหางค่าง

ต้นแคหางค่าง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายแคหัวหมู แต่ใบประกอบจะสั้นกว่าเล็กน้อย มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีนตอนใต้ ลาว เวียดนามและทางภาคเหนือของไทย โดยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าผลัดใบผสม ป่าดิบแล้ง และชายป่าดิบเขาทั่วไป ที่ระดับความสูงประมาณ 400-1,600 เมตร
ใบแคหางค่าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงตรงข้าม ใบย่อยมีหลายคู่หรือประมาณ 4-8 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมใบหอกถึงรูปใบหอก ปลายใบแหลม เรียวแหลม หรือยาวคล้ายหาง ส่วนโคนใบแหลมกว้างถึงกลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-26 เซนติเมตร มีต่อมรูปถ้วยที่บริเวณใกล้โคนใบ ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น
ดอกแคหางค่าง ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกย่อยมีหลายดอก ขนาดใหญ่ กลีบดอกเป็นสีเหลืองหม่น เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลแคหางค่าง ผลมีลักษณะเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปทรงกระบอก แตกออกได้ตามพู ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 35-55 เซนติเมตร และมีขนยาวคล้ายขนสัตว์ขึ้นปกคลุมแน่น เมล็ดเป็นรูปสามมุมและปักเป็นเยื่อ ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของแคหางค่าง

เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (เมล็ด)
เมล็ดใช้เป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นแคหางค่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องอืดเฟ้อ (เปลือกต้น)
ใบใช้เป็นยาห้ามเลือด (ใบ)
ใบใช้ตำพอกรักษาแผล แผลสด แผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ใบ)
ใบใช้ต้มกับน้ำอาบหรือนำมาตำคั้นเอาน้ำเป็นยาทาหรือพอกแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด (ใบ)
ชาวเขาเผ่าอีก้อ กะเหรี่ยงจะใช้ราก ต้น และเปลือกผล นำมาต้มกับน้ำอาบบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย ปวดหลัง (ต้น, ราก, เปลือกผล)
เมล็ดใช้เป็นยาแก้โรคชัก (เมล็ด)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment