คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Thursday, March 14, 2019

สมุนไพรโกฐกระดูก

สมุนไพรโกฐกระดูก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี

ชื่อสามัญ Costus  โกฐกระดูก ชื่อวิทยาศาสตร์ Aucklandia lappa DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Saussurea lappa (Decne.) C.B.Clarke) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
สมุนไพรโกฐกระดูก มีชื่อเรียกอื่นว่า บักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), มู่เชียง มู่เซียง (จีนกลาง) เป็นต้น



ลักษณะของโกฐกระดูก
ต้นโกฐกระดูก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กและมีขนขึ้นปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้านสาขา

ใบโกฐกระดูก ใบมีขนาดใหญ่ เป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปสามเหลี่ยม โคนใบเว้าเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยลักษณะคล้ายหนาม หน้าใบเป็นสีเขียวและมีขนหยาบ ๆ ขึ้นปกคลุม ส่วนหลังใบเป็นสีเขียวอ่อนอมเหลือง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ก้านใบยาว



ดอกโกฐกระดูก ดอกเป็นสีม่วงเข้ม โดยจะออกติดกับโคนใบ ก้านดอกยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม ๆ เล็ก ๆ ในดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 10 ชั้น เป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกยาวประมาณ 9-25 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ลักษณะคล้ายดอกบานไม่รู้โรย ดอกขาว ดอกสีม่วงเข้ม เป็นดอกเดี่ยว

ผลโกฐกระดูก ผลมีลักษณะเป็นเส้นแบน ยาว 6 มิลลิเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออก
โกฐกระดูก คือส่วนของรากที่นำมาใช้เป็นยาและเรียกว่า "โกฐกระดูก" โดยจะเป็นรากสะสมอาหารที่มีขนาดใหญ่ รากเป็นสีเทาถึงสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมยาวเป็นรูปกระสวย คล้ายกระดูก เนื้อแข็ง มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอมเทา หรือเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีรอยย่นชัดเจนและมีร่องตามยาว ผิวนอกมีร่องไขว้ไปมาคล้ายร่างแห ส่วนด้านข้างมีรอยแผลเป็นรากแขนง เนื้อแข็งและหักยาก รอยหักเป็นสีน้ำตาลอมเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม พบรากแขนงบ้างเล็กน้อย เมื่อนำมาผ่าตามแนวขวาง เนื้อในรากจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนนอกที่บางกว่า และส่วนในที่เป็นเนื้อราก ซึ่งจะมีสีจางกว่า วงแคมเบียมสีน้ำตาล และมีลายเส้นตามแนวรัศมี ส่วนเนื้อตรงกลางจะยุบตัวลงและมีรูพรุน ตามตำรายาไทยว่ามีรสขม หวาน มัน มีกลิ่นหอมเฉพาะ (ตำรายาโบราณบางเล่มก็เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "โกฐหอม" เนื่องมาจากมีกลิ่นหอมที่ชวนดม)


สรรพคุณของโกฐกระดูก
รากโกฐกระดูกมีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม เป็นยาสุขุมออกฤทธิ์ต่อปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ และตับใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ราก)
ใช้เป็นยาไขมันในเลือดลดน้ำตาลในเลือด (ราก)
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น
ช่วยบำรุงกระดูก (ราก)
ใช้เป็นยาแก้โรคโลหิตจาง (เปลือกราก)
รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ตำรายาไทยใช้รากปรุงเป็นยาหอมรับประทานแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ขับลมในลำไส้ และแก้โรคโลหิตจาง (ราก, เปลือกราก)
ใช้เป็นยาแก้อาเจียน (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้เสมหะและลม ใช้แก้หืดหอบ แก้ลมในกองเสมหะ (ราก)
ช่วยกระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้ให้บีบตัว ทำให้น้ำย่อยของกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น จึงสามารถนำมาใช้เป็นยาขับลมในกระเพาะ ลำไส้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยในการย่อยอาหารได้ อีกทั้งยังช่วยแก้อาการจุกเสียด จุกเสียดแน่นท้อง และยังช่วยขับลมชื้นได้ด้วย ตำรับยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จะใช้โกฐกระดูก 10 กรัม, โกฐเขมาขาว 10 กรัม และเปลือกส้ม 8 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)ส่วนเปลือกรากก็มีสรรพคุณเป็นยาขับลมในลำไส้เช่นกัน (เปลือกราก)
รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ปวดกระเพาะ ตำรับยาแก้ปวดกระเพาะจะใช้โกฐกระดูก 30 กรัม, ดีปลี 30 กรัม, ข่าลิง 30 กรัม, หนังกระเพาะไก่ 30 กรัม, ส้มมือ 15 กรัม, อบเชย 8 กรัม, ลิ้นทะเล 100 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 8 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง ส่วนตำรับยาแก้อาการปวดท้องของโรคบิด จะใช้โกฐกระดูก 10 กรัม และฟ้าทะลายโจร 10 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ชงกับน้ำรับประทาน (ราก)
ผงจากรากโกฐกระดูก สามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่และฆ่าเชื้อไทฟอยด์ (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ปวด (ราก)
ในบัญชียาจากสมุนไพร ตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้สมุนไพรโกฐกระดูกในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม โดยมีปรากฏอยู่ในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" และตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" ซึ่งมีส่วนประกอบของโกฐกระดูกอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้อาการหน้ามืด ตาลาย แก้ลมวิงเวียน ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง และมีปรากฏในยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ในตำรับ "ยาประสะกานพลู" ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย อันเนื่องมาจากธาตุไม่ปกติ
โกฐกระดูกเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐกระดูกนั้นจัดอยู่ใน “โกฐทั้งห้า” (เบญจโกฐ), “โกฐทั้งเจ็ด” (สัตตโกฐ) และ “โกฐทั้งเก้า” (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้สะอึก แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม ใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก
นอกจากนี้ในตำรายาไทยยังมีการนำโกฐกระดูกมาใช้ในอีกหลายตำรับ เช่น ตำรับยา "พิกัดสัตตะปะระเมหะ" (เป็นตำรับยาที่มีการจำกัดจำนวนตัวยาแก้เสมหะที่มีกลิ่น 7 อย่าง คือ โกฐกระดูก, ลูกกระวาน, ผลรักเทศ, ตรีผลาวะสัง, ต้นก้นปิด และต้นตำแย่ทั้ง 2) ที่มีสรรพคุณเป็นยาชำระมลทินโทษให้ตกไป ช่วยชำระเมือกมันในลำไส้ และแก้อุจจาระธาตุลามก, ในตำรับยา "พิกัดตรีทิพย์รส" (เป็นการจำกัดจำนวนของที่มีรสดี 3 อย่าง ได้แก่ โกฐกระดูก เนื้อไม้กฤษณา และอบเชยไทย) ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ และช่วยแก้ลมในกองเสมหะ
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ในขนาด 3-10 กรัม ต่อ 1 ครั้ง หรือตามที่ต้องการ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ในขนาด 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก ต้มกับน้ำร้อนนาน 30 นาที ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น


ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment