คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Saturday, March 16, 2019

สมุนไพรโกฐก้านพร้าว

โกฐก้านพร้าว ชื่อสามัญ Picorrhiza



โกฐก้านพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ Picrorhiza kurroa Royle ex Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Picrorhiza lindleyana Steud, Veronica lindleyana Wall.) (พันธุ์จากอินเดีย), Neopicrorhiza scrophulariiflora (Pennell) D.Y.Hong (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Picrorhiza scrophulariiflora Pennell) (พันธุ์จากทิเบต)ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE)

สมุนไพรโกฐก้านพร้าว มีชื่อเรียกอื่นว่า หูหวางเหลียน (จีนกลาง), กะฎุกะ, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, โอ่วไน้ เป็นต้น

ลักษณะของโกฐก้านพร้าว
ต้นโกฐก้านพร้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1-2 ปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของป่าหิมพานต์จากแคชเมียร์ไปจนถึงแคว้นสิกขิมของประเทศอินเดีย มีการปลูกมากในประเทศจีน เขตปกครองตนเองของทิเบต เนปาล และในศรีลังกา


ใบโกฐก้านพร้าว ใบออกติดกับราก ซ้อนกันเหมือนใบดอกบัว ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรีเหมือนช้อน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร


ดอกโกฐก้านพร้าว ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นจากโคนใบ ดอกมีสีม่วงเข้มหรือสีม่วงน้ำเงิน ก้านดอกยาว


ผลโกฐก้านพร้าว ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลม ส่วนเมล็ดเป็นรูปไข่ สีดำเงา ขนาดยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร
โกฐก้านพร้าว คือ ส่วนของรากหรือเหง้าแห้งที่นำมาใช้เป็นยา โดยจะมีลักษณะกลมยาว ผิวขรุขระ มีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับก้านย่อยของช่อดอกมะพร้าวเมื่อช่อดอกนั้นติดลูก ที่เรียกกันว่า "หางหนูมะพร้าว" มีข้อคล้ายตะไคร้ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีประมาณ 5-8 ข้อ แต่ละข้อจะมีขน ผิวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมเทาเข้ม มีวง ๆ อันเป็นแผลเป็นของตา มีตาและมีส่วนของลำต้นติดอยู่บ้าง เนื้อนิ่ม รากจะมีรอยย่นตามแนวยาว มีรอยแตกตามขวาง และมีรอยแผลเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลเป็นจุด ๆ ที่รอยหักแข็ง ส่วนเนื้อในนั้นเป็นสีดำ เป็นสมุนไพรที่มีรสขมจัดและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว


หมายเหตุ : โกฐก้านพร้าว ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picrorhiza kurroa Royle ex Benth. เป็นพันธุ์จากอินเดีย ส่วน Picroriza scrophulariora Pennell. เป็นพันธุ์จากทิเบต แต่สามารถนำมาใช้แทนกันได้

สรรพคุณของโกฐก้านพร้าว
รากโกฐก้านพร้าวมีรสขม เป็นยาเย็นจัด ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ตับ และลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น แก้เลือดกำเดา อาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือด
ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน ลดไข้ แก้ไข้ แก้ไข้เรื้อรัง แก้ไข้ซึ่งมีอาการให้สะอึก แก้สะอึก แก้อาเจียน แก้เสมหะเป็นพิษ แก้เหงื่อออกไม่รู้ตัว แก้ซางตัวร้อนในเด็ก
รากและเหง้าใช้เป็นยาแก้หอบ แก้หอบเพราะเสมะหะเป็นพิษ
รากใช้เป็นยาแก้ลม ช่วยขับความชื้นในร่างกาย
ใช้เป็นยาแก้โรคบิด แก้บิดชนิดปวดท้องน้อย
ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร
ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว
ในบัญชียาจากสมุนไพรตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้โกฐก้านพร้าวในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม มีปรากฏในตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” ที่มีส่วนประกอบของโกฐเขมาอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง
โกฐก้านพร้าวเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐก้านพร้าวนั้นจัดอยู่ใน “โกฐทั้งห้า” (เบญจโกฐ), “โกฐทั้งเจ็ด” (สัตตโกฐ) และ “โกฐทั้งเก้า” (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้สะอึก แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม ใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก
ในตำราอายุรเวทของอินเดียกล่าวว่า ถ้าใช้โกฐก้านพร้าวในขนาดต่ำ ๆ จะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร และเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่ถ้าใช้มากจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง และเชื่อกันว่าเป็นยาแก้ไข้จับสั่นและเป็นยาขับน้ำดี
ขนาดและวิธีใช้ : ให้นำมาบดเป็นยาผง ใช้รับประทานครั้งละ 0.5-1.5 กรัม โดยใช้ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 3-10 กรัม

ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีธาตุอ่อน ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เกินขนาด และรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโกฐก้านพร้าว
สารที่พบในโกฐก้านพร้าว ได้แก่ สาร Cuthartic acid, D-Mannitalm, Kutkin, Kutkisterol, Picroside Rutkisterol, Vanillic acid เป็นต้น ส่วนในผลพบแป้ง น้ำตาล โปรตีน และวิตามินซี
โกฐก้านพร้าวมีสารขมที่ชื่อว่า Picrorrhizin อยู่ในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังมีสารที่แสดงฤทธิ์ต่อหัวใจหลายชนิด และสารอื่น ๆ อีก เช่น aucubin และสารในกลุ่ม iridoid glycosides
จากการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่าโกฐก้านพร้าวมีฤทธิ์ลดความเครียด ลดระดับไขมันในเลือด ปรับระบบภูมิคุ้มกัน ต้านออกซิเดชั่น แก้แพ้ ขยายหลอดลม ขับปัสสาวะ ปกป้องตับ ป้องกันการเกิดเนื้องอก ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ฯลฯ
เมื่อนำโกฐก้านพร้าวไปต้มกับน้ำในสัดส่วน 1 ต่อ 4 พบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
สารสกัดที่ได้จากรากโกฐก้านพร้าว นอกจากจะสามารถต่อต้านเชื้อได้หลายชนิดแล้ว ยังสามารถนำมาใช้แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะที่ติดเชื้อและตับอักเสบได้ด้วย
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเหง้าโกฐก้านพร้าวด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 12,500 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูทดลอง ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment