คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Tuesday, March 19, 2019

สมุนไพรโกฐหัวบัว


โกฐหัวบัว ชื่อสามัญ Szechuan lovage, Selinum






โกฐหัวบัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Ligusticum striatum DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ligusticum wallichii Franch., Ligusticum chuanxiong S.H.Qiu, Y.Q.Zeng, K.Y.Pan, Y.C.Tang & J.M.Xu) บางข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Ligusticum sinense Oliv. ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า โกฐหัวบัวนั้นคือชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Conioselinum univitatum Trucz. โดยจัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

 มีชื่ออื่น ๆ ว่า ชวงเกียง (จีนแต้จิ๋ว), ชวนโซยงวิง ชวงชวอง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโกฐหัวบัว
ต้นโกฐหัวบัว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง โคนต้นเป็นข้อ ๆ และมีรากฝอยงอกอยู่ที่ข้อ บริเวณช่วงบนจะแตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยการใช้ข้อของลำต้น ชอบอากาศร้อนชื้น ชอบดินหนาและลึก การระบายน้ำดี มีฤทธิ์เป็นกลางหรือกรดเล็กน้อย เจริญเติบโตได้ดีในที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,500 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15 องศาเซลเซียส สูงสุด 34 องศาเซลเซียส และต่ำสุด -5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 80% มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 ปี พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมณฑลเสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน หูเป่ยของประเทศจีน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า "พิกัดโกฐ"


ใบโกฐหัวบัว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ออกเรียงเวียน แฉกสุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขอบใบหยักลึกสุดแบบขนนก ส่วนใบที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร และยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร ส่วนก้านใบนั้นยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โคนก้านแผ่เป็นกาบหน้าใบและหลังใบไม่มีขน ตามเส้นใบมีขนเล็กน้อย

ดอกโกฐหัวบัว ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นดอกช่อแบบซี่ค้ำร่มหลายชั้น มีหลายดอกย่อย ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาว ดอกหนึ่งมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน

ผลโกฐหัวบัว ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ มี 2 ลูก เป็นห้าเหลี่ยมและในเหลี่ยมจะมีท่อน้ำมัน 1 ท่อ
เหง้าโกฐหัวบัว ส่วนของเหง้าคือส่วนที่นำมาใช้ทำยา ซึ่งเรียกว่า "โกฐหัวบัว" โดยเหง้าจะมีลักษณะค่อนข้างกลม ข้อป่อง ปล้องสั้น เมื่อตัดเอารากแขนงออกหมด จะได้เหง้าเป็นรูปค่อนข้างกลมคล้ายกำปั้น ผิวขรุขระเป็นตะปุ่มตะป่ำไม่สม่ำเสมอ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-7 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลไหม้หรือสีน้ำตาลอมเหลือง ผิวสาก เหี่ยวย่น เนื้อแน่น หักยาก รอยหักเป็นสีขาวอมเหลืองหรือเป็นสีเหลืองอมเทา มีท่อน้ำมันสีน้ำตาลอมเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่นหอมฉุนรุนแรง รสขม มัน แต่จะหวานในภายหลัง และชาเล็กน้อย

หมายเหตุ : โกฐหัวบัวในตระกูลเดียวกันยังมีอีกหลายพันธุ์ เช่น Cnidium ofcinale Makino, Ligusticum wallichii Franch. ซึ่งในอดีตเราจะนำมาใช้ทดแทนกันได้ แต่ในปัจจุบันได้พบว่า โกฐหัวบัวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ โกฐหัวบัวชนิด Ligusticum chuanxiong Hort. ซึ่งเป็นชนิดที่เรากล่าวถึงในบทความนี้ มันจึงถูกนำมาใช้เป็นตัวหลักของโกฐหัวบัว

สรรพคุณของโกฐหัวบัว
เหง้ามีรสเผ็ด ขมเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ตับ และถุงน้ำดี ใช้เป็นยาฟอกเลือด แก้เลือดน้อย แก้โรคโลหิตจาง บำรุงโลหิต ช่วยกระจายการตีบของเส้นเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดลมไหลเวียน (เหง้า)
ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หากใช้โกฐหัวบัวเข้ากับตำรายาจีน จะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดศีรษะหรือปวดศีรษะข้างเดียวได้ผลมากขึ้น โกฐหัวบัวจึงเป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับการแก้อาการปวดศีรษะโดยเฉพาะ (เหง้า)
ใช้เป็นยาแก้เสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
จีนจะใช้โกฐหัวบัวเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด โรคเข้าข้อ ตกเลือด (เหง้า)
 ช่วยแก้อาการปวดหัวใจ (เหง้า)
ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นหน้าอก แน่นท้อง แก้ลม ขับลมในลำไส้ แก้ลมในกองริดสีดวง กระจายลมทั้งปวง (ลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอน ๆ ทำให้ผายออกมา) (เหง้า)
ใช้โกฐหัวบัวรักษาสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมีอาการปวดประจำเดือน (เหง้า)
ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อาการปวดจากเลือดคั่ง แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก แก้ฟกช้ำปวดเจ็บต่าง ๆ รวมทั้งปวดฟัน (เหง้า)
ช่วยขับลมชื้นในร่างกาย หรือใช้โกฐหัวบัวเข้ากับตำรายาจีน เพื่อเป็นยาขับลมชื้นในร่างกายและทำให้หายปวดเมื่อยตามร่างกาย (เหง้า)
ส่วนใบมีกลิ่นหอมชื่นใจ ใช้เป็นยาขับพยาธิในท้อง แก้บิด เป็นยาขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ แก้ไอ แก้โรคประสาท และใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้หวัดและแก้ท้องร่วง (ใบ)
นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อนำโกฐหัวบัวไปเข้าตำรายารักษาโรคหัวใจ จะทำให้เส้นเลือดในหัวใจขยายตัวและลดความดันในเส้นเลือดได้ (เหง้า)
โกฐหัวบัวจัดอยู่ในพิกัดโกฐ ได้แก่ โกฐทั้งห้า โกฐทั้งเจ็ด และโกฐทั้งเก้า ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับเสมหะ แก้หืดไอ ขับลม บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก (เหง้า)
โกฐหัวบัวจะอยู่ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม ซึ่งได้แก่ ตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" และตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" ซึ่งมีส่วนประกอบของโกฐหัวบัวอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้า ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย คลื่นเหียน อาเจียน ใจสั่น แก้ลมจุกแน่นในท้อง (เหง้า)
ในตำรายาพระโอสถพระนารายณ์ มีปรากฏการใช้โกฐหัวบัวในตำรับ "ยาทรงนัตถุ์" ซึ่งมีส่วนประกอบรวม 15 ชนิด รวมทั้งโกฐหัวบัว โดยนำตัวยาทั้งหมดมาบดรวมกันให้เป็นผงละเอียด ใช้สำหรับนัตถุ์หรือดมเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ แก้วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา และอยู่ในตำรับ "มโหสถธิจันทน์" อีกขนานหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบรวม 16 สิ่ง รวมทั้งโกฐหัวบัวด้วย ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด (เหง้า)
ในตำรายาไทยมีการใช้โกฐหัวบัวใน "พิกัดจตุวาตะผล" ซึ่งเป็นตำรับยาจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลมที่ประกอบไปด้วยผล 4 อย่าง อันได้แก่ โกฐหัวบัว กระลำพัก เหง้าขิงแห้ง และอบเชยเทศ โดยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม แก้ลมกองริดสีดวง (เหง้า)
นอกจากนี้ยังมีปรากฏการใช้โกฐหัวบัวในตำรับยาสมุนไพรประจำบ้าน ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขอีกหลายตำรับ เช่น "ยามันทธาตุ" (แก้ธาตุไม่ปกติ แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ), ตำรับ "ยาหอมเทพวิจิตร" (แก้ลม บำรุงหัวใจ), ตำรับ "ยาวิสัมพยาใหญ่" (แก้อาการจุกเสียด ท้องขึ้น อืดเฟ้อ) และในตำรับ "ยาประสะเปราะใหญ่" (ถอนพิษไข้ตานแทรกสำหรับเด็ก)
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโกฐหัวบัว
เหง้าโกฐหัวบัวมีน้ำมันระเหยและอัลคาลอยด์ (Alkaloid) กับสารจำพวก Phenols, Chidiumlantone, Cnidlide, Ferulic acid, Folic acid เป็นต้น
โกฐหัวบัวนั้นมีน้ำมันระเหยง่ายอยู่ประมาณ 2% ซึ่งในน้ำมันจะมี cnidium lactone, cnidic acid และมีชันซึ่งมีรสเปรี้ยว นอกจากนั้นยังมีสารจำพวก phthalide อีกหลายชนิด เช่น butylidenephthalide, butylpthalide, crysophanol, ferulic acid, ligustilide, neocni-dilide, perlolyrine, sedanonic acid, senkyunolide A, spathulenol, tetramethylpyrazine, wallichilide, 3-butylidine-7-hydroxyphthalide เป็นต้น
มีรายงานการวิจัยที่พบว่า โกฐหัวบัวสามารถลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้และมดลูกได้ และยังช่วยป้องกันการขาดออกซิเจนในเลือด ต้านอาการปวด อาการอักเสบ ช่วยขับเหงื่อ ขับประจำเดือน และช่วยทำให้นอนหลับได้นานขึ้น
เมื่อใช้น้ำที่สกัดได้จากเหง้าโกฐหัวบัว นำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของหัวใจที่แยกออกจากร่างของกระต่าย พบว่าสามารถขยายหลอดเลือดหัวใจของกระต่ายได้ จึงสรุปได้ว่า โกฐหัวบัวสามารถลดความดันในเส้นเลือดได้
เมื่อใช้น้ำที่สกัดได้จากเหง้าโกฐหัวบัว นำมาฉีดเข้าไปในมดลูกของกระต่ายที่กำลังตั้งครรภ์ พบว่าจะทำให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง แต่หากฉีดมากเกินไปจะทำให้การบีบตัวของมดลูกเกิดอาการชา และการบีบตัวได้หยุดบีบต่อ
ประโยชน์ของโกฐหัวบัว
ดอกใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับเครื่องสำอางแต่งหน้า
ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ค้นพบว่า สารสกัดจากเหง้าโกฐหัวบัว เป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงสูงที่สุด โดยสามารถป้องกันยุงกัดได้นานถึง 6.5 ชั่วโมง เทียบเท่ากับสารเคมีไล่ยุงดีดีที ซึ่งเป็นสารเคมีไล่ยุงมาตรฐานที่นิยมใช้และมีวางขายแพร่หลายตามท้องตลาด อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรืออาการแพ้ใด ๆ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ในอนาคตจึงสามารถพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการผลิตเป็นสารไล่ยุงทางเลือกจากธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีไล่ยุงชนิดต่าง ๆ ได้

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment