ขี้ไก่ย่าน ชื่อสามัญ Mile a minute, African mile a minute
ขี้ไก่ย่าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Mikania cordata (Burm.f.) B.L.Rob. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้เหล็กย่าน (นราธิวาส), สาลาปุ๊ตูโงะ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น
ลักษณะของขี้ไก่ย่าน
ต้นขี้ไก่ย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อย มักขึ้นเป็นพุ่มพันกันยุ่งขึ้นคลุมพืชอื่นค่อนข้างแน่น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 7 เมตร มีขนเกลี้ยงหรือมีขนนุ่มเล็กน้อย พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามชายป่า ตามสองข้างทาง และตามบริเวณป่านุ่น จัดเป็นวัชพืชที่เจริญได้ดีในเขตร้อน
ใบขี้ไก่ย่าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบค่อนข้างจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร ผิวใบค่อนข้างเกลี้ยงหรือมีขนนุ่มกระจายทั้งสองด้าน ด้านล่างมีต่อมเล็กน้อย ก้านใบเรียวเล็ก ยาวได้ประมาณ 1-6 เซนติเมตร
ดอกขี้ไก่ย่าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ริ้วประดับบาง ค่อนข้างจะโปร่งใส กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเขียว ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก เกสรเพศผู้มี 5 อัน อับเรณูเป็นสีเทาอมน้ำเงินอ่อนหรือเป็นสีดำอมเทา เกสรเพศเมียมีท่อเป็นสีขาว ปลายบิดโค้งแยกเป็น 2 แฉก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ผลขี้ไก่ย่าน ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานแคบ ยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร ผลมีต่อมรยางค์แข็งจำนวนมาก ผลอ่อนเป็นสีขาว ถ้าแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
สรรพคุณของขี้ไก่ย่าน
ใบใช้ตำพอกตามบาดแผลหรือแผลบวม (ใบ)
ใบใช้ตำพอกรักษาโรคหิด (ใบ)
ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com
No comments:
Post a Comment