คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Tuesday, April 2, 2019

สมุนไพรขี้ครอก

ขี้ครอก ชื่อสามัญ Caesar weed, Hibiscus burr, Jute africain

ขี้ครอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Urena lobata L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ชบาป่า (น่าน), ขี้หมู (นครราชสีมา), ขมงดง (สุโขทัย), ปอเส้ง (ปัตตานี), หญ้าผมยุ่ง หญ้าอียู ขี้คาก (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ขี้ครอก (ภาคกลาง), ปอเส็ง เส็ง เส้ง ปูลู (ภาคใต้), หญ้าหัวยุ่ง (ชาน-แม่ฮ่องสอน), บอเทอ ปะเทาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ปูลุ (มลายู-นราธิวาส), ทอมทัก (ลั้วะ), ซัวโบ๋เท้า (จีน), ตี้เถาฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น



ลักษณะของขี้ครอก

ต้นขี้ครอก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร เปลือกเหนียว ลำต้นเป็นสีเขียวแกมเทา ตามลำต้นและกิ่งก้านมีขนลักษณะเป็นรูปดาวปกคลุมทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดแบบเต็มวัน มักขึ้นตามป่าราบและที่ลุ่มรกร้างทั่วไป และมีปลูกมากตามสวนยาจีนทั่วไป
ต้นขี้ครอก

ใบขี้ครอก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบที่อยู่บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ปลายแยกออกเป็นแฉกตื้น ๆ 3 แฉก โคนใบกลมหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ส่วนใบที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของลำต้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 3-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร และใบที่อยู่ส่วนยอดหรือใกล้ยอดจะเป็นรูปกลมยาวถึงรูปใบหอก มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนมีขนนุ่ม ส่วนด้านล่างมีขนรูปดาวสีขาวอมเทา ท้องใบด้านล่างจะมีสีอ่อนกว่าหลังด้านบนใบ มีเส้นใบ 3-7 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร มีขนรูปดาวสีขาวอมเทา หูใบคล้ายเส้นด้าย ยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร หลุดร่วงได้ง่าย

ดอกขี้ครอก ออกดอกเดี่ยวรูปไข่กลม ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบประมาณ 2-3 ดอก ริ้วประดับติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนาดสั้นกว่าริ้วประดับ ทั้งกลีบเลี้ยงและริ้วประดับจะมีขนรูปดาวขึ้นปกคลุม ส่วนกลีบดอกเป็นสีชมพูมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ด้านนอกมีขนรูปดาวขึ้นปกคลุม ตรงกลางดอกเป็นสีชมพูเข้มถึงสีแดง ตรงกลางมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร เกลี้ยง อับเรณูมีจำนวนมากติดรอบหลอด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ อยู่ภายในหลอดเกสรเพศผู้ มีอยู่ 5 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีไข่อ่อน 1 หน่วย และมีเกสรเพศเมียเป็นรูปทรงกระบอก ก้านเรียวเล็ก ยาวพ้นหลอดเกสรเพศผู้ แตกเป็น 10 แฉก มีขนแข็งขึ้นประปราย เมื่อดอกบานจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีขน

ผลขี้ครอก ผลมีลักษณะกลมหรือรูปกลมแป้น มีขนรูปดาวขึ้นปกคลุม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลมีหนามแข็งสั้นหัวลูกศรและมีน้ำเหนียวติด เมื่อผลแห้งจะแตกออกได้เป็นพู 5 พู แต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไตสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตรสำหรับวิธีการป้องกันและกำจัดจะใช้วิธีการเขตกรรม โดยการถากหรือตัดให้สั้นลงเพื่อไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง และใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น โดเรมี, อามีทรีน, ทัชดาวน์, ไกลโพเซต 16 เป็นต้น

สรรพคุณของขี้ครอก

รากขี้ครอกใช้รับประทานเป็นยาเย็น มีสรรพคุณเป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ทั้งปวง (ราก)
ใช้เป็นยากระจายเลือดลม (ต้น, ราก, ใบ)
ใช้เป็นยาแก้ไข้หวัดตัวร้อน รักษาอาการไอเป็นเลือด (ต้น, ราก,ใบ)
ตำรายาไทยจะใช้ใบขี้ครอก นำมาต้มกับน้ำจิบแก้ไอ ขับเสมหะ ดับพิษเสมหะ (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้บิด รักษาโรคบิดเฉียบพลัน ด้วยการใช้รากสด 500 กรัม นำมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่น ๆ ต้มกับน้ำ 1,000 ซีซี โดยต้มจนเหลือน้ำ 500 ซีซี ใช้แบ่งรับประทาน ในเด็กอายุ 1-3 ขวบ ให้รับประทานวันละ 80 ซีซี เด็กอายุ 4-9 ปี ให้รับประทานวันละ 200 ซีซี ส่วนเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป ให้รับประทานวันละ 250 ซีซี โดยแบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง (ราก)
ต้นและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้นและใบ, ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาแก้นิ่ว (ต้น, ราก, ใบ)
ใช้เป็นยาแก้มุตกิด ตกขาวของสตรี (ต้น, ราก, ใบ)
ตำรายาพื้นบ้านจะใช้รากขี้ครอกผสมกับสมุนไพรอื่น เช่น รากพญาดง ในปริมาณเท่ากัน นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มเคี่ยว ใช้ดื่มแก้หนองใน (ราก)
ต้นและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไตพิการ แก้พิษน้ำเหลืองเสีย (ต้นและใบ, ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ตำพอกเป็นยาห้ามเลือด ช่วยสมานแผลสด (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ตำพอกแก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ฝี แก้ฝีเท้านม แก้พิษงู (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาขับลมชื้นในร่างกาย (ต้น, ราก, ใบ)
ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายเนื่องจากลมชื้นเข้าแทรก (ต้น, ราก, ใบ)
รากใช้เป็นยาพอกแก้โรคปวดข้อ (ราก)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม  รากแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม ใบและต้นแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม ส่วนทั้งต้นสดนำมาตำพอกบริเวณที่ต้องการ โดยใช้ประมาณ 30-60 กรัมต่อหนึ่งครั้ง


ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขี้ครอก

สารที่พบ ได้แก่ สารพวก Phenols, Amino acid, Glucolin 21.92% และในเมล็ดพบน้ำมัน 13-14%
สารสกัดจากทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตและลดไข้ในสัตว์ทดลอง
สารสกัดจากราก ผล และใบขี้ครอก มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อรา
สารสกัดจากเมล็ดขี้ครอกด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราได้ดีมาก
ประโยชน์ของขี้ครอก
ชาวลั้วะจะใช้ลำต้นของขี้ครอกนำมาทำเป็นไม้กวาด

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment