โคคา
โคคา ชื่อสามัญ Coca, Huanace Coca, Truxillo Cocaโคคา ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythroxylum coca Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Erythroxylum truxillense Rusby) จัดอยู่ในวงศ์โคคา (ERYTHROXYLACEAE)
สมุนไพรโคคา มีชื่อเรียกอื่น ๆ โกโก้ โคโค่ โคค่า (ไทย) เป็นต้น
ลักษณะของโคคา
ต้นโคคา จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม สูงได้ประมาณ 3-5 เมตร มีรากหยั่งลึก กิ่งเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเปรู บราซิล ชิลี เอกวาดอร์ โคลัมเบีย และโบลิเวียใบโคคา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเว้าตื้น ปลายมักมีติ่งแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดยาวประมาณ 2.5-11 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียว แผ่นใบมีเส้นผ่านเส้นร่างแหข้างละ 1 เส้นของเส้นกลางใบจากโคนจรดปลายใบ เห็นชัดเจนด้านล่างของแผ่นใบ ก้านใบยาวประมาณ 3-6 มิลลิเมตร
ดอกโคคา ออกดอกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุกตามซอกใบ ก้านดอกขยายในผล ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองนวล มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบมีขนาดเล็ก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกันเป็นเส้าเกสร สั้นกว่ากลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณูมีอันยาว 5 อัน และอันสั้น 5 อัน ส่วนเกสรเพศเมียมี 3 อัน ก้านเชื่อมติดกัน ยาวกว่าหรือสั้นกว่าเกสรเพศผู้
ผลโคคา ผลเป็นผลสด มีผนังชั้นในแข็ง ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร มีเกสรเพศเมียติดทน ผลเป็นสีเหลืองอมเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลนั้นมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด
รูปโคคา
สรรพคุณของโคคา
ชาวพื้นเมืองของเปรู โบลิเวีย และชาวพื้นเมืองของทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอาร์เจนตินาจะใช้ใบโคคาสด ๆ นำมาเคี้ยว ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท และใช้เป็นยาบำรุง (ใบ)โคคาถือว่าเป็นพืชมีพิษ เนื่องจากใบมีสาร crystalline tropane alkaloid (benzoylmethylecgonine) ซึ่งเป็นหนึ่งในประมาณ 12 สารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากใบ มีฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทและระงับความต้องการของร่างกาย หรือเรียกว่า โคเคน (cocaine) ทำให้ผู้ได้รับสารชนิดนี้รู้สึกมีความสุขและมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้น ๆ โดยถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ของประเทศไทย ผู้ที่เสพจะมีอาการหัวใจเต้นแรง นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ซึมเศร้า และมีโทษทำให้เกิดอาการชักและมีเลือดออกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาต หัวใจล้มเหลว และทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้า ในทางการแพทย์จึงใช้คุณสมบัตินี้เป็นยาชาเฉพาะที่ (ใบ)
ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com
No comments:
Post a Comment