คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Friday, May 3, 2019

สมุนไพรเครือปลาสงแดง

เครือปลาสงแดง

เครือปลาสงแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ichnocarpus frutescens (L.) W.T.Aiton (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Apocynum frutescens L., Echites frutescens (L.) Roxb., Quirivelia frutescens (L.) M.R.Almeida & S.M.Almeida) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)



สมุนไพรเครือปลาสงแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เครือเจ็น (เชียงใหม่), เต่าไห้ (ตราด), เครือซุด เครือซุดแดง ชัยสง (เลย), เถายอดแดง (อ่างทอง), ปอต่อไห้ (จันทบุรี), หุนน้ำ (สระบุรี), เถาวัลย์แดง หัวขวาน (ชลบุรี), เถาโก (ประจวบคีรีขันธ์), เครืออีม้อ บางตำราใช้คำว่า เครืออีโม้ (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของเครือปลาสงแดง

ต้นเครือปลาสงแดง จัดเป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น มีความยาวได้ประมาณ 2-8 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เถาเป็นสีน้ำตาลแดง ตามเถาอ่อนหรือกิ่งอ่อนจะมีขนสั้น ๆ สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว พบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณผสม และตามพื้นที่โล่งทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 850 เมตร

ใบเครือปลาสงแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มถึงมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-11 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเรียบเป็นสีเขียวเข้ม มีขนขึ้นตามเส้นใบ หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนขึ้นประปรายที่เส้นใบ เส้นใบหลักมีประมาณ 5-7 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร และอาจจะพบขนหรือไม่ก็ได้

ดอกเครือปลาสงแดง ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมากประมาณ 11-80 ดอก ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีขนสั้นหนานุ่ม ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 0.3-4.2 เซนติเมตร และมีขนสั้นหนานุ่ม ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเรียงบิดเวียนขวา ปลายกลีบดอกบิด โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น หลอดกลีบเป็นรูปถ้วย มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ปลายแฉกมน เป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร โดยด้านข้างของส่วนปลายกลีบจะยื่นยาวคล้ายหาง ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ส่วนขอบเป็นคลื่น มีขนอุยบริเวณโคนแฉกด้านในและมีขนสั้นนุ่มตามขอบ ส่วนด้านนอกจะเกลี้ยง ทำให้มองเห็นขอบกลีบเป็นฝอยละเอียด ใบประดับมี 2 อัน รองรับช่อดอกย่อย ลักษณะเป็นรูปไข่ ขอบเรียบ มีขนาดกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร มีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นกระจายทั่วผิวด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว หลอดกลีบจะเป็นรูปถ้วยสั้น ๆ มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉกแหลม ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปคล้ายสามเหลี่ยม มีขนสั้นนุ่มหนาแน่นสีน้ำตาลแดง ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองผิวเกลี้ยง อับเรณูยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ติดอยู่ที่ฐาน ปลายเรียวแหลม โคนมน ซึ่งแตะล้อมรอบก้านและยอดเกสรเพศเมีย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร อยู่สูงจากโคนหลอดดอกประมาณ 1 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ เกิดจาก 2 คาร์เพล ในแต่ละคาร์เพลจะมีออวุลประมาณ 15-35 ออวุล รังไข่มีขนสั้นนุ่มและใสที่ผิวด้านบน โคนเชื่อมกัน ปลายแยก ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยงและยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียเกลี้ยงและยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรเช่นกัน เป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน จานฐานดอก 5 อัน แยกกัน ลักษณะเป็นรูปไข่หรือคล้ายขวด ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร โคนเชื่อมแตะรังไข่ ปลายมนหรือกลม เกลี้ยง เป็นสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

ผลเครือปลาสงแดง ออกผลเป็นฝักคู่ ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ปลายฝักแหลม ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.6-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-10.5 เซนติเมตร เมื่อฝักแห้งจะแตกออกเป็นตะเข็บเดียว ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาล เมล็ดมีขนกระจุกสีขาวคล้ายเส้นไหมติดอยู่ปลายของเมล็ด

สรรพคุณของเครือปลาสงแดง

ในบังกลาเทศจะใช้รากเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)
ตำรับยาอายุรเวทของอินเดียจะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้วัณโรค (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการเพ้อคลั่ง (ทั้งต้น)
ใบใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้ตาบอดกลางคืน (ทั้งต้น)
ช่วยป้องกันฟันผุ (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้ลิ้นอักเสบ แก้อาการเลือดออกที่เหงือก (ทั้งต้น)
ใบและลำต้นใช้ต้มเป็นยาแก้ไข้ ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ด้วยเช่นกัน (ราก, ใบและลำต้น)
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไอ (ทั้งต้น)
รากใช้เป็นยาแก้อาหารไม่ย่อย (ราก)
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้บิด (ทั้งต้น)
ใช้แก้เนื้องอกในช่องท้อง (ทั้งต้น)
รากเป็นยาเย็น มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ราก)
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ม้ามโต (ทั้งต้น)
ใบใช้เป็นยาแก้บาดแผล (ใบ)
รากใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง (ราก)
ใบและลำต้นใช้ต้มเป็นยาแก้หิด (ใบและลำต้น)
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้หัด (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดจากแมลงกัด (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาแก้อาการชัก (ทั้งต้น)
ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากเครือปลาสงแดงนำมาผสมกับรากมะเฟืองเปรี้ยว รากตีนนก และรากตะโกนา ใช้ต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ราก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

No comments:

Post a Comment