คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Friday, May 31, 2019

น้ำตะไคร้ใบเตย เครื่องดื่มสมุนไพรประโยชน์ล้นแก้ว


          นอกจากใบเตยจะมีดีที่ กลิ่นหอม มักจะถูกนำไปเป็นตัวชูโรงความหอม และสร้างสีสันให้กับขนมไทยหลายชนิดแล้ว ถ้านำมาต้มเป็นน้ำดื่มก็มีประโยชน์ไม่น้อยเช่นกัน เพราะในใบเตยมีสารที่สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ ช่วยบำรุงหัวใจได้อีกด้วย แล้วยิ่งนำมาผสมรวมกับตะไคร้ที่มีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมจุกเสียดในช่องท้องคงทำให้เครื่องดื่มแก้วนี้ดีต่อสุขภาพไม่น้อย ว่าแล้วก็ลองไปดูวิธีทำน้ำตะไคร้ใบเตยหอม ๆ ไว้ดื่มกันเลยดีกว่า

สิ่งที่ต้องเตรียม

          น้ำ 1 ลิตร
          ใบเตยหั่นเป็นชิ้นเล็ก 5 ใบ
          ตะไคร้ทุบ 3 ต้น
          น้ำตาลทราย 100 กรัม
          น้ำมะนาว ปริมาณตามชอบ
          น้ำแข็ง

วิธีทำ

          1. ใส่น้ำลงในหม้อ ตามด้วยใบเตย และตะไคร้ ต้มจนเดือด และน้ำเปลี่ยนสี ยกลงกรองเอากากออก
          2. เทน้ำตะไคร้ใบเตยกลับใส่หม้อต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลทราย คนผสมจนน้ำตาลทรายละลาย ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น
          3. ตักน้ำตะไคร้ใบเตยลงในแก้ว ตามด้วยน้ำมะนาวตามชอบ ใส่น้ำแข็ง พร้อมดื่ม

          ใบเตย กับตะไคร้ที่บางบ้านปลูกเอาไว้แต่มองข้ามไป หลังจากนี้ก็ลองหยิบจับมาทำกันดูนะคะ แล้วจพบว่าสมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์มากเลยทีเดียว


ขอบคุณแหล่งที่มา https://cooking.kapook.com

Wednesday, May 29, 2019

น้ำมะขามป้อม เครื่องดื่มสมุนไพรไทยวิตามินซีสูง

 มะขามป้อมเป็นพืชสมุนไพรไทยมากประโยชน์ที่ในตำรายาโบราณได้กล่าวถึงถึงสรรพคุณของมะขามป้อมเอาไว้ว่า ในเนื้อมะขามป้อมนั้นมีวิตามินซีสูงมาก ถ้านำผลมารับประทานจะช่วยบรรเทา อาการที่เกิดจากหวัด เช่น แก้ไอ ละลายเสมหะได้เป็นอย่างดี รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาบำรุงร่างกาย และแก้กระหายน้ำได้ดีอีกด้วย วันนี้เราจึงนำมะขามป้อมมาทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรให้ได้ลองดื่มกัน ไปดูสูตรและวิธีทำกันเลยดีกว่า

สิ่งที่ต้องเตรียม

          เนื้อมะขามป้อม แกะเมล็ด หั่นเป็นชิ้น 1 ถ้วย

          น้ำต้มสุก 1 ถ้วย

          น้ำเชื่อม ปริมาณตามชอบ

          น้ำมะนาว ปริมาณตามชอบ

          เกลือป่นเล็กน้อย

          น้ำแข็งสำกรับรับประทานคู่

วิธีทำ

          ใส่เนื้อมะขามป้อม และน้ำต้มสุกลงในเครื่องปั่น ปั่นผสมจนละเอียด ยกลงกรองเอาเฉพาะน้ำ

          ตักน้ำมะขามป้อมลงในแก้ว ใส่น้ำเชื่อม น้ำมะนาว และเกลือป่นเล็กน้อย คนผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ ใส่น้ำแข็ง พร้อมดื่ม
         
           ใครที่มีอาการเป็นหวัด คัดจมูก หรือไม่อยากให้เกิดอาการเหล่านี้ก็ลองทำดื่มดูนะคะ



ขอบคุณแหล่งที่มา https://cooking.kapook.com

ไมยราบ วัชพืชดูไร้ค่า แต่สรรพคุณทางยามีมากกว่าที่คิด

          ไมยราบ สรรพคุณที่ถูกมองข้ามเพียงเพราะหลายคนคิดว่าไมยราบเป็นเพียงวัชพืชที่เติบโตเร็ว ขยายพันธุ์จนเกะกะพื้นที่ แต่นั่นเพราะคุณอาจไม่รู้สรรพคุณทางยาดี ๆ จากไมยราบน่ะสิ



          ตอนเด็ก ๆ ทุกคนน่าจะเคยเล่นใบไมยราบ ที่พอโดนสัมผัสด้วยอะไรก็ตามเจ้าใบไมยราบจะหุบโดยอัตโนมัติ กลายเป็นพืชที่น่าตื่นตาตื่นใจในช่วงวัยเด็ก ทว่าพอโตขึ้นมา ต้นไมยราบที่ก็กระจายเผ่าพันธุ์ไว มีขนาดต้นใหญ่ มีหนาม ทำให้ไมยราบจัดเป็นวัชพืชที่ควรกำจัดออกจากพื้นที่ไปซะอย่างนั้น แต่ใจเย็น ๆ กันก่อนค่ะ ใครมีต้นไมยราบหลงเหลืออยู่บอกเลยว่าอย่ารีบร้อนกำจัดทิ้ง เพราะไมยราบมีสรรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพไม่น้อยเลยนะ

ไมยราบ กับความเป็นมาที่หลายคนไม่เคยทราบมาก่อน

          ต้นไมยราบเป็นต้นไม้อิมพอร์ตมาจากอเมริกาใต้ โดยกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานที่นำเข้าต้นไมยราบมาในประเทศไทย ด้วยหวังประโยชน์ของไมยราบในการคลุมหน้าดิน เพราะต้นไมยราบมีความทนต่อสภาพน้ำท่วมได้ดี ทั้งยังสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ ที่สำคัญประโยชน์ของไมยราบยังช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และช่วยในการบำรุงดินเนื่องจากไมยราบเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง

ไมยราบ ชื่อที่เรียกขานกันหลากหลาย

          ไมยราบ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimosa pudica L.

          ไมยราบ ภาษาอังกฤษ : Sensitive plant, Sleepy plant, Dormilones, touch-me-not, หรือ Shy plant

          ไมยราบ ชื่อสามัญ : ไมยราบ (Sensitive plant)

          ไมยราบ ชื่อตามท้องถิ่น : กระทืบยอด, คันร่ม ,เช้ายอด, หญ้าจิยอบ, หญ้าปันยอบ, จิยอบ, ต้นตาลหน่อปีเหมาะ, หัวใจไมยราบ, หนามหงับ, กะหงับ, หนามหญ้าราบ

          ไมยราบเป็นพืชที่มีชื่อเรียกหลากหลายจริง ๆ นะคะ แต่อย่างไรก็ตาม ภาษากลางที่เอ่ยไปใครก็รู้จักก็คือ ไมยราบ ธรรมดา ๆ นี่แหละค่ะ

ไมยราบ ลักษณะเป็นอย่างไร

          ไมยราบจัดเป็นไม้ล้มลุก อยู่ในพืชตระกูลถั่ว ไมยราบมีลำต้นสูงได้มากกว่า 3 เมตร แตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น โดยลำต้นมีขนาดประมาณ 1-4 เซนติเมตร มีขนละเอียดและหนามโค้งงอตลอดทั้งลำต้น ใบประกอบคล้ายขนนกปลายคู่ เรียงสลับ มีใบย่อย 7-12 คู่ ใบยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ไวต่อการสัมผัส ก้านดอกสั้นมาก กลีบดอกสีเหลือง มีเส้นสีม่วงตามยาวตรงปลายกลีบ

ไมยราบ สรรพคุณทางยาอันน่าสนใจ   

          ประโยชน์ของไมยราบที่นอกจากจะช่วยป้องกันการทลายของหน้าดิน และเป็นพืชคลุมดินแล้ว ไมยราบ สรรพคุณก็ไม่ธรรมดาเลยนะคะ โดยเฉพาะสรรพคุณทางยาของไมยราบ บอกเลยว่าคนรักสุขภาพต้องรู้ให้ครบ ก่อนจะเผลอถอนไมยราบทิ้งไปซะก่อน !

สรรพคุณของไมยราบ

1. ขับปัสสาวะ

          ตำรับยาไทยใช้ไมยราบทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น มีปัสสาวะขุ่นข้น ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มหรือสีแดง (ปัสสาวะปนเลือด) มีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้ อีกทั้งในตำรับยาสมุนไพรยังใช้ต้นไมยราบเป็นยาแก้กษัยอีกด้วยค่ะ

          โดยวิธีใช้ไมยราบขับปัสสาวะให้นำเครือไมยราบทั้งต้นล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง แล้วนำมาต้มกับรากสะเดาดิน พอน้ำเดือดได้ที่ให้กรองน้ำต้มมาดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กษัยอื่น ๆ

2. รักษาโรคกระเพาะ

          ตำรับยาแผนไทยจะใช้รากไมยราบตากแห้ง 1 มัด มาต้มน้ำดื่มเพื่อรักษาโรคกระเพาะ แก้ระบบย่อยอาหารไม่ดีในเด็ก บำรุงกระเพาะ แก้ลำไส้อักเสบ และแก้บิด

3. แก้ไอ ขับเสมหะ

          รากของไมยราบมีสรรพคุณช่วยแก้ไอ  ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โดยนำรากไมยราบตากแห้ง หรือจะใช้รากสดล้างสะอาดก็ได้ในปริมาณ 1 กำมือ มาต้มกับน้ำแล้วดื่มเป็นชา จะช่วยบรรเทาอาการไม่สบายดังกล่าวได้

4. แก้ไข้ ดับพิษร้อน

          ตำรับยาแผนไทยใช้ไมยราบทั้งต้นต้มน้ำกินแก้พิษไข้ ดับร้อน โดยจิบน้ำต้มจากต้นไมยราบต่างน้ำชา

5. บรรเทาอาการปวดประจำเดือน

          น้ำต้มจากรากไมยราบมีฤทธิ์ระงับประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนให้สาว ๆ ได้ และการดื่มน้ำอุ่น ๆ ก็ยังมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เลือดลมเดินสะดวกขึ้นด้วยนะคะ

6. บรรเทาอาการปวดข้อ

          รากของใบไมยราบมีฤทธิ์เป็นยาระงับประสาท จึงสามารถนำรากมาต้มเป็นชาจิบเพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูก ปวดตามข้อได้

7. แก้โรคหนองในและนิ่วในถุงน้ำดี

          ตำรับยาจากฟิลิปปินส์ใช้น้ำต้มจากรากไมยราบ ดื่มแก้โรคหนองในและโรคนิ่วในถุงน้ำดี

8. แก้งูสวัด เริม

          นำใบไมยราบล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้ละเอียด ผสมเหล้าขาวลงไปเล็กน้อย พอให้คั้นน้ำแล้วนำมาพอกผิวที่เป็นแผล มีอาการเริม มีตุ่มงูสวัด ได้วันละ 3-4 ครั้ง

9. แก้ลมพิษ ผื่นคัน

          ใช้ต้นไมยราบตำผสมเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็นลมพิษให้ทั่ว

10. แก้แผลมีหนอง

          นำใบไมยราบล้างสะอาด จากนั้นนำมาตำใส่ข้าวสุก เกลือ 1 เม็ด พิมเสน 2-5 เกล็ด ตำให้ละเอียด พอกแผลที่มีหนอง หรือพอกหัวฝี
11. แก้ตกขาว ขับระดู

          สาว ๆ ที่มีอาการตกขาวมาก ลองนำใบไมยราบมาต้มกับหญ้าหวาดหลุบ ต้มแล้วกรองให้ได้ชา ใช้ดื่มและใช้อาบน้ำ

12. แก้แมลงสัตว์กัดต่อย

          ใบไมยราบที่ล้างน้ำจนสะอาด สามารถนำมาขยี้พอให้น้ำใบออก แล้วมาแปะไว้ตรงที่แมลงสัตว์กัดต่อย จะช่วยบรรเทาอาการคัน และอาการแสบร้อนบนผิวที่ถูกแมลงกัดได้

13. คลายเครียด

          เนื่องจากรากไมยราบมีฤทธิ์ระงับประสาท จึงช่วยคลายเครียดและช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้นได้ โดยนำรากไมยราบตากแห้งมาต้มน้ำ จิบเป็นชาไมยราบช่วยคลายเครียด

14. บำรุงสตรีหลังคลอด

          นำรากสดของไมยราบ ประมาณ 3-5 ราก มาต้มน้ำดื่ม ครั้งละประมาณครึ่งแก้วน้ำชา ดื่มวันละ 2-3 ครั้ง ช่วยบำรุงร่างกายสตรีหลังคลอดได้

15. ลดน้ำตาลในเลือด

          ภาควิชาเภสัชวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการทดลองสรรพคุณไมยราบกับการลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งจากการทดลองกับสัตว์ (หนูทดลอง) ที่เป็นปกติและกลุ่มที่ป่วยเป็นเบาหวาน พบว่า ต้นไมยราบที่สกัดด้วยเอธานอล, ปิโตรเลียมอีเธอร์ และส่วนที่ตรวจพบ Quaternary alkaloids สารสกัดจากต้นไมยราบกับสารเคมีเหล่านี้มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนูที่ป่วยเป็นเบาหวาน (โดยการเหนี่ยวนำให้เกิดโรค) โดยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 20 และลดได้เป็นครึ่งหนึ่งของยารักษาโรคเบาหวาน (Tolbutamide)

          ส่วนการศึกษาความเป็นพิษของไมยราบนั้น จากการทดลองกรอกน้ำต้มไมยราบให้หนูทดลองนาน 6 เดือน ก็ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ในสุขภาพของหนูทดลอง แต่อย่างไรก็ตาม สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือดของไมยราบยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองกับสัตว์เท่านั้น ทว่าผลลดน้ำตาลในเลือดกับคนยังจำเป็นต้องมีการศึกษาทดลองทางด้านคลินิกต่อไป

ไมยราบ โทษที่ต้องระวัง

          เมื่อมีคุณก็อาจจะมีโทษด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจึงมีข้อควรระวังในการใช้ไมยราบที่อาจส่งผลต่อสุขภาพดังนี้ค่ะ

          - ไม่ควรรับประทานไมยราบต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เพราะไมยราบมีฤทธิ์ต่อสมองส่วนกลาง

          - ไม่ควรใช้ไมยราบไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ตาม ในสตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร

          - ไม่ควรใช้ไมยราบกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

          ทั้งนี้ การจะใช้ยาสมุนไพรใด ๆ เพื่อบำบัดอาการต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย

          ไมยราบจัดเป็นวัชพืชที่มีคุณค่าต่อสุขภาพเรา ซึ่งนอกจากไมยราบแล้ว ยังมีต้นหญ้าชนิดอื่น ๆ ที่หลายคนคิดว่าเป็นวัชพืชไร้ค่า ทว่าแท้จริงแล้วมีประโยชน์กับเราในหลาย ๆ ด้าน ดังบทความด้านล่างนี้เลยค่ะ

          - 10 ต้นหญ้าดีมีประโยชน์ เจอในสวนควรปลูกไว้ อย่าถอนทิ้ง


ขอบคุณแหล่งที่มา  https://health.kapook.com

Sunday, May 26, 2019

ตดหมูตดหมา สรรพคุณน่าฮือฮา ช่วยรักษาเบาหวานได้


ตดหมูตดหมา สรรพคุณเด็ดดวง ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ แถมช่วยลดน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ทั้งยังเป็นสมุนไพรแก้ปวดเมื่อยอีกต่างหาก
สมุนไพรไทยชื่อแปลกอย่างตดหมูตดหมา หลายคนอาจจะเคยได้ยินกิตติศัพท์และสรรพคุณของตดหมูตดหมาที่ช่วยลดไขมันเลวและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้มาบ้างแล้ว ทว่าวันนี้ ภกญ.ดร.สาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ได้บอกผ่านมูลนิธิหมอชาวบ้าน เพิ่มเติมมาว่า จริง ๆ แล้วสรรพคุณของตดหมูตดหมายังมีมากกว่านั้นอีกเพียบเลยล่ะ

          ตดหมูตดหมา หรือกระพังโหม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Paederia linearis Hook. f. ชื่อพ้อง Hondbesseion lineare (Hook. F.) Kuntze อยู่ในวงศ์ Rubiaceae

        “ตดหมูตดหมา” เป็นไม้เลื้อย เนื้ออ่อน ลำต้นสีเขียว ใบเดี่ยว มีขนสั้น ๆ ละเอียดที่มุมเส้นใบตัดกับเส้นกลางใบ ก้านใบสีเขียวถึงเขียวค่อนข้างเข้ม ขอบใบเรียบ มีดอกช่อออกที่ปลายยอดและซอกใบกลีบดอกด้านนอกสีขาว ด้านในสีม่วงเข้ม รูปกรวยปลายแยก 5 แฉก หยักตื้น มีผลรูปไข่หรือกลมแบน

         หมอยาพื้นบ้านใช้ตดหมูตดหมากินเป็นยาอายุวัฒนะ โดยเชื่อว่าการกินเป็นประจำจะสามารถเพิ่มกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้กระดูกที่หักติดกันง่าย ช่วยทำให้สีผมเงางาม ช่วยกำจัดพิษ ช่วยย่อย ช่วยขับลม ให้กินเป็นประจำทั้งกินเป็นผักและต้มกินเป็นยา และสามารถกินได้ทุกเพศทุกวัย


          หมอยาไทยใหญ่ ใช้ตดหมูตดหมาคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นที่น่าสนใจ คือ มีกรณีศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดของใบตดหมูตดหมาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งผลการทดลองในหนูพบว่า มีผลทำให้ HbA1C ในกระแสเลือดลดลง แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของตดหมูตดหมาในการลดระดับน้ำตาล

          ตดหมูตดหมายังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยสามารถเพิ่มระดับของเอนไซม์ ซูเปอร์ออกไซด์ ติสมูแทนท์ คาตาเลส และกลูตาไธโอน ซึ่งสามารถกำจัดอนุมูลอิสระ (free radical) ออกจากร่างกายได้

          ตดหมูตดหมามีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (thrombotic effect) และช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ โดยสามารถลดได้ทั้งไขมันรวม ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันแอลดีแอล (LDL) และ very low density lipoprotein cholesterol (VLDL) ซึ่งไขมันทั้งหมดนี้ล้วนเป็นอันตรายและก่อโรคในระบบหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตได้

          ตดหมูตดหมาเป็นยาแก้ทาง “กองลม” (กองลมในความหมายของแพทย์แผนไทย คือกลไกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ) การทำงานของระบบประสาท เช่น ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ อาการปวดหัว รวมไปถึงอาการท้องอืดท้องเฟ้อ

          ดังนั้น สรรพคุณเด่น ๆ ของตดหมูตดหมา คือ แก้ปวดเมื่อย ขับลม ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ขับน้ำนม แก้อาการปวดวิ่ง ๆ (อาการของพยาธิตัวจี๊ด) โดยหมอยาพื้นบ้านจะใช้ตดหมูตดหมาตัวเดียว หรือต้มรวมกับสมุนไพรตัวอื่น ๆ ในการรักษาโรคและอาการเหล่านี้

          มีรายงานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ตดหมูตดหมาเป็นยาแก้ปวดเมื่อยแก้อักเสบ โดยพบว่าตดหมูตดหมามีฤทธิ์ในการแก้อักเสบ ทั้งยังพบฤทธิ์แก้ปวดอีกด้วย ดังนั้นจึงสนับสนุนการใช้ตดหมูตดหมาเป็นยาแก้ปวดเมื่อย แก้ปวดข้อของหมอยาพื้นบ้านนั่นเอง

          ตดหมูตดหมาเป็นสมุนไพรที่เข้าอยู่ในตำรับยาแก้ซางมากที่สุดชนิดหนึ่ง กล่าวได้ว่าสรรพคุณสำคัญของตดหมูตดหมาคือ การแก้ซางเด็ก ซึ่งเด็กที่เป็นซางจะมีอาการพุงโรกันปอด ผอม ซึ่งอาจจะเกิดจากพยาธิ อาหารไม่ย่อย หรือขาดสารอาหารก็เป็นได้

         ตำรับที่นิยมของตาส่วน สีมะพริก หมอยาแห่งบ้านนนทรี จังหวัดปราจีนบุรี คือ ใช้สมุนไพรตาลหม่อน ตาลเสี้ยน ตาลดำ ตานขโมย ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ เติมน้ำลงไปเล็กน้อย แล้วใช้เถาตดหมูตดหมาปิดที่กระบอกไม้ไผ่ เอาไปย่างไฟ แล้วนำน้ำในกระบอกไม้ไผ่มาให้เด็กที่เป็นซางกิน เทคนิคนี้ดูเหมือนคนโบราณจะพยายามสกัดสารจากตดหมูตดหมาโดยใช้ไอน้ำ ซึ่งหมอยาจะเรียกวิธีการทำยาชนิดนี้ว่า “การหลามยา” เพราะวิธีนี้คล้าย ๆ วิธีทำข้าวหลาม

         ปัจจุบัน ยังมีการศึกษาพบว่าตดหมูตดหมาสามารถเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) ในสัตว์ทดลอง จึงมีศักยภาพพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเพิ่มสมรรถภาพนักกีฬา และช่วยสร้างกล้ามเนื้อในผู้ที่ออกกำลังกาย

 ตำรับยายาล้างพิษ

          ให้ต้มสมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อมเข้าด้วยกัน แล้วใส่ใบตดหมูตดหมาลงไป โดยใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ถอนพิษสุรา พิษยาสูบ และถอนพิษต่าง ๆ รวมทั้งแก้ท้องเสีย พิษจากอาหาร

 ตำรับยาแก้ท้องอืด ท้องผูก

          ให้นำรากตดหมูตดหมามาต้มกิน หรือนำใบมาตำ พอกที่ท้อง

 ตำรับยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด

          ให้นำใบตดหมูตดหมามาขยี้ให้ละเอียด ใส่น้ำเล็กน้อย ทาพอกไว้ แล้วอาการปวดวิ่ง ๆ เหล่านั้นก็จะหายไป

 ตำรับยาถ่ายพยาธิ

          ใช้ยอดอ่อนของตดหมูตดหมา หมกใส่ไข่หรือปลาให้เด็กกิน

 ตำรับยาใส่แผล แก้คัน

          ให้ล้างแผลให้สะอาด แล้วคั้นน้ำใบตดหมูตดหมาทาแผลที่ถูกหมากัด งูกัด เริม งูสวัด และแผลทั่วไป รวมทั้งใช้ทาแก้คันก็ได้

 ตำรับยาแก้ริดสีดวง ตกเลือด

          ให้นำตดหมูตดหมา จุกกระเทียม ใบกะเพรา ต้มกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน แล้วนำมากินก็จะหาย

 ตำรับยาแก้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

          ให้ใช้ตดหมูตดหมาทั้ง 5 กรุงเขมา จันขาว ขิง ดิปลี ราก มะเขือขื่น รากมะอึก รากแดงขม บอระเพ็ด ต้มกิน

 ตำรับยาเป็นลมหน้ามืด

          ใช้ยอดตดหมูตดหมา 7 ยอด เปลือกแคเล็กน้อย มะนาว 7 ฝาน ขิง 7  กระเทียม 7 กลีบ พริกไทย 7 เม็ด นำทั้งหมดตำให้ละเอียด ใช้อมแก้ไข้สันนิบาต (เป็นลมหน้ามืด)

 ตำรับยาน้ำมันแก้ปวดตามข้อ แก้อักเสบช้ำบวม

          ใช้ใบตดหมูตดหมาบดละเอียด 2 ส่วน เคี่ยวกับน้ำมัน 1 ส่วน เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนใบกรอบ กรองเก็บน้ำมัน แล้วนำไปเคี่ยวกับขิงสดบดอีก 1 ส่วน กรองทำเป็นน้ำมันเก็บไว้ใช้แก้ปวดเมื่อย แก้อักเสบ

 ตำรับยาแก้ปวดเมื่อย

          ให้นำตดหมูตดหมาทั้ง 5 มาต้มกิน

 ตำรับยาแก้เด็กเป็นซาง

          ขนานที่ 1 ให้นำใบตดหมูตดหมาตากแห้ง ตำใส่เกลือต้มกิน ต้มอาบ

          ขนานที่ 2 ใช้ตดหมูตดหมา 1 กำมือ กะเพราะแดง 1 ต้น เปลือกไข่เน่า 1 บาท สะค้าน 1 บาท สมอทั้ง 3 สิ่งละ 2 บาท บอระเพ็ด 5 องคุลี มะตูมอ่อน 1 แว่น มะขามป้อม 3 บาท เจตมูลเพลิง 1 บาท ขิงแห้ง 1  บาท ชุมเห็ดเทศ 1 ต้น ใบมะกา 1 กำมือ ตีปลี 5 ดอก ขมิ้นอ้อย 5 แว่น นำมาต้มให้เด็กกิน


          สมุนไพรดี ๆ ที่หาไม่ยากอย่างตดหมูตดหมา ถ้าเรารู้สรรพคุณของเขาแล้วยังมองข้ามคงน่าเสียดายแย่เลยว่าไหมคะ


ขอบคุณแหล่งที่มา https://health.kapook.com

Saturday, May 25, 2019

สะระแหน่ สรรพคุณจัดว่าเด็ด ขับลม แก้ปวดฟัน มีน้ำมันหอมระเหย


สะระแหน่ เป็นสมุนไพรที่ใบเล็ก แต่ กลิ่นหอมแรง สรรพคุณของสะระแหน่ก็จัดว่าไม่ธรรมดาด้วยเหมือนกัน และใครอยากทราบว่าสะระแหน่นำไปทำอะไรได้บ้าง นอกจากตกแต่งอาหาร เครื่องดื่ม หรือกินแกล้มกับเมนูของคาว เรามาดูประโยชน์สะระแหน่ที่มีต่อสุขภาพกันเลย

สะระแหน่ สมุนไพรมีกลิ่นหอมสดชื่น

          สะระแหน่เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Labiatae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mentha cordifolia  Opiz ex Fresen ส่วนชื่อภาษาอังกฤษของสะระแหน่ก็เรียกว่า Kitchen Mint หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Mint และนอกจากชื่อสะระแหน่แล้ว ในบางพื้นที่ยังเรียกสะระแหน่ด้วยชื่ออื่น ๆ เช่น หอมด่วน (ภาคเหนือ), มักเงาะ สะแน (ภาคใต้) หรือสะระแหน่สวน (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสะระแหน่

          สะระแหน่เป็นไม้ล้มลุก มีเถาเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นทรงรูปสี่เหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงออกไปทางน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปทรงใบค่อนข้างรี กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ผิวใบย่น ขอบใบหยักฟันเลื่อย ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกและช่อสะระแหน่ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก


ประโยชน์สะระแหน่และสรรพคุณทางยา

    1. ขับลม 

          ตำรายาไทยใช้ใบสดกินเป็นยาขับลม เพราะใบสะระแหน่มีสารประกอบจำพวกเมนทอลอยู่มาก มีรสร้อนนิด ๆ กินเป็นยาขับลมได้ดี 

    2. ช่วยย่อยอาหาร 

          ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (University of Maryland Medical Center) ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยว่า สะระแหน่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร และมีส่วนกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดีในร่างกาย ช่วยย่อยอาหารได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน ทั้งนี้สูตรช่วยย่อยอาหาร สามารถนำใบสะระแหน่สดมาต้มกับน้ำสะอาดแล้วดื่มแก้อาหารไม่ย่อยได้
    3. บรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน 

          มีงานวิจัยเปิดเผยว่า อาสาสมัคร 57 คนที่มีอาการลำไส้แปรปรวน เมื่อกินน้ำมันสะระแหน่ชนิดแคปซูลนาน 4 สัปดาห์ มีอาการลำไส้แปรปรวนลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้กินน้ำมันสะระแหน่ 

          นอกจากนี้การศึกษาในไต้หวันยังพบว่า อาสาสมัครที่กินน้ำมันสะระแหน่ชนิดแคปซูลก่อนอาหาร 15-30 นาที มีอาการท้องอืดและมีกรดแก๊สในกระเพาะอาหารลดลง และยังพบว่าผู้ป่วยมากกว่า 80% มีอาการปวดในช่องท้องลดลงด้วย 

    4. แก้ปวดหัว 

          กลิ่นน้ำมันหอมระเหยในใบสะระแหน่มีส่วนช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและมีสรรพคุณระงับปวดได้ โดยใช้สะระแหน่ทั้งต้นประมาณ 500 กรัม โขลกจนละเอียด แล้วนำไปต้มกับน้ำเพื่อแยกเอาส่วนน้ำมันออก เพื่อที่เราจะใช้น้ำมันสะระแหน่ที่ได้มานวดคลึงขมับเมื่อรู้สึกปวดเวียนศีรษะ

    5. แก้คลื่นไส้
         กลิ่นหอมจากสารเมนทอลในใบสะระแหน่ทำให้รู้สึกสดชื่น บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ และอาการคลื่นไส้ได้ โดยใช้ใบสด 1 กำมือ โขลกจนละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ จิบอุ่น ๆ แก้อาการคลื่นไส้ วิงเวียน 

6. ฆ่าเชื้อในช่องปาก แก้ปวดฟัน

          อย่างที่บอกว่าสรรพคุณของสะระแหน่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ดังนั้นอาการปวดฟันก็ไม่เหนือบ่ากว่าแรงสะระแหน่เท่าไรค่ะ โดยใช้ใบสะระแหน่ประมาณ 1 กำมือ โขลกพอแหลก แล้วนำไปต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วยกาแฟ จากนั้นเคี่ยวต่อจนเหลือน้ำแค่ครึ่งเดียว ทิ้งไว้ให้อุ่น แล้วนำมากลั้วปากและลำคอเพื่อฆ่าเชื้อในช่องปาก บรรเทาอาการปวดฟัน เจ็บคอ และเจ็บโคนลิ้น

7. บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก

          หลายคนชอบกลิ่นสะระแหน่เพราะมีกลิ่นหอม ซึ่งน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในสะระแหน่นี่แหละค่ะที่ช่วยลดอาการอักเสบในเยื่อบุจมูก บรรเทาอาการหลอดลมหดตัว ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกจากหวัด และอาการหอบหืดได้ โดยดมน้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ หรือทำชาสาระแหน่จิบอุ่น ๆ ก็ได้

8. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
         สะระแหน่เป็นสมุนไพรมีรสร้อน แต่มีฤทธิ์เย็น และมีสรรพคุณแก้ปวด จึงสามารถบรรเทาอาการปวดแสบจากพิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้ โดยให้ใช้ใบสะระแหน่สดใหม่ 5-10 ใบ โขลกจนละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่แมลงกัด 

9. แก้คัน

          ความเย็นจากใบสะระแหน่ก็ช่วยบรรเทาอาการคันบนผิวหนัง อีกทั้งสะระแหน่ยังมีฤทธิ์แก้อักเสบ จึงช่วยลดอาการคัน ฟกช้ำ หรืออาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียดแล้วนำมาพอกผิวแก้คัน

ข้อควรระวังในการใช้สะระแหน่

          * ห้ามใช้น้ำมันสะระแหน่กับทารกหรือเด็กเล็ก เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคยเคืองในระบบทางเดินหายใจ และอาจทำให้ปอดอักเสบได้

          * ข้อมูลจากวารสาร Toxicology and Industrial Health เผยว่า ชาสะระแหน่มีฤทธิ์ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กในหนูทดลอง และแม้จะยังไม่มีผลทดลองในคน ทว่าผู้ที่มีภาวะโลหิตจางก็ควรหลีกเลี่ยงสะระแหน่ไว้ก่อน

          * ผู้เป็นโรคกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยงสะระแหน่ เนื่องจากสะระแหน่มีผลคลายกล้ามเนื้อหูรูดในหลอดอาหาร อาจส่งผลให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นมาได้ 

          ประโยชน์สะระแหน่เยอะเบอร์นี้หลายคนเริ่มอยากกินสะระแหน่ให้มากขึ้น ซึ่งปกติ นิยมนำสะระแหน่มาใช้แต่งกลิ่นอาหาร ใส่ในอาหารประเภทน้ำพริก-ยำต่าง ๆ หรือรับประทานเป็นผักสด และยังสามารถดื่มเป็นชาได้ด้วย ซึ่งเรามีวิธีชงชาสะระแหน่มาฝาก ทำไม่ยากด้วยนะ

ขอบคุณแหล่งที่มา  https://health.kapook.com

Friday, May 24, 2019

บอระเพ็ด สมุนไพรรสขม สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ

  หวานเป็นลมขมเป็นบอระเพ็ด ที่มี สรรพคุณเด็ดดวง แก้ไข้ แก้ร้อนใน ช่วยเจริญอาหาร ของดีที่คนรักสุขภาพพลาดไม่ได้
คำโบราณที่ว่าไว้ หวานเป็นลม ขมเป็นยา เป็นความจริงที่เถียงก็ยาก ดูอย่างบอระเพ็ด สมุนไพรรสขมปี๋ชนิดนี้ ที่ข้างในมีดีอยู่เยอะแยะ มาลองทำความรู้จักสรรพคุณของบอระเพ็ดกันดีกว่า เห็นว่าช่วยลดไข้ แก้ร้อนใน ช่วยให้เจริญอาหาร และยังช่วยบรรเทาได้อีกหลายอาการป่วย


บอระเพ็ด กับความเด็ดที่น่าสนใจ

         บอระเพ็ดมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Tinospora cordifolia ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ดคือ Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f&Thomson จัดเป็นไม้เถาอยู่ในวงศ์ Menispermaceae และนอกจากชื่อบอระเพ็ดแล้ว ในบ้านเรายังเรียกบอระเพ็ดในอีกหลาย ๆ ชื่อ เช่น ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เจตมูลหนาม หรือจุ้งจาลิงตัวแม่


บอระเพ็ด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์อย่างเด่น

          บอระเพ็ดเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ไม่มีขน ยาวได้ถึง 15 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร เปลือกเถาหนา 1.5-2.5 มิลลิเมตร ผิวบอระเพ็ดเป็นสีน้ำตาล เนื้อในมีสีเทาแกมเหลือง เถามีลักษณะกลม ผิวเปลือกเถาขรุขระเป็นปุ่มกระจายไปทั่ว และเมื่อแก่จะเห็นปุ่มปมเหล่านี้หนาแน่นและชัดเจนมาก

          เปลือกเถาบอระเพ็ดมีรสขม ลอกออกได้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบบอระเพ็ดมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาว 8-10 เซนติเมตร ส่วนดอกบอระเพ็ดจะออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ลักษณะดอกบอระเพ็ดมีสีเขียวอมเหลือง ดอกขนาดจิ๋ว ผลรูปร่างค่อนข้างกลม มีสีเหลืองหรือสีแดง

บอระเพ็ด สรรพคุณเด็ดดวง

          สรรพคุณของบอระเพ็ดหลัก ๆ แล้วจัดเป็นสมุนไพรแก้ไข้ ลดความร้อนในร่างกาย โดยประโยชน์ของบอระเพ็ดสามารถจำแนกได้ ดังนี้

1. แก้ไข้
เถาบอระเพ็ดมีรสขมจัด สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทุกชนิด โดยใช้เถาแก่สดหรือต้นสด 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มเป็นยาขมวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ

2. ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร

          ใช้เถาแก่สดหรือต้นสด 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มเป็นยาขมวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ หรือบดเป็นผง ทำให้เป็นลูกกลอนรับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า, เย็น   

3. บำรุงกำลัง

          ต้นบอระเพ็ดสามารถนำมาต้มเป็นยาขมดื่มบำรุงกำลัง บำรุงธาตุได้ โดยใช้ต้นบอระเพ็ดล้างสะอาด ประมาณ 2 คืบครึ่ง ตำให้แหลกแล้วมาคั้นเอาแต่น้ำไปดื่มบำรุงกำลัง หรือจะต้มตำรับเดียวกับยาลดไข้ก็ได้เช่นกัน

4. รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
ในใบบอระเพ็ดมีสารที่ช่วยรักษาโรคผิวหนัง โดยเฉพาะอาการผดผื่นคัน โดยนำใบบอระเพ็ดล้างสะอาด ตำให้ละเอียด จากนั้นนำมาพอกตามจุดที่มีผื่นคัน หรือบริเวณผิวที่มีการอักเสบ เพราะสารในใบบอระเพ็ดมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบได้

5. แก้ฝี แก้ฟกช้ำ

          ใช้ใบบอระเพ็ดตำให้ละเอียดแล้วมาพอกฝี หรือแก้ฟกช้ำตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 

6. เป็นยาอายุวัฒนะ

          ส่วนทั้ง 5 ของบอระเพ็ด คือ ราก ต้น ใบ ดอก ผล นำมาปรุงยาอายุวัฒนะได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ ปวดศีรษะ รักษาฟัน รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ฝีมดลูก แก้ร้อนใน ลดความร้อน แก้ดีพิการ แก้เสมหะ บำรุงเลือดลม และแก้ไข้จับสั่น เป็นต้น 

7. ลดน้ำตาลในเลือด
ผลการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า บอระเพ็ดสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยภาวะอ้วนลงพุงที่รับประทานแคปซูลผงบอระเพ็ด ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือยาหลอกเป็นเวลา 2 เดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองก่อนรับประทานบอระเพ็ด ทว่าการทดลองเรื่องบอระเพ็ดลดน้ำตาลในเลือดจำเป็นต้องศึกษาลึกไปกว่านี้เพื่อความชัดเจนและถูกต้องของข้อมูล


ขอบคุณแหล่งที่มา  https://health.kapook.com

สะบ้าลิง สรรพคุณของต้นสะบ้าลิง 4 ข้อ ! (สะบ้าลาย)

สะบ้าลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Entada glandulosa Gagnep. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Entada tamarindifolia Gagnep.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)[1],[2]



สมุนไพรสะบ้าลิง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักตีนแลน มะบ้าลิง มะบ้าปน (เชียงใหม่), หมากนิมลาย (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), มะบ้าปน (ลำพูน), ทบทวน ลิ้นแลน มะขามเครือ (ชัยภูมิ), เครือลิ้นแลน (หนองคาย), หมากแทน (ยโสธร), บ้าบนใหญ่ (อุบลราชธานี), ผักตีนแลน มะบ้าลิง มะบ้าบน มะบ้าวอก (ภาคเหนือ), สะบ้าลาย สะบ้าลิง (ภาคกลาง) เป็นต้น[1],[2]

หมายเหตุ : ต้นสะบ้าลิงที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพรรณไม้คนละชนิดกันกับต้นสะบ้าลิงที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna macrocarpa Wall. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Mucuna collettii Lace)

ลักษณะของสะบ้าลิง
ต้นสะบ้าลิง จัดเป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ ตามกิ่งมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์ในพม่าและภูมิภาคอินโดจีน ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคใต้ โดยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง โดยเฉพาะบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร[1],[2]


ใบสะบ้าลิง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ปลายใบคู่ ออกเรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1.8-4 เซนติเมตร ใบประกอบย่อยคู่ปลายมีมือเกาะ ใบประกอบย่อยยาวประมาณ 4-14.5 เซนติเมตร มีใบย่อย 5-8 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบตัดหรือเว้ากลม มีติ่งแหลม ฐานใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1.7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.2-4 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างเกลี้ยงไม่มีนวล[1],[2]


ดอกสะบ้าลิง ออกดอกเป็นช่อกระจะเชิงลด โดยจะออกที่ซอกใบและเหนือซอกใบ ยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร มีขนละเอียด ก้านดอกย่อยเกือบไร้ก้าน กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมตื้น ๆ ผิวด้านนอกมีขนละเอียด ผิวด้านในเกลี้ยง ยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกนั้นเป็นสีขาวแกมเหลือง มี 5 กลีบ แยกจรดกัน ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม โคนเชื่อมกัน ขอบเรียบ ปลายแยก ยาวประมาณ 4.5-5.5 มิลลิเมตร ด้านนอกช่วงล่างมีแนวต่อมขนาดเล็กอยู่ 2 แนว ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน แยกจากกัน เชื่อมกันที่ฐาน แบ่งเป็นขนาดยาว 9 อัน และสั้น 1 อัน ก้านชูอับเรณูยาวได้ประมาณ 1 เซนติเมตร หรือยาวกว่าเล็กน้อย ส่วนเกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผิวเรียบ รังไข่เกลี้ยง ยาวได้ประมาณ 3 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม[1],[2]

ผลสะบ้าลิง ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปขอบขนาน แบน โค้งงอ มีรอยคอดตามเมล็ด ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 2.2-2.6 เซนติเมตร และยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร ฝักเป็นสีน้ำตาล ผนังด้านนอกค่อนข้างหนา เมื่อแก่จะหักเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนจะมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม แบน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร เปลือกนอกแข็งเป็นสีน้ำตาลดำ[1],[2]


สรรพคุณของสะบ้าลิง
ตำรายาไทยจะใช้เนื้อในเมล็ดดิบ นำมาสุมไฟให้เกรียมดำแล้วผสมกับยาอื่น ๆ รับประทานเป็นยาแก้ไข้พิษเซื่องซึม (เนื้อในเมล็ดดิบ)[2]
เนื้อในเมล็ดดิบ มีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน โรคเรื้อน คุดทะราด มะเร็ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเป็นยาเบื่อเมา (เนื้อในเมล็ดดิบ)[2]
ยาพื้นบ้านอีสานจะใช้เมล็ดหรือรากสะบ้าลิง นำมาฝนเหล้าทาและฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคผิวหนัง และแผลเรื้อรัง (ราก, เมล็ด)[2]
ทั้งต้นใช้ผสมในลูกประคบเป็นยาแก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย (ทั้งต้น)[2]


ขอบคุณแหล่งที่มา  https://medthai.com

Thursday, May 23, 2019

สมุนไพรชงโคขาว

ชงโค

ชงโค ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia pottsii var. decipiens (Craib) K.Larsen & S.S.Larsen จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)



 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะโป (น่าน)

หมายเหตุ : ชงโคชนิดนี้น่าจะเป็นชนิดย่อยเดียวกันกับชงโคขาว ที่พบขึ้นหนาแน่น โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะของชงโค

ต้นชงโค จัดเป็นไม้พุ่มพาดพันกับต้นไม้อื่น ไม่มีมือเกาะ ตามกิ่งอ่อนมีขน ชงโคชนิดนี้เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบได้เฉพาะที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดเพียงครั้งเดียว
ใบชงโค ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-14 เซนติเมตร แผ่นใบแยกเป็นสองพู ปลายใบมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ ผิวใบด้านบนเรียบ
ดอกชงโค ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง ชงโคชนิดนี้กลีบดอกจะเป็นสีขาว รังไข่มีขนกำมะหยี่ขึ้นปกคลุม ไม่ใช่ขนแข็งเอน

ผลชงโค ผลมีลักษณะเป็นฝักและแตกได้
ฝักชงโคขาว

สรรพคุณของชงโค

ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากชงโค นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาเจริญอาหาร (ราก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สรรพคุณสมุนไพรไทยที่ใคร ๆ ก็รู้จัก

พืชไทย ยอดฮิตที่ทุกคนรู้จักชื่อเสียงเรียงนามกันดี ว่าแต่รู้จักสรรพคุณครบถ้วนแล้วหรือยัง 

          กับอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างปวดศีรษะ ปวดท้อง เจ็บคอ ไอ น้ำร้อนลวก มดกัด ยุงกัด ท้องเสีย ท้องอืด ฯลฯ หลายคนมักจะเลือกใช้ยาแผนปัจจุบัน โดยคิดว่าเป็นวิธีที่รวดเร็วทันใจดี แต่ลองชะเง้อมองซิว่า รอบ ๆ บ้านมีพืชสมุนไพรไทยอะไรปลูกอยู่หรือเปล่า เพราะพืชสมุนไพรเหล่านี้สามารถนำมาใช้รักษาอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ได้ผลชะงัดนักแล แถมบางชนิดยังสามารถบรรเทาอาการโรคยอดฮิตได้ด้วยนะ


ว่านหางจระเข้

          ไม้ล้มลุกใบใหญ่หนาที่ทุกคนรู้จักกันดี แม้ถิ่นกำเนิดจะอยู่ไกลถึงฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกา แต่ในประเทศไทยก็มีการปลูกว่านหางจระเข้อย่างแพร่หลาย ซึ่งในตำรับยาไทยก็ใช้ว่านหางจระเข้บำบัดอาการต่าง ๆ ได้มากมาย จนเป็นที่รู้จักว่า เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณสารพัดประโยชน์ 


          โดย "วุ้นในใบสด" สามารถนำมาบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักก็คือ นำมาพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิวที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะอาหาร และช่วยถอนพิษได้ เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยสมานแผล แต่มีข้อแนะนำว่า ก่อนใช้ควรทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้ นอกจากส่วนวุ้นในใบสดแล้ว ส่วน "ยางในใบ" ก็สามารถนำมาทำเป็นยาระบายได้ และส่วน "เหง้า" ก็นำไปต้มน้ำรับประทาน แก้โรคหนองในได้


ขมิ้นชัน

          เรียกกันทั่วไปว่า "ขมิ้น" เป็นไม้ล้มลุกมีสีเหลืองอมส้ม มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม คนนิยมนำ "เหง้า" ทั้งสดและแห้งมาใช้รักษาอาการที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รวมทั้งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง จุกเสียดแน่นท้อง และสามารถนำขมิ้นชันมาทาภายนอก เพื่อใช้รักษาแผลเรื้อรัง แผลสด โรคผิวหนัง พุพอง รักษาชันนะตุ


          นอกจากนั้น "ขมิ้นชัน" ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ "คูเคอร์มิน" ที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งตับ อีกทั้งยังสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง หรือใครที่มีแผลอักเสบ "ขมิ้นชัน" ก็มีสรรพคุณช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะมีฤทธิ์ไปลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง และหากรับประทานขมิ้นชันทุกวัน ตามเวลาจะช่วยให้ความจำดีขึ้น ไม่อ่อนเพลียยามตื่นนอน และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา  https://health.kapook.com

Wednesday, May 22, 2019

สมุนไพรนางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง ชื่อสามัญ Wild Himalayan Cherry, Sour cherry



นางพญาเสือโคร่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cerasus cerasoides (Buch.-Ham. ex D. Don) S.Y. Sokolov (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Prunus cerasoides Buch.-Ham. ex D. Don, Prunus majestica Koehne, Prunus puddum (Roxb. ex Ser.) Brandis) จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (ROSACEAE)

สมุนไพรนางพญาเสือโคร่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ซากุระดอย (เชียงใหม่), ฉวีวรรณ ชมพูภูพิงค์ (ภาคเหนือ), คัวเคาะ เส่คาแว่ เส่แผ่ แส่ลาแหล (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ยาแก่ะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

หมายเหตุ : ต้นนางพญาเสือโคร่ง ได้รับฉายาว่า "ซากุระเมืองไทย" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายซากุระ และในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกดอกไม้ของพรรณไม้ชนิดนี้ว่า "ฮิมาลายาซากุระ" (ヒマラヤザクラ)

ลักษณะของนางพญาเสือโคร่ง

ต้นนางพญาเสือโคร่ง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง เปลือกต้นเรียบเป็นมัน สีเหลือบน้ำตาล เยื่อผิวบาง หลุดลอกง่าย ตามกิ่งอ่อนมีขนละเอียด พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้ของประเทศจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น โดยพบขึ้นในป่าที่ระดับความสูงประมาณ 500-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000-2,000 เมตร เช่น บนดอยเชียงดาว ดอยอินทนนท์ ฯลฯ

ใบนางพญาเสือโคร่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร ปลายก้านใบมีต่อมประมาณ 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงเป็นรูปคล้ายเขากวางหรือคล้ายเป็นริ้วเล็ก ๆ ใบร่วงได้ง่าย

ดอกนางพญาเสือโคร่ง ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 0.7-2 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกนางพญาเสือโคร่งจะมีหลายเฉดสี ทั้งสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม สีชมพูแดง สีแดง หรือสีขาว แต่ที่หาได้ยากที่สุดคือสีขาว ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจะทิ้งใบก่อนการออกดอก,
ผลนางพญาเสือโคร่ง เมื่อดอกได้รับการผสมจะติดเป็นผล ซึ่งจะเป็นผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม โดยผลจะเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนาน รูปกระสวย รูปไข่หรือกลม ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ฉ่ำน้ำ ผิวผลเกลี้ยง ผลสุกเป็นสีแดงแบบลูกเชอร์รี่ มีรสเปรี้ยว

หมายเหตุ : ต้นนางพญาเสือโคร่งมีความแตกต่างจากซากุระญี่ปุ่นตรงที่ช่วงเวลาการออกดอก คือ นางพญาเสือโคร่งจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ (ฤดูหนาว) ส่วนซากุระในญี่ปุ่นจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน (ฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น) และยังมีข้อสันนิษฐานว่าพรรณไม้ทั้งสองชนิดนี้มีบรรพบุรุษร่วมกันทางตอนใต้ของจีน และมีวิวัฒนาการออกไปจนมีหลากหลายสายพันธุ์

สรรพคุณของนางพญาเสือโคร่ง

ชาวเขาเผ่ามูเซอจะใช้เปลือกต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นยาแก้ไอ ลดน้ำมูก แก้อาการคัดจมูก (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำ ดื่มรักษาอาการหนาวสั่นจากอาการไข้ (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้เลือดกำเดาไหล (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการท้องเสีย (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้ตำคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแก้ฟกช้ำ แก้ข้อแพลง ปวดข้อ (เปลือกต้น)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Tuesday, May 21, 2019

สมุนไพรพวงชมพู

พวงชมพู

พวงชมพู ชื่อสามัญ Mexican Creeper, Bee Bush, Bride's tears, Coral Vine, Chain of Love, Confederate Vine, Corallita, Hearts on a Chain, Honolulu Creeper, Queen's Jewels, Mountain Rose Coralvine, San Miguelito Vine, Rose Pink Vine



พวงชมพู ชื่อวิทยาศาสตร์ Antigonon leptopus Hook. & Arn. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Antigonon amabie K.Koch, Antigonon cinerascens M.Martens & Galeott, Antigonon cordatum M.Martens & Galeotti, Antigonon platypus Hook. & Arn., Corculum leptopus Stuntz) จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)

สมุนไพรพวงชมพู มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ชมพูพวง (กรุงเทพฯ), หงอนนาก (ปัตตานี), พวงนาก (ภาคกลาง) เป็นต้น


ลักษณะของพวงชมพู

ต้นพวงชมพู มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง พบมากในประเทศเม็กซิโก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยที่มีเถาเนื้ออ่อนขนาดเล็ก แต่ตรงส่วนโคนจะแข็งแรงมาก ลำเถาเป็นสีเขียวอ่อน มีมือสำหรับยึดเกาะพันต้นไม้หรือกิ่งอื่นเพื่อการทรงตัว และสามารถเลื้อยพันสิ่งต่าง ๆ ไปได้ไกลประมาณ 40 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอน และการปักชำกิ่ง พวงชมพูเป็นไม้กลางแจ้งที่ต้องการแสงแดดมาก ต้องการน้ำปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีความชื้นพอสมควร นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน แต่ในบางประเทศพบขึ้นเป็นวัชพืช

ใบพวงชมพู ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบช่วงโคนมักมีขนาดใหญ่กว่าใบช่วงปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นใบโพธิ์หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักมนไม่แหลมหรือเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบและเส้นแขนงย่อยชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร

ดอกพวงชมพู ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะแยกแขนง ออกตามซอกใบ ซอกกิ่ง และที่ปลายยอด ช่อแขนงยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ส่วนปลายช่อสุดจะมีสำหรับเกาะเกี่ยวสิ่งอื่น ๆ เพื่อเป็นการพยุงตัว ดอกออกเป็นกระจุกตามแขนงช่อ ดอกบางทีก็มีสีขาว บางทีก็มีสีชมพู แก่บ้างอ่อนบ้าง แต่ส่วนใหญ่ดอกจะเป็นสีชมพู ก้านดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบรวมมี 5 กลีบ ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร ขยายในผล ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบนอกมี 2-3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ส่วนกลีบในเป็นรูปขอบขนาน ลักษณะของดอกเป็นรูปคล้ายหัวใจเล็ก ๆ ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตรกว่า ๆ ดอกกลุ่มหนึ่ง ๆ ของต้นพวงชมพู อาจจะออกเป็นช่อตั้งหรือห้อยเป็นพวงระย้าก็ได้

ผลพวงชมพู ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน ลักษณะของผลเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร มีกลีบรวมที่ขยายหุ้ม

สรรพคุณของพวงชมพู

รากและเถาใช้เป็นยากล่อมประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ด้วยการใช้เถาประมาณ 1 กำมือ หรือใช้รากประมาณ 1/2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว แล้วต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนนอนครั้งละ 3 ช้อนแกง (ราก, เถา)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สมุนไพรจิงจ้อเหลืองอ่อน

จิงจ้อเหลืองอ่อน

จิงจ้อเหลืองอ่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Merremia bambusetorum Kerr จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)




สมุนไพรจิงจ้อเหลืองอ่อน มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า จิงจ้อเหลือง, จิงจ้อนวล เป็นต้น

ลักษณะของจิงจ้อเหลืองอ่อน

ต้นจิงจ้อเหลืองอ่อน จัดเป็นไม้เถาล้มลุกหรือทอดเลื้อย ลำต้นเกลี้ยง มีเขตการกระจายพันธุ์แคบ ๆ พบที่จีนตอนใต้และเวียดนาม ส่วนในประเทศไทยพบกระจายทั่วทุกภาค ทางภาคใต้จนถึงจังหวัดชุมพร โดยมักขึ้นตามข้างทางหรือตามชายป่า ใกล้แหล่งน้ำหรือลำธาร ที่ระดับความสูงประมาณ 100-800 เมตร
ใบจิงจ้อเหลืองอ่อน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว ปลายมีติ่ง โคนใบเป็นรูปหัวใจ พูกลม หรือเป็นเหลี่ยม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-13 เซนติเมตร แผ่นใบด้านล่างมีขนตามเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 7-9 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร โคนใบมีหูใบเทียมขนาดเล็ก 2 อัน
ดอกจิงจ้อเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีประมาณ 1-4 ดอก ก้านช่อยาวประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร ใบประดับมีขนาดเล็ก ก้านดอกยาวประมาณ 1-1.6 เซนติเมตร ปลายก้านหนา ส่วนกลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีอย่างละ 5 กลีบ โดยกลีบดอกเป็นสีเหลืองครีม รูปแตร ยาวประมาณ 3-4.2 เซนติเมตร ปายกลีบเป็น 5 เหลี่ยมตื้น ๆ ด้านนอกมีขน กลีบเลี้ยงเป็นรูปรี โค้งเว้า ปลายกลมหรือตัด เส้นกลางกลีบสีเข้ม เป็นสัน ปลายเป็นติ่งแหลม ขยายในผล กลีบเลี้ยงมีขนาดเท่ากัน ยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ก้านเกสรเพศผู้จะอยู่ภายในหลอดกลีบ ก้านเกสรเป็นรูปเส้นด้าย มีขนที่จุดติด อับเรณูเรียบ บิดเวียน ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร จานรองฐานดอกเป็นรูปวงแหวน รังไข่เกลี้ยงเป็นรูปกรวย ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยงเป็นรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร ยอดเกสรเป็น 2 พู
ผลจิงจ้อเหลืองอ่อน ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกรวยสีน้ำตาล ยาวประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร มีช่อง 1-4 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดจิงจ้อนวลเป็นรูปสามเหลี่ยมกลม ๆ ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีขนสีเหลืองขึ้นหนาแน่น
ดอกจิงจ้อเหลืองอ่อน

สรรพคุณของจิงจ้อเหลืองอ่อน

ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบจิงจ้อเหลืองอ่อนนำมาทุบผสมกับใบหมากผู้หมากเมีย แล้วคั้นเอามาใช้ทาแผล แก้หนองใน ซิฟิลิส (ใบ)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Monday, May 20, 2019

สมุนไพรจิกทะเล

จิกทะเล

จิกทะเล ชื่อสามัญ Fish Poison Tree, Putat, Sea Poison Tree



จิกทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Barringtonia asiatica (L.) Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Agasta asiatica (L.) Miers, Agasta indica Miers, Barringtonia butonica J.R.Forst. & G.Forst., Barringtonia speciosa J.R.Forst. & G.Forst., Mammea asiatica L., Michelia asiatica (L.) Kuntze) จัดอยู่ในวงศ์จิก (LECYTHIDACEAE หรือ BARRINGTONIACEAE)

สมุนไพรจิกทะเล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จิกเล โดนเล (ภาคใต้), อามุง (มาเล-นราธิวาส) เป็นต้น

ข้อควรรู้ ! : ต้นจิกทะเล เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม

ลักษณะของจิกทะเล

ต้นจิกทะเล จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงได้ประมาณ 7-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกที่เรือนยอดของลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบแตกกิ่งต่ำ ซึ่งเป็นกิ่งที่มีขนาดใหญ่จะมีรอยแผลอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลตาลหรือเทา แตกเป็นร่องตามแนวยาวและมีช่องระบายอากาศด้วย ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ๆ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือแพร่พันธุ์โดยที่ผลลอยไปตามน้ำ มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลางถึงเร็ว ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย ศรีลังกา ไต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคมาเลเซียรวมถึงฟิลิปปินส์ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ไปจนถึงทางภาคเหนือของออสเตรเลีย และในหมู่เกาะโพลีนีเซีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นมากตามป่าชายหาดของฝั่งทะเลและตามเกาะที่ยังไม่ถูกรบกวนทางภาคใต้
ใบจิกทะเล ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบมนเว้า โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-18 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-38 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว เนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมันวาวด้านบน เส้นแขนงใบมีข้างละ 12-14 เส้น นูนทั้งสองด้าน ก้านไม่มีหรือก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร

ดอกจิกทะเล ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามส่วนยอดของลำต้น ตั้งตรง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 7-8 ดอก ช่อดอกยาวประมาณ 2-15 เซนติเมตร แกนช่อหนา ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม เกล็ดหุ้มยอดเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร มีใบประดับเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร ใบประดับย่อยมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ฐานรองดอกเป็นรูปกรวยสั้น ๆ ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงติดกันตาดอก บานแยกออกเป็น 2 ส่วนไม่เท่ากัน ลักษณะเป็นรูปรี ติดทน ยาวได้ประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพูมี 4 กลีบ ติดที่โคนหลอดเกสรเพศผู้ กลีบเป็นรูปรี ปลายกลีบมน ขอบมักม้วนเข้า ยาวประมาณ 4.5-6.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก สีแดง สีชมพู หรือสีม่วง เรียงเป็น 6 วง ยาวได้ประมาณ 9.5 เซนติเมตร วงในเป็นหมัน ยาวประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร โคนก้านเกสรติดกันเป็นหลอด ยาวได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร จานฐานดอกเป็นวง ขอบหยักมน สูงได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 4 ช่อง ในแต่ละช่องมีออวุลประมาณ 2-6 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเป็นรูปแถบ ยาวได้ประมาณ 10-11 เซนติเมตร ยอดเกสรเป็นตุ่มมน ๆ ขนาดเล็ก เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 10-12 เซนติเมตร ดอกจะบานในช่วงเวลากลางคืน และจะโรยในช่วงเวลากลางวัน โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

ผลจิกทะเล ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ลักษณะของผลเป็นรูปพีระมิดสี่เหลี่ยม ตรงโคนผลจะเว้า ผลเป็นสีเขียวและเป็นมัน ผลเมื่อโตจะมีขนาดกว้างประมาณ 8.5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8.5-11 เซนติเมตร ผนังผลเป็นเส้นใยมีกากเหนียวหุ้มหนาคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้คล้ายผลมะพร้าว ส่วนผนังผลด้านในแข็ง ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร (เมล็ดจิกทะเลมี fixed oil ได้แก่ olein, palmitin, glycoside barringtonin 3.27%, baringronin, hydrocyanic acid, saponin)

สรรพคุณของจิกทะเล

ใบ ผล และเปลือก ใช้เป็นยารักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบ, เปลือก, ผล)
เปลือกผลหรือเนื้อของผล เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งที่ช่วยให้คนที่นอนไม่หลับนอนหลับได้ ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ๆ จะทำให้นอนหลับสบาย (เปลือกผล, เนื้อผล)
เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิออกจากร่างกาย (เมล็ด)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Saturday, May 18, 2019

สมุนไพรจิกนม

จิกนม

จิกนม ชื่อวิทยาศาสตร์ Barringtonia macrostachya (Jack) Kurz จัดอยู่ในวงศ์จิก (LECYTHIDACEAE หรือ BARRINGTONIACEAE)



จิกนม ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Baranda angatensis Llanos, Barringtonia acuminata Korth., Barringtonia annamica Gagnep., Barringtonia balabacensis Merr., Barringtonia cochinchinensis (Blume) Merr. ex Gagnep., Barringtonia craibiana R.Knuth, Barringtonia cylindrostachya Griff., Barringtonia fusicarpa Hu, Barringtonia isabelaensis R.Knuth, Barringtonia moluccana R.Knuth, Barringtonia olivacea R.Knuth, Barringtonia pendens R.Knuth, Barringtonia rosea Wall. ex R.Knuth, Barringtonia wallichiana R.Knuth, Careya macrostachya Jack, Doxomma acuminatum (Korth.) Miers, Doxomma cochinchinense (Blume) Miers, Doxomma cylindrostachyum (Griff.) Miers, Doxomma macrostachyum (Jack) Miers, Michelia acuminata (Korth.) Kuntze, Michelia macrostachya (Jack) Kuntze, Stravadium acuminatum (Korth.) Blume, Stravadium cochinchinense Blume

สมุนไพรจิกนม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า นมยาน (หนองคาย), จิกนุ่ม (นครศรีธรรมราช), จิก (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของจิกนม

ต้นจิกนม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 4-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย
ใบจิกนม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบมีจักเล็ก ๆ ทั่วทั้งใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 นิ้ว และยาวประมาณ 6-9 นิ้ว เนื้อใบบางคล้ายกระดาษสีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 1-3 นิ้ว
ดอกจิกนม ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ช่อยาวประมาณ 9-18 นิ้ว ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเป็นจำนวนมาก ดอกเป็นสีแดง สีชมพูเข้ม หรือสีเขียวขอบแดง มีอยู่ 4 กลีบ ส่วนกลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มี 4 กลีบ เป็นสีแดง แดงเข้ม หรือสีม่วง ตรงฐานดอกจะมีร่องลึกเป็นวงอยู่ ดอกมีเกสรเป็นจำนวนมากอยู่ในดอก
ผลจิกนม ลักษณะของผลเป็นรูปมนรีและมีสัน 4 สันตามแนวยาว ผลเป็นสีเขียว มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2-3.5 นิ้ว ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่

สรรพคุณของจิกนม

รากนำมาล้างให้สะอาด แล้วตากให้แห้ง นำมาบดให้เป็นผงใช้ทาแก้ขี้กลาก (ราก)
ผงจากรากใช้เป็นยาแก้ตาเจ็บ (ราก)
ใบนำไปตากให้แห้ง แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคแก้ปวดท้อง (ใบ)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สมุนไพรตาเป็ดตาไก่

ตาเป็ดตาไก่

ตาเป็ดตาไก่ ชื่อสามัญ Christmas berry, Australian holly, Coral ardisia, Coral bush, Coralberry, Coralberry tree, Hen's-eyes, Hilo Holly, Spiceberry



ตาเป็ดตาไก่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia crenata Sims จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)

สมุนไพรตาเป็ดตาไก่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้างปลาดง ตับปลา ลังกาสา (เชียงใหม่), จ้ำเครือ (ลำปาง), ลังกาสาขาว (ตราด), ตีนจำโคก (เลย), ประดงนกกด (สุราษฎร์ธานี), ตาเป็ดหิน (ชุมพร), มาตาอาแย (มลายู-ยะลา), ตาไก่ใบกว้าง (ทั่วไป), มหาเฮง (ชื่อทางการค้า), ตีนเป็ด, ตาเป็ดเขา, ตุ้มลงเดี๋ยง เป็นต้น

ลักษณะของตาเป็ดตาไก่

ต้นตาเป็ดตาไก่ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร พบขึ้นตามพื้นที่ป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำดี

ใบตาเป็ดตาไก่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบหยักมนและมีต่อม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบเป็นสีเขียวสด เมื่อใบดกจะเป็นพุ่มน่าชมยิ่งนัก

ดอกตาเป็ดตาไก่ ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม โดยจะออกที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเป็นรูประฆัง ดอกเป็นสีชมพูแกมขาว หรือสีม่วงแกมชมพู ผิวมีต่อมกระจาย ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 4-5 อัน ติดที่หลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ

ผลตาเป็ดตาไก่ ผลเป็นผลสด ผลมีลักษณะกลม เมื่อสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวแข็ง
ตาไก่ใบกว้าง


สรรพคุณของตาเป็ดตาไก่

ตำรายาพื้นบ้านจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยเจริญอาหาร (ราก)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรจำพวกประดงรวม 9 ชนิด แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคประดง (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาแก้ปากเปื่อย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ขูดเปลือกใช้ห่อใบพลูย่างไฟอบไข้ (เปลือก)
ใบใช้ต้มกับน้ำอาบแก้ผื่น ตุ่มตามผิวหนัง (ใบ)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Friday, May 17, 2019

สมุนไพรจมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด ชื่อสามัญ Rosy Milkweed



จมูกปลาหลด ชื่อวิทยาศาสตร์ Sarcostemma secamone (L.) Bennett (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Periploca secamone L.) ส่วนอีกข้อมูลจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxystelma esculentum (L. f.) Sm.(ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Oxystelma esculentum (L. f.) R. Br. ex Schult., Periploca esculenta L. f., Sarcostemma esculentum (L. f.) R.W. Holm) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)

สมุนไพรจมูกปลาหลด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักไหม (เชียงใหม่), เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม), จมูกปลาไหลดง (เพชรบูรณ์), ตะมูกปลาไหล (นครราชสีมา), ผักจมูกปลาหลด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สอึก สะอึก (ภาคกลาง), กระพังโหม (ราชบัณฑิต) เป็นต้น

ลักษณะของจมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

ใบจมูกปลาหลด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวแคบหรือเป็นรูปดาบเรียวแคบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เนื้อใบบางเรียบ แผ่นใบเป็นสีเขียว เส้นใบโค้งจรดกันใกล้ ๆ ขอบใบ ก้านใบสั้นและเล็ก ยาวได้ประมาณ 0.5-1.3 เซนติเมตร

ดอกจมูกปลาหลด ออกดอกเดี่ยวหรือบางทีออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ช่อละประมาณ 2-3 ดอก บางครั้งช่อใหญ่อาจมีดอกถึง 6-9 ดอก ดอกหนึ่งมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ปลายกลีบแหลม ส่วนกลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ดูคล้ายรูปดาว กลีบดอกมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ริมขอบกลีบดอกมีขน ด้านนอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมชมพู ส่วนด้านในเป็นสีชมพูมีลายเส้นสีม่วงเข้มและจุดประสีน้ำตาลอยู่ตอนโคนกลีบที่ติดกัน ตรงกลางดอกมีเกสรเพศผู้มีอับเรณูติดกันเป็นคู่จำนวน 5 คู่ ฝังอยู่ ปลายเส้าเกสรเป็นรูปห้าเหลี่ยมหุ้มเกสรเพศเมีย รังไข่มี 2 ส่วน ปลายติดกัน เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายรูปจานและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 1-2 เซนติเมตร เวลาดอกดกและดอกบานพร้อมกันจะดูสวยงามมาก

ผลจมูกปลาหลด ผลมีลักษณะเป็นฝัก ปลายฝักแหลมโค้งเรียว โคนฝักกว้าง เปลือกนิ่ม ภายในพองลม ผลโตมีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกด้านเดียวและจะเห็นเมล็ดติดอยู่กับไส้กลางผลเป็นจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่สีน้ำตาล ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ที่ปลายของเมล็ดมีขนสีขาวติดอยู่เป็นกระจุก กระจุกขนยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ช่วยทำให้สามารถลอยไปตามลมเพื่อกระจายพันธุ์ไปได้ไกล ๆ

สรรพคุณของจมูกปลาหลด

ทุกส่วนของต้นจมูกปลาหลดเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง (ทั้งต้น)
ทั้งเถามีรสขมเย็น เด็ดเอามาต้มกับน้ำ ใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ (เถา)
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบบริเวณปากและคอ (ทั้งต้น)
รากมีรสขมเย็น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง (ราก)
ใบและเถามีรสขม กลิ่นเหม็นเขียว ใช้คั้นเอาน้ำดื่มช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาแก้ไข้ (ใบและเถา)
ใช้เป็นยาแก้ไข้รากสาด (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ในเด็ก (ใบและเถา)
ใช้เป็นยาแก้บิด (ทั้งต้น)
ใช้แก้ประจำเดือนผิดปกติ (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยารักษาบาดแผล รักษาแผลสด (ใบและเถา, ทั้งต้น)
น้ำยางจากต้นเป็นยางที่มีสารบางอย่าง มีรสขมเย็น สามารถนำมาใช้ชำระล้างแผลที่เป็นหนองได้ (น้ำยางจากต้น)
ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาขับน้ำนม (ทั้งต้น)
ต้นใช้ปรุงเข้ายาเขียวน้ำมูตร ยาเขียวมหาคงคา ยามหากะเพราและยาขนานต่าง ๆ อีกมาก (ต้น)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, May 16, 2019

สมุนไพรงัวเลีย

งัวเลีย

งัวเลีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Capparis flavicans Kurz จัดอยู่ในวงศ์กุ่ม (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE)


สมุนไพรงัวเลีย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า วัวเลีย (อุบลราชธานี), งวงช้าง (อุดรธานี), งัวเลีย (ขอนแก่น), หนามนมวัว โกโรโกโส หนามเกาะไก่ (นครราชสีมา), ทะลุ่มอิด ตะลุ่มอิฐ (นครสวรรค์), ก่อทิง ก่อทิ้ง (ชัยภูมิ), ไก่ให้ ไก่ไห้ (พิษณุโลก), กระโปรงแจง กะโปงแจง (สุโขทัย), กะอิด (ราชบุรี), ตะครอง (นครศรีธรรมราช), ค้อนก้อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กระจิก (ภาคกลาง) เป็นต้น


ลักษณะของงัวเลีย

ต้นงัวเลีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2-10 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ แผ่กว้างและแตกกิ่งต่ำ แตกกิ่งก้านสาขาเรียวเล็ก เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องลึกและบางตามยาวของลำต้น ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมตรงหรือโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร และมีขนรูปดาวสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมอยู่ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นอยู่ในดินทรายหรือดินหินในระดับต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในพม่าตอนกลางตลอดลงมาถึงตอนใต้ของภูมิภาคอินโดจีน ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายพันธุ์ในจังหวัดลำปาง ตาก นครสวรรค์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และสระบุก โดยมักขึ้นตามป่าดงดิบ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 40-350 เมตร
ใบงัวเลีย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปรี หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบมนหรือบางครั้งเว้าบุ๋ม เป็นติ่งเล็กสั้นหรือเว้าตื้น โคนใบมน รูปลิ่ม หรือสอบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนาและนุ่ม ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีนวลสีขาวปกคลุม เส้นแขนงใบมีข้างละ 3-5 เส้น คู่แรกมักออกใกล้โคนใบ ก้านใบยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
ดอกงัวเลีย ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบของกิ่งอ่อน ดอกเป็นสีเหลืองหรือเหลืองปนเขียว กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 8-9 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ขนาดกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านนอกจะมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นหนาแน่น กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 6-12 อัน เป็นสีค่อนข้างเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว ก้านชูเกสรเพศเมียโค้ง ยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร รังไข่เป็นรูปรีหรือรูปไข่ ทั้งก้านชูเกสรเพศเมียและรังไข่มีขนหนาแน่น ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
ผลงัวเลีย ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด ลักษณะของผลเป็นรูปมน มนรีเล็กน้อย หรือรูปกลม เปลือกผลหนาและขรุขระเป็นตะปุ่มตะป่ำ มีสันนูน 4 สัน ปลายผลเป็นติ่งแหลม มีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วผล ผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดหรือสีส้มแดง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดซึ่งมีเนื้อสีเหลืองหุ้มอยู่ เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีขนาดประมาณ 3-7 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร เป็นผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม


สรรพคุณของงัวเลีย

ใช้เนื้อไม้ โดยการแกะเอาเนื้อไม้ดิบหรือตากแห้งก็ได้ นำมาบดให้เป็นผงทำให้เป็นควันใช้สูดแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (เนื้อไม้)
ใบใช้รับประทานเป็นยาขับน้ำนมของสตรี มีประโยชน์สำหรับหญิงที่คลอดบุตรแต่มีน้ำนมไม่มากหรือมีความต้องการที่จะขับน้ำนมออก (ใบ)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Wednesday, May 15, 2019

สมุนไพรฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน ชื่อวิทยาศาสตร์ Kalanchoe laciniata (L.) DC. จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบหิน (CRASSULACEAE)



สมุนไพรฆ้องสามย่าน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เถาไฟ ฮอมแฮม (แม่ฮ่องสอน), คะซีคู่ซัวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ส้นเส้า, มือตะเข้, ทองสามย่าน, ใบทาจีนเป็นต้น


ลักษณะของฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป กลิ่นของพรรณไม้ชนิดนี้สด ๆ จะมีกลิ่นคล้ายการบูรกับผิวส้ม

ใบฆ้องสามย่าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบมีหลายรูปร่าง ใบบริเวณกลางลำต้นจะเว้าเป็นแฉกลึกแบบขนนกชั้นเดียวหรือสองชั้น ดูคล้ายใบประกอบ แต่ละแฉกจะมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ตรงปลายแหลม ขอบจักเป็นฟันเลื่อยแกมซี่ฟันหยาบ ๆ มีสีเขียวและมีไขเคลือบ ใบมีที่เล็กกว่าขอบใบมักจะเรียบหรือเกือบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และแบน ค่อนข้างจะโอบลำต้นไว้ ส่วนใบบริเวณโคนต้นจะไม่เว้าหรือเว้าเป็นแฉกตื้น ๆ หรือเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ตรงขอบเป็นจักซี่ฟันแกมเป็นคลื่นและไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบสั้น ใบทั้งสองแบบจะเป็นสีเขียวอ่อนและอาจมีสีม่วงแซม


ดอกฆ้องสามย่าน ออกดอกเป็นช่อชูขึ้นบริเวณปลายกิ่ง มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก มีใบประดับแคบและเล็ก ส่วนกลีบรองกลีบดอกเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม ตั้งตรง ตรงโคนเชื่อมติดกัน ส่วนตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนกลีบดอกเป็นรูปทรงแจกัน ส่วนโคนนั้นจะพองออกสังเกตเห็นได้ชัด จะมีสีเขียว ส่วนบนจะมีสีเหลือง ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ซึ่งจะมีอยู่ 4 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน โผล่พ้นกลีบดอกออกมาเล็กน้อย ส่วนท่อเกสรเพศเมียเกลี้ยงและยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปหอก ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวเกลี้ยงและเป็นสีเขียว

ผลฆ้องสามย่าน ผลเป็นผลแห้ง ออกผลเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน แตกตามตะเข็บเดียว

สรรพคุณของฆ้องสามย่าน

ใบฆ้องสามย่านใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงร่างกาย (ใบ)
ใบใช้ผสมกับดีปลี จันทน์ทั้งสอง ใบน้ำเต้า ดอกบัวหลวงขาว ละลายน้ำดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกแคแดง น้ำตำลึง เป็นยาแก้ไข้เพื่อลม ไข้เพื่อโลหิต ไข้เพื่อเสมหะ และทำให้ตัวเย็น (ใบ)
ตำรายาไทยใช้ใบเป็นยาเย็นดับพิษร้อน แก้ร้อนใน (ใบ)
ใบนำมาตากแดดให้แห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ทาลิ้นเด็กอ่อนเป็นยาแก้ละอองซางได้ชะงัด (ใบ)
ใบใช้ตำพอกหน้าอกรักษาอาการไอและเจ็บหน้าอก (ใบ)
ใบใช้รับประทานเป็นยาแก้บิด รักษาอาการท้องร่วง (ใบ)
ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ใบ)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบนำมาตำพอกรักษาบาดแผลมีดบาด น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาห้ามเลือดในแผลสดได้ดี (ใบ)
ใบใช้เป็นยาพอกบาดแผล บรรเทาอาการระคายเคืองและทำให้แผลหายได้โดยมีเนื้องอกมาปิดแทน เป็นยาสมานและฆ่าเชื้อบาดแผล (ใบ)
ใบใช้ตำพอกกันแผลฟกช้ำ แผลไหม้ แผลเรื้อรัง แผลฝีมีหนอง (ใบ)
ใบใช้ตำพอกฝีทำให้เย็นเป็นยาถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน รักษาอาการเจ็บปวด แก้พิษอักเสบปวดบวม พิษตะขาบ แมงป่องต่อย (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้งูพิษกัด ด้วยการใช้ใบสด 5 กรัม ผสมกับต้นสดฟ้าทะลายโจร 15 กรัม (Andrographis paniculate Nees) เอาไปตำชงด้วยเหล้าที่หมักจากข้าว ใช้กินครั้งเดียวหมด (ใบ)
ใบนำมาคั้นเอาน้ำมาผสมปรุงกับน้ำมันมะพร้าว ใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาโรคอวัยวะโตที่เรียกกันว่าโรคเท้าช้างให้ทุเลาหรือชะงักได้ (ใบ)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Monday, May 13, 2019

สมุนไพรโคลงเคลงขน

โคลงเคลงขน

โคลงเคลงขน ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmoscelis villosa (Aubl.) Naudin (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Melastoma villosum Aubl.) จัดอยู่ในวงศ์โคลงเคลง (MELASTOMATACEAE)



สมุนไพรโคลงเคลงขน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ม่ายะ (ตราด), เอ็นอ้า (อุบลราชธานี), พญารากขาว (ภาคกลาง), กะเร มะเร สาเหร่ เหมร เบร้ (ภาคใต้), โคลงเคลง เป็นต้น

ลักษณะของโคลงเคลงขน

ต้นโคลงเคลงขน จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งมาก ทรงพุ่มแน่นทึบ เปลือกลำต้นบางเรียบ ยอดอ่อนและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนยาวขึ้นหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปบริเวณป่าชายเลนที่เป็นที่ดอนหรือในบริเวณป่าชายเลนที่ถูกทำลาย
ใบโคลงเคลงขน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปวงรีแกมใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-2.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน เมื่อจับแผ่นใบจะรู้สึกสากมือ ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มมีขนบาง ๆ ส่วนท้องใบสีซีด เส้นใบมี 3 หรือ 5 เส้น แตกออกจากโคนใบไปจรดปลายใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.4-0.8 เซนติเมตร มีขนปกคลุม
ดอกโคลงเคลงขน ออกดอกเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนาดใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกย่อยประมาณ 3-6 ดอก ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร สีม่วงแดงและมีขนปุยขึ้นปกคลุม กลีบดอกมีขนาดใหญ่ 5 กลีบ แต่ละกลีบจะไม่ติดกัน กลีบเป็นสีชมพูหรือสีม่วงอมชมพูจนถึงสีม่วงแดงเข้ม ขนาดประมาณ 1.5-2.3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน แบ่งเป็นขนาดใหญ่ 5 อัน มีก้านสีเหลืองและสีม่วง ส่วนบนโค้ง และขนาดเล็ก 5 อัน สีเหลืองและเหยียดตรง
ผลโคลงเคลงขน ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผิวมีขน เนื้อในผลเป็นสีแดงม่วง ผลเมื่อแก่จะแตกออกตามขวางอย่างไม่เป็นระเบียบ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ออกดอกและผลในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของโคลงเคลงขน

รากมีรสขม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร (ราก)
ดอกใช้เป็นยาระงับประสาท (ดอก)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ต้นและรากโคลงเคลงขน นำมาต้มกับข้าวสารเจ้า ใช้กินครั้งเดียวในวันเดือนดับ (วันข้างแรม) แก้คอพอก (ต้นและราก)
รากใช้เป็นยาดับพิษไข้ แก้ไข้ทุกชนิด (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
รากโคลงเคลงขน ใช้ผสมกับรากตับเต่าต้น และหญ้าชันกาดทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือดและถ่ายเป็นเลือด (ราก)
ดอกใช้เป็นยาห้ามเลือดในคนที่เป็นริดสีดวงทวาร (ดอก)
รากใช้เป็นยาบำรุงตับ ไตและดี (ราก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Sunday, May 12, 2019

สมุนไพรโคโรค

โคโรค

โคโรค ชื่อสามัญ Ox-gallstone



โค ชื่อวิทยาศาสตร์ Bos taurus domesticus Gmelin จัดอยู่ในวงศ์วัวและควาย (BOVIDAE)

สมุนไพรโคโรค มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หนิวหวง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโคโรค

โคโรค หรือ นิ่วในถุงน้ำดีวัว ซึ่งมักจะเกิดกับวัวที่มีอายุมากกว่า 10 ปี เมื่อเป็นนิ่วในถุงน้ำดี วัวจะมีรูปร่างผอม กินอาหารได้น้อย ดื่มน้ำมาก เดินไม่ค่อยมีแรง ผู้ที่มีความชำนาญจะสังเกตเห็นนิ่วในถุงน้ำดีมีรูปร่างและขนาดที่ต่างกันออกไป ซึ่งเราจะเรียกนิ่วในถุงน้ำดีของวัวนี้ว่า "โคโรค" ซึ่งโคโรคนี้เป็นสิ่งที่มีค่าและมีราคาแพงมาก (แพงกว่าตัววัว) และเนื่องจากโคโรคจากธรรมชาตินั้นมีน้อยและหาได้ยากยิ่ง เพื่อที่จะทดแทนโคโรคจากธรรมชาตินี้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้นำเอาน้ำดีจากวัว แพะ และหมู มาทำเป็นโคโรคเทียมแทน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับโคโรคธรรมชาติแล้วสรรพคุณก็ต่างกันมาก แต่ก็ยังสามารถใช้แทนกันได้อยู่ โดยใช้ในปริมาณที่มาก และนักวิทยาศาสตร์จีนก็ได้ทดลองวิจัยทำโคโรคในตัววัวได้สำเร็จ โดยใส่สารชนิดหนึ่งเข้าไปในถุงน้ำดีแล้วกระตุ้นให้น้ำดีหลั่งออกมามาก และจับบนผิวของสารที่เข้าไปนั้น หลังจากนั้น 1 ปีผ่านไปจึงค่อยผ่าเอานิ่วนั้นออกมา

โคโรค คือ หินนิ่วของสัตว์วัตถุ ซึ่งได้มาจากก้อนนิ่วที่เกิดอยู่ในถุงน้ำดีหรือตับของวัวหรือกระบือ บางครั้งวัวที่เป็นโรคไอก็จะมีเม็ดโคโรคนี้หลุดออกมา โดยเม็ดโคโรคนี้จะมีลักษณะรูปร่างที่ไม่แน่นอน มีทั้งรูปกลม รูปเหลี่ยม และรูปสี่เหลี่ยม แต่จะมีขนาดเล็ก มีขนาดเฉลี่ยของเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-3 เซนติเมตร ผิวเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้ม ผิวหยาบมีรอยย่น บางส่วนจะมันเงา เกลี้ยง เนื้อกรอบแตกง่าย ถ้าตัดตามขวางจะพบว่าเนื้อในเป็นสีน้ำตาลเหลืองและเป็นชั้น ๆ เรียงกัน

สรรพคุณของโคโรค

ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
หินนิ่วหรือโคโรคมีรสขมชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาสงบจิต แก้อาการตกใจง่าย
ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้สูง ตัวร้อน ไข้หมดสติ และมีอาการเพ้อหรือพูดจาเพ้อเจ้อ ล้มบ้าหมู เด็กไข้สูงและมีอาการชัก หรือไข้ชักในเด็ก
ใช้เป็นยาหยอดตารักษาตาเจ็บ ตาฟาง ตาแฉะ
ใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษาน้ำลายและเสมหะเหนียว แก้น้ำลายเหนียวติดลำคอ และใช้กินเป็นยารักษาเสมหะแห้ง
ใช้เป็นยาแก้คออักเสบ แก้คอบวม คอเจ็บ รักษาลิ้นแสบปากเป็นแผล
ใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบ ดีซ่าน
ใช้รักษาฝีภายในและภายนอก
ใช้รักษาอาการบวมตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และมีการเปลี่ยนที่ไปมา (โรคนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่เกิดเป็นไข้หวัดใหญ่เรื้อรัง)
ตำรับยาแก้ไข้ตัวร้อน และมีอาการเพ้อ ระบุให้ใช้โคโรค 0.75 กรัม, ชาดจอแส 5 กรัม , อุกกิม 6 กรัม, อึ้งงิ้ม 10 กรัม, กีกี้ 10 กรัม และอึ้งเน้ย 15 กรัม นำมาบดให้เป็นผงทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเม็ดละ 15 กรัม ใช้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง
ตำรับยาขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ลมชักในเด็ก ระบุให้ใช้โคโรค 0.35 กรัม, ชาดจอแส 0.2 กรัม, ยาแปะคังวู้ 0.5 กรัม นำมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำรับประทาน
ตำรับยาแก้เจ็บคอ ลิ้นเป็นแผล ระบุให้ใช้โคโรค, ดินประสิว, ชะเอม, กีจี้, เซ็งมั๊ว อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง ใช้เป็นยาเป่าคอหรือใช้เป็นยาป้ายลิ้น
ขนาดและวิธีใช้ : ให้ใช้ครั้งละ 0.2-0.4 กรัม นำมาบดให้เป็นผงชงรับประทาน หรือใช้เข้ากับตำรายาผงทำเป็นยาลูกกลอนรับประทาน ส่วนการนำมาใช้ภายนอกให้ใช้ผงที่บดได้นำมาทาหรือโรยแผล


ข้อควรระวัง : สตรีมีครรภ์และผู้ที่มีอาการกระเพาะอาหารม้ามเย็นพร่อง คือ มีอาการท้องอืดแน่น อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก รู้สึกเย็นท้อง หรือผู้ที่ไม่มีอาการร้อน เช่น เจ็บคอ คอแห้ง ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้


ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Friday, May 10, 2019

สมุนไพรโคคา

โคคา

โคคา ชื่อสามัญ Coca, Huanace Coca, Truxillo Coca



โคคา ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythroxylum coca Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Erythroxylum truxillense Rusby) จัดอยู่ในวงศ์โคคา (ERYTHROXYLACEAE)

สมุนไพรโคคา มีชื่อเรียกอื่น ๆ โกโก้ โคโค่ โคค่า (ไทย) เป็นต้น

ลักษณะของโคคา

ต้นโคคา จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม สูงได้ประมาณ 3-5 เมตร มีรากหยั่งลึก กิ่งเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเปรู บราซิล ชิลี เอกวาดอร์ โคลัมเบีย และโบลิเวีย

ใบโคคา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเว้าตื้น ปลายมักมีติ่งแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ใบมีขนาดยาวประมาณ 2.5-11 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียว แผ่นใบมีเส้นผ่านเส้นร่างแหข้างละ 1 เส้นของเส้นกลางใบจากโคนจรดปลายใบ เห็นชัดเจนด้านล่างของแผ่นใบ ก้านใบยาวประมาณ 3-6 มิลลิเมตร

ดอกโคคา ออกดอกเป็นช่อรวมกันเป็นกระจุกตามซอกใบ ก้านดอกขยายในผล ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองนวล มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบมีขนาดเล็ก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกันเป็นเส้าเกสร สั้นกว่ากลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณูมีอันยาว 5 อัน และอันสั้น 5 อัน ส่วนเกสรเพศเมียมี 3 อัน ก้านเชื่อมติดกัน ยาวกว่าหรือสั้นกว่าเกสรเพศผู้

ผลโคคา ผลเป็นผลสด มีผนังชั้นในแข็ง ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร มีเกสรเพศเมียติดทน ผลเป็นสีเหลืองอมเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลนั้นมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด
รูปโคคา

สรรพคุณของโคคา

ชาวพื้นเมืองของเปรู โบลิเวีย และชาวพื้นเมืองของทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอาร์เจนตินาจะใช้ใบโคคาสด ๆ นำมาเคี้ยว ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท และใช้เป็นยาบำรุง (ใบ)
โคคาถือว่าเป็นพืชมีพิษ เนื่องจากใบมีสาร crystalline tropane alkaloid (benzoylmethylecgonine) ซึ่งเป็นหนึ่งในประมาณ 12 สารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากใบ มีฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทและระงับความต้องการของร่างกาย หรือเรียกว่า โคเคน (cocaine) ทำให้ผู้ได้รับสารชนิดนี้รู้สึกมีความสุขและมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้น ๆ โดยถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ของประเทศไทย ผู้ที่เสพจะมีอาการหัวใจเต้นแรง นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ซึมเศร้า และมีโทษทำให้เกิดอาการชักและมีเลือดออกในสมอง ทำให้เป็นอัมพาต หัวใจล้มเหลว และทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้า ในทางการแพทย์จึงใช้คุณสมบัตินี้เป็นยาชาเฉพาะที่ (ใบ)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, May 9, 2019

สมุนไพรโคกกระสุน

โคกกระสุน

โคกกระสุน ชื่อสามัญ Bindii, Bullhead, Burra gokharu, Caltrop, Caltrops, Cat's head, Devil's eyelashes, Devil's thorn, Devil's weed, Goathead, Ground bur-nut, Small caltrops, Puncture vine, Puncturevine, Puncture weed, Tackweed



โคกกระสุน ชื่อวิทยาศาสตร์ Tribulus terrestris L. จัดอยู่ในวงศ์โคกกระสุน (ZYGOPHYLLACEAE)

สมุนไพรโคกกระสุน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หนามกระสุน (ลำปาง), หนามดิน (ตาก), กาบินหนี (บางภาคเรียก), โคกกะสุน (ไทย), ชื่อจี๋ลี่ (จีนกลาง), ไป๋จี๋ลี่ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโคกกระสุน
ต้นโคกกระสุน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ถึง 160 เซนติเมตร เป็นพืชจำพวกหญ้าที่มีอายุได้ประมาณ 1 ปี แตกกิ่งก้านแผ่ออกโดยรอบปกคลุมไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดและดอกตั้งขึ้นมา มีขนตามลำต้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วโดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ดีในดินทรายที่ค่อนข้างแห้ง มีการระบายน้ำดี เจริญงอกงามได้ดีในช่วงฤดูฝน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามทางรถไฟ ตามที่รกร้าง ตามสวนผลไม้ ทุ่งหญ้า ท้องนา และริมทางสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางของประเทศ

ใบโคกกระสุน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกขนาดเล็ก มีใบย่อยประมาณ 4-8 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 6-15 มิลลิเมตร ออกตามลำต้นและตามข้อ ออกเรียงแบบสลับตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน มีหูใบเป็นรูปใบหอก

ดอกโคกกระสุน ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบหรือตามข้อของลำต้น ดอกเป็นสีเหลืองสด มีกลีบรองดอก 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปไข่ปลายหอก มีสีเหลือง ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เมื่อดอกบานจะมีขนาดกว้างประมาณ 0.7-2 เซนติเมตร

ผลโคกกระสุน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกผลแข็งเป็นรูป 5 เหลี่ยม มีหนามแหลมใหญ่ 1 คู่ และมีหนามแหลมเล็ก ๆ ทั่วไป ผลจะแบ่งออกเป็น 5 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-3 เมล็ด ผลพอแห้งจะแตกออกได้

สรรพคุณของโคกกระสุน
เมล็ดตากแห้งใช้ทำเป็นยาลูกกลอนกินบำรุงร่างกาย เชื่อว่าจะทำให้รู้สึกเป็นหนุ่มขึ้น มีกำลังวังชา หายเหนื่อยล้า และสำหรับผู้ที่อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง โดยใช้โคกกระสุน กำลังวัวเถลิง กำลังเสือโคร่ง และเครือเขาแกบมาต้มกิน (เมล็ด)
ทั้งต้นและผลมีรสขมเผ็ด เป็นยารสสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ใช้เป็นยาแก้อาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะ แก้ปวดศีรษะ (ทั้งต้น)
ผลใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง แก้ตาแดง น้ำตาไหลมาก ด้วยการใช้ผลโคกกระสุน 15 กรัม, เก๊กฮวย 20 กรัม, ชุมเห็ดเทศ 30 กรัม และชะเอม 6 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ผลแห้งเพียงอย่างเดียวก็ได้ โดยนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาลดความดันโลหิต (ผล)
ทั้งต้นมีรสเค็มขื่นเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดู (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ หลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
ช่วยทำให้ตาสว่าง (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบในช่องปาก (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ด้วยการใช้รากนำมาฝนกับน้ำ แล้วนำมาถูกับฟันที่มีอาการปวด (ราก)
เมล็ดใช้เป็นยาแก้ผอมแห้ง (เมล็ด) ทั้งต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวดหรือกะปริดกะปรอย หรือขุ่นข้น ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มหรือมีเลือด)ส่วนตำรับยาแก้ปัสสาวะขัดอีกตำรับจะใช้โคกกระสุนทั้งต้นนำมาผสมกับหญ้าแพรกทั้งต้น อ้อยดำทั้งต้น และแห้วหมูทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วน เอา 1 ส่วน ใช้กินครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา (ทั้งต้น)นอกจากนี้ ผลก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้นิ่วได้ด้วยเช่นกัน (ผล)
ใช้เป็นยาขับระดูขาวของสตรี (ผลแห้ง, ทั้งต้น)
ผลแห้งใช้ต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยทำให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น (ผลแห้ง)
ใช้เป็นยารักษาหนองใน (ผลแห้ง, ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาระงับน้ำกามเคลื่อน (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ช่วยกระตุ้นกำหนัด ส่งเสริมระบบสืบพันธุ์ ช่วยบำรุงน้ำอสุจิของเพศชาย ด้วยการใช้เมล็ดแก่นำมาตากให้แห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้กินครั้งละประมาณ 1 ช้อนชา โดยกินกับน้ำผึ้งวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น (เมล็ด)
ผลแห้งใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงตับ ไต กระดูก และสายตา (ผลแห้ง) หรือจะใช้ทั้งต้นจำนวน 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว แล้วต้มให้เหลือ 1 แก้ว กรองเอาแต่น้ำยามาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็นก็ได้เป็นยาบำรุงไต (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยากระจายลมในตับ กล่อมตับ (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยารักษาโรคไตพิการ หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ และมักจะมีอาการท้องอืด กินอาหารไม่ได้ (ทั้งต้น)
ผลใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล)
ใช้เป็นยาขับลมในใต้ผิวหนัง แก้คันตามตัว แก้ผดผื่นคัน และลมพิษ (ทั้งต้น)
ตำรับยาแก้ผดผื่นคัน ระบุให้ใช้ต้นแห้ง 100-120 กรัม, เมล็ดปอ 60 กรัม, ดอกสายน้ำผึ้ง 40 กรัม และคราบจักจั่น 30 กรัม นำมาบดให้เป็นผงทำเป็นยาลูกกลอนรับประทาน (ต้น)
ใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลียเรื้อรัง ด้วยการใช้โคกกระสุนทั้งต้น 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว จนเหลือ 1 แก้ว แล้วกรองเอาแต่น้ำยามาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น (ทั้งต้น)
ผลแห้งใช้ต้มกับน้ำเป็นยาช่วยป้องกันอาการชักบางประเภทได้ (ผลแห้ง)
นอกจากนี้โคกกระสุนยังจัดอยู่ในตำรับยาแก้กษัยอีกด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม  ยาแห้งให้ใช้ครั้งละประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มรับประทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา หรือใช้ทำเป็นยาเม็ดหรือยาผงรับประทานก็ได้ ส่วนต้นสดให้ใช้ประมาณ 10-20 กรัม แต่หากนำมาใช้ภายนอกให้ใช้ต้นสดตำพอกบริเวณที่เป็น

ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีเลือดน้อย เป็นโลหิตจาง มีพลังหย่อน สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ และควรระวังในการใช้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากสารสกัดได้มีโพแทสเซียมสูง ทำให้หัวใจเต้นเร็วและอาจทำให้หัวใจวายได้

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com