คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Sunday, March 31, 2019

สมุนไพรกระดึงช้างเผือก

กระดึงช้างเผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes tricuspidata Lour. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)


 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้กาลาย มะตูมกา (นครราชสีมา), ขี้กาแดง (ราชบุรี), กระดึงช้าง กระดึงช้างเผือก (ประจวบคีรีขันธ์), ขี้กาขม (พังงา), ขี้กาใหญ่ (สุราษฎร์ธานี), มะตูมกา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้กา (ภาคกลาง), กระดึงช้าง (ภาคใต้), เถาขี้กา เป็นต้น

ลักษณะของกระดึงช้างเผือก
ต้นกระดึงช้างเผือก จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยไปตามผิวดินขนาดใหญ่ เถามีลักษณะเป็นเหลี่ยมสีเขียวเข้มและมีขนสีขาวสั้น ๆ สากมือ แต่ขนจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปจนเกือบเกลี้ยง และมีมือสำหรับยึดเกาะแยกเป็น 2-3 แขนง พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ในต่างประเทศพบได้ที่จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า และในภูมิภาคอินโดจีน

ใบกระดึงช้างเผือก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแบบห่าง ๆ ลักษณะของใบมีรูปร่างแตกต่างกัน มีตั้งแต่รูปไข่กว้าง รูปเกือบกลม ไปจนถึงเป็นรูปทรง 5 เหลี่ยม โคนใบเว้าเข้าคล้ายรูปหัวใจกว้าง ๆ ส่วนขอบใบหยักและเว้าลึก 3-7 แห่ง ทำให้ใบมีลักษณะเป็นแฉก 3-7 แฉก โดยแฉกกลางจะยาวที่สุด ใบมีขนาดกว้างและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีเส้นใบออกจากโคนใบประมาณ 3-7 เส้น ปลายเส้นใบยื่นพันขอบใบออกไปคล้ายหนามสั้น ๆ หลังใบเห็นเป็นร่องของเส้นแขนงใบชัดเจน ผิวใบด้านบนสากมือ ด้านล่างมีขนสีออกขาว ก้านใบมีขนหรือเกือบเกลี้ยง

ดอกกระดึงช้างเผือก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยจะออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาว มีใบประดับรูปไข่กลับ ขอบใบประดับหยักแบบซี่ฟันหรือแยกเป็นแฉกตื้น ๆ กลีบเป็นรูปหอกป้อม ๆ ขอบหยักแบบฟันเลื่อยหรือเว้าถึงแหลม ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเล็กน้อย ขอบกลีบเป็นชายครุย ส่วนกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 3 อัน อับเรณูเชื่อมติดกันเป็นรูป S ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายดอกเพศผู้ กลีบดอกเป็นสีเหลืองอมชมพู มีลายเป็นเส้นสีแดง ฐานดอกเป็นหลอดยาว กลีบเป็นรูปไข่กลีบ ปลายแหลมสีขาว ภายในรังไข่มี 1 ช่อง มีไข่อ่อนจำนวนมาก ท่อรังไข่ยาวเล็กเหมือนเส้นด้าย

ผลกระดึงช้างเผือก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนาน ผลอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม มีลายทางเป็นเส้นสีขาวหรือสีเขียวอ่อนตลอดผล ผิวมีขน ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงมีลายสีเหลือง ผลมีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร เนื้อในผลเป็นสีเขียว มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีเทา เมื่อแห้งเนื้อจะโปร่งคล้ายฟองน้ำ ภายในผลมีเมล็ดเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแบน

สรรพคุณของกระดึงช้างเผือก
ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ดอก)
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ราก)
ผลใช้เป็นยาถ่ายพิษตานซาง (ผล)
ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
ใบใช้ตำสุมกระหม่อมเด็กเป็นยาแก้หวัดคัดจมูก (ใบ)
เถาใช้เป็นยาดับพิษเสมหะและโลหิต ชำระเสมหะให้ตก (เถา)
ผลใช้เป็นยาถ่ายเสมหะ (ผล)
ใช้เป็นยาบำบัดโรคท้องผูกเรื้อรัง ด้วยการใช้กระดึงช้างเผือก 250 กรัม (ไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด), น้ำตาลทราย 100 กรัม และแป้งหมี่ 750 กรัม โดยเริ่มจากเอาไส้กระดึงช้างเผือกออกมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อดินเติมน้ำพอประมาณ แล้วใส่น้ำตาลทรายต้มด้วยไฟอ่อน ๆ แล้วคนให้เละ จากนั้นให้เอาแป้งหมี่เติมน้ำนวดให้เป็นก้อนเหนียว เมื่อฟูแล้วก็นำมาทำเป็นเปลือกขนมเปี๊ยะสำหรับเอากระดึงช้างเผือกที่ต้มเตรียมไว้ยัดเป็นไส้ แล้วนำไปปิ้งหรือนึ่ง ใช้รับประทานต่างอาหารหลัก มากน้อยตามต้องการ (อาจารย์เกรียงไกร เถลิงพล)
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่าย (ราก)
ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ผล)
เถาใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี (เถา)
รากนำมาบดให้เป็นผงรับประทานเป็นยาแก้ตับหรือม้ามโต (ราก)
ผลใช้เป็นยาแก้ตับปอดพิการ (ผล)
ใบใช้ตำพอกฝี ทาแก้โรคผิวหนัง (ใบ)
รากสดใช้ตำผสมกับน้ำมันทาแก้โรคเรื้อน (รากสด)
เถาใช้เป็นยาฆ่าเลือด ไร หิด เหา (เถา)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Saturday, March 30, 2019

สมุนไพร ขี้กาเทศ

ขี้กาเทศ ชื่อสามัญ Bitter apple, Colocynth, Colocynth pilp.



ขี้กาเทศ ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus colocynthis (L.) Schrad. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ลักษณะของขี้กาเทศ
ต้นขี้กาเทศ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะเลื้อยพัน
ใบขี้กาเทศ แผ่นใบเป็นสีเขียว ขอบใบหยิก
ดอกขี้กาเทศ ดอกเป็นสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน
ผลขี้กาเทศ ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมเรียบ เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุก ผลจะมีขนาดเท่ากับผลส้มขนาดเล็ก ภายในมีเนื้อนิ่ม และมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่แบนสีขาวหรือสีออกน้ำตาล
ผลขี้กาเทศรูปขี้กาเทศเมล็ดขี้กาเทศ
สรรพคุณของขี้กาเทศ
เนื้อผลนำมาปั่นเป็นน้ำดื่มเป็นยาลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดความดันโลหิตสูง (เนื้อผล)
เนื้อผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (เนื้อผล)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขี้กาเทศ
สารสำคัญที่พบในสมุนไพรขี้กาเทศ ได้แก่ alanine, caffeic acid, citrullonol, coumaric acid, cacurbitacin, clateridine, fructose, tetradecenoic acid
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ต้านเชื้อรา
จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าจะเป็นพิษเมื่อใช้สารสกัดผลด้วยแอลกอฮอล์ในขนาด 70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และสารสกัดจากผลด้วย ethyl acetate ในขนาด 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือสารสกัดจากผลด้วยคลอโรฟอร์มขนาด 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
จากการทดลองแบบ Randomized, double-blind, placebo-controlled clinical trial ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นชาย 12 คน และหญิงอีก 38 คน ที่มีอายุ 40-65 ปี โดยทำการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน ให้รับประทานแคปซูลผลขี้กาเทศขนาด 100 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน หรือรับประทานยาหลอกร่วมกับการรักษาปกติ เป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานแคปซูลขี้กาเทศมีปริมาณ HbA1C และระดับน้ำตาลลดลง ตลอดการทดลองไม่พบอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร จึงเห็นได้ว่าผลขี้กาเทศสามารถช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้โดยไม่ก่ออาการข้างเคียง แต่การรับประทานผลขี้กาเทศนี้ไม่มีผลลดระดับไขมัน ทั้งระดับคอเรสเตอรอลรวม, Low-density lipoprotein, High-density lipoprotein, ไตรกลีเซอไรด์ ระดับเอนไซม์ asparate transaminase, alanine transaminase, alkaline phosphatase ปริมาณยูเรียและ creatinine ในเลือด
จากการศึกษาฤทธิ์ลดไขมันและน้ำตาลในเลือดของสารสกัดเมทานอลจากผลขี้กาเทศในหนูแรท ผลการทดลองพบว่า การป้อนสารสกัดเมทานอลจากผลขี้กาเทศในขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีผลลดระดับคอเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์, low-density lipoprotein และ very low-density lipoprotein และเพิ่ม high-density lipoprotein ในเลือดของหนูแรท ทั้งในภาวะที่มีไขมันในเลือดสูงและในภาวะที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียว และการป้อนสารสกัดเมทานอลจากผลขี้กาเทศทั้งสองขนาดมีผลเพิ่มระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ superoxide dismutase, glutathaione และ catalase และลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาการเกิดออกซิเดชันของไขมัน ทั้งในภาวะที่มีไขมันในเลือดสูงและในภาวะเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ ยังมีผลลดระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase และ alanine aminotransferase ในตับ และลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญในหนูที่มีภาวะเป็นโรคเบาหวาน ผลจากการทดลองนี้จึงแสดงให้เห็นว่า สารสกัดเมทานอลจากผลขี้กาเทศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสามารถลดไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดได้
เมื่อมี ค.ศ.2007 ที่ประเทศจอร์แดนได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากผลขี้กาเทศ โดยทำการทดลองในหนู 20 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุม ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ให้สารสกัดขี้กาเทศ ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว เป็นเวลา 7 วัน ผลการทดลองพบว่า ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของกลุ่มควบคุม = 180 ± 9.69 mg./dl. ส่วนอีกกลุ่มมีระดับคอเลสเตอรอล = 135 ± 6.82 mg./dl. (P < 0.01) ค่า LDL-C พบ P < 0.01

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สมุนไพรข้าวสารหลวง

ข้าวสารหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Maesa ramentacea (Roxb.) A. DC.จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)



 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ไคร้ยอย หลอดเขา (เชียงใหม่), กระดูกไก่ เม้าหมด (จันทบุรี), ขี้หนอน (ตราด), กะผ้าสะลาย เสียดนก (ชุมพร), ปัน (นครศรีธรรมราช), ลวย (ตรัง), ตุ๊ดเงย (ขมุ) เป็นต้น

ลักษณะของข้าวสารหลวง
ต้นข้าวสารหลวง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง รูปทรงโปร่ง มีความสูงได้ประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งแขนงแผ่เป็นพุ่ม กิ่งก้านโปร่งและห้อยลง เปลือกต้นด้านนอกมีรูอากาศหนาแน่น ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีครีมจนถึงสีชมพู ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดจะได้ผลดีที่สุด พบขึ้นทั่วไปในป่าที่ชุ่มชื้นและไร่ร้าง ตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคกลาง ในต่างประเทศพบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ คาบสมุทรอินโดจีน และมาเลเซีย

ใบข้าวสารหลวง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่แกมขอบขนาน แกมใบหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือหยักเกือบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-14 เซนติเมตร เส้นแขนงใบมีประมาณ 6-9 คู่ โค้งจรดขอบใบ แผ่นใบหยักเป็นลอนหยาบ ๆ หลังใบมน ก้านใบยาวประมาณ 0.6-1.3 เซนติเมตร ใบเมื่อแก่จะเกลี้ยงไม่มีขน ท้องใบมีต่อมยาว ๆ สีเข้ม
ใบข้าวสารหลวง
ดอกข้าวสารหลวง ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ ช่อดอกแตกแขนงมาก ยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมากและมีขนาดเล็กเป็นสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ รูประฆัง ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบมน โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง สีเขียว ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรเพศผู้ยาวเท่ากับอับเรณู ส่วนก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 พู รังไข่ส่วนหนึ่งฝังอยู่ในฐานรองดอก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม

ผลข้าวสารหลวง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมและฉ่ำน้ำ สีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลอ่อน ส่วนผลแก่เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ผลมีขนาดเล็กหรือประมาณ 0.2-0.6 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ด ผลจะแก่ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

สรรพคุณของข้าวสารหลวง
ชาวเขาเผ่าเย้าจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำ ใช้ล้างแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ทั้งต้น)
รากใช้เป็นยารักษาบาดแผล โดยนำมาบดใช้โรยแผลจะช่วยทำให้แผลแห้ง (ราก)
ใบใช้ตำพอกปิดบาดแผล แก้อาการปวดบวม (ใบ)
ประโยชน์ของข้าวสารหลวง
ดอกและใบใช้รับประทานได้เหมือนผักสด
ชาวขมุจะใช้ลำต้นข้าวสารหลวงมาใช้ทำฟืนหรือใช้เป็นเชื้อเพลิง
ต้นข้าวสารหลวงเป็นไม้ขนาดค่อนเล็ก มีทรงพุ่มเรือนยอดสวย ครั้นออกดอกจะมีดอกขาวโพลนหนาแน่น หากนำมาปลูกในพื้นที่จำกัด ขนาดกว้างยาวประมาณ 3 เมตร จะช่วยเพิ่มความสวยงามได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ควรปลูกในที่ชุ่มชื้นหรือที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Friday, March 29, 2019

สมุนไพรข้าวสารดอกใหญ่

ข้าวสารดอกใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphistemma pulchellum (Roxb.) Wall. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)



 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เคือคิก (สกลนคร), เข้าสาร (ราชบุรี), ไคร้เครือ (สระบุรี), ข้าวสารดอกใหญ่ (กรุงเทพฯ), เมือสาร (ชุมพร), เครื่อเขาหนัง (ภาคเหนือ), มะโอเครือ เคือเขาหนัง (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ข้าวสาร (ภาคกลาง), เซงคุยมังอูมื่อ เซงคุยมังอูหมื่อ มังอุยเหมื่อเซงครึย (กะเหรี่ยง-ลำปาง), โอเคือ (ลาว), ข้าวสารเถา เป็นต้น

ลักษณะของข้าวสารดอกใหญ่
ต้นข้าวสารดอกใหญ่ จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยมีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีขนาดเล็กและเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ต้องการแสงแดดปานกลางถึงค่อนข้างมาก ต้องการน้ำในระดับปานกลาง ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนปนทรายที่อุดมไปด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ส่วนการให้ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักใบไม้ ฯลฯ มักเกิดขึ้นตามป่าดิบเขาบริเวณชายป่าและตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป หรือในพื้นที่เปิดที่ระดับความสูงประมาณ 400-1,300 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบขึ้นในอินเดีย เนปาล พม่า จีนตอนใต้ และมาเลเซีย

ใบข้าวสารดอกใหญ่ ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลมเป็นหางยาว โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-20 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ด้านบนที่โคนเส้นกลางใบมีขนขึ้นเป็นกระจุก ก้านใบมีลักษณะเรียวและเล็ก มีขนาดยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร


ดอกข้าวสารดอกใหญ่ ดอกมีขนาดใหญ่และมีกลิ่นหอม ดอกเป็นสีขาวหรือสีครีม ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ ช่อหนึ่งนั้นจะมีดอกประมาณ 4-10 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกนั้นมีขนาดเล็กและยาวได้ประมาณ 2-5 เซนติเมตร เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปคล้ายรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ปลายกลม ส่วนขอบกลีบบาง ตรงโคนจะเชื่อมติดกันมีความยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มีความยาวประมาณ 12-18 มิลลิเมตร ปลายกลีบหนาและสั้นกว่าท่อดอกมาก ส่วนเส้าเกสรจะมีอยู่ 5 กลีบ และมีความยาวได้ประมาณ 10-12 มิลลิเมตร โดยจะอยู่ติดกับชั้นของเกสรเพศผู้ซึ่งเชื่อมติดกัน ออกดอกในช่วงฤดูหนาว

ผลข้าวสารดอกใหญ่ ผลมีลักษณะเป็นฝักโค้ง ฝักจะมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดรูปไข่มีขนเป็นพู่ยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร
สรรพคุณของข้าวสารดอกใหญ่
รากใช้ปรุงเป็นยาหยอดรักษาตา แก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว (ราก)
เมล็ดข้าวสารดอกใหญ่จะมีสาร Cardiac glycoside ซึ่งเป็นพิษต่อหัวใจ แต่สามารถนำมาใช้รักษาอาการไข้ได้ (เมล็ด)
เมล็ดใช้เป็นยาขับเหงื่อ (เมล็ด)
ประโยชน์ของข้าวสารดอกใหญ่
ดอกและผลใช้เป็นอาหารได้

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, March 28, 2019

สมุนไพรข้าวสารค่าง

ข้าวสารค่าง 



ชื่อวิทยาศาสตร์ Cardiopteris quinqueloba (Hassk.) Hassk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cardiopteris javanica Blume, Cardiopteris lobata Wall. ex Benn. & R.Br.) จัดอยู่ในวงศ์ CARDIOPTERIDACEAE



 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตุ๊กตู่ (เชียงใหม่), อีบี้ (สุโขทัย), อีหวี่ (ปราจีนบุรี), ผักแต๋นแต้ (ลพบุรี), ผักแตนแต้ หวี่หวี่ (สระบุรี), ตุ๊กตู่ (ชลบุรี), ขะล๊านข่าง (ชุมพร) เป็นต้น




ลักษณะของข้าวสารค่าง
ต้นข้าวสารค่าง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ทุกส่วนของต้นเมื่อฉีกขาดจะมีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีลักษณะกลมหรือค่อนข้างแบน แตกกิ่งก้านมากและทอดยาวได้ประมาณ 2-5 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์จากเอเชียใต้ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นบริเวณป่าผลัดใบ ป่าไผ่ และตามที่รกร้าง ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงระดับ 600 เมตร ส่วนบริเวณที่พบในพื้นที่อุทยานฯ คือ ตามพื้นป่าราบทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณปากทางเดินขึ้นเขากำแพง

ใบข้าวสารค่าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นหรือเป็นเกลียว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบหรือเว้าเป็นแฉกประมาณ 4-9 แฉก แฉกกลางปลายแหลม ส่วนแฉกข้างปลายแหลมหรือมน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-12 เซนติเมตร

ดอกข้าวสารค่าง ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบ ขนาดยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมากเรียงออกด้านเดียว ซึ่งจะทำให้ช่อดอกโน้มไปข้างหนึ่งและมักจะม้วนงอ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้อยู่ในต้นเดียวกัน ส่วนกลีบดอกนั้นเป็นสีขาว โดยดอกสมบูรณ์เพศนั้นจะมีดอกเป็นรูปหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็น 4-5 แฉก มีเกสรเพศผู้ 4-5 อัน ติดอยู่ใกล้ปากหลอดดอกและสลับกับกลีบดอก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง ปลายเกสรเพศเมียแยกออกเป็น 2 แฉก ไม่เท่ากันและติดคงทนที่ผล ส่วนดอกเพศผู้จะคล้ายกับดอกสมบูรณ์เพศ แต่จะไม่มีเกสรเพศเมียและก้านดอกย่อย ดอกจะออกในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน

ผลข้าวสารค่าง ผลเป็นผลสด สีเขียว ลักษณะของผลเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรีลักษณะแบน ขอบแผ่เป็นครีบตามยาว มีปีก 2 ปีก มีเส้นแขนงละเอียดเรียงขนานกัน ขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ปลายผลเว้าตื้น และที่ปลายสุดเป็นติ่งของยอดเกสรเพศเมียที่ยังคงความเขียวอยู่ได้นานและปรากฏให้เห็นเด่นชัด ภายในผลมีเมล็ดเดียว ออกผลในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

สรรพคุณของข้าวสารค่าง
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบข้าวสารค่างนำมาตำผสมกับเหง้าไพลและมันหมูห่อใบตอง หมกไฟ ใช้ประคบรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา (ใบ)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Tuesday, March 26, 2019

สมุนไพรข้าวฟ่างสมุทรโคดม

ข้าวฟ่างสมุทรโคดม ชื่อสามัญ Negro Guinea Grass, Millet Grass, Sorghum


ข้าวฟ่างสมุทรโคดม ชื่อวิทยาศาสตร์ Sorghum bicolor (L.) Moench (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Sorghum vulgare Pers.) จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)

ข้าวฟ่างสมุทรโคดม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เข้าฟ่างสมุทรโคดม (ชุมพร), ข้าวป้างนก ข้าวป้างหางช้าง (ภาคเหนือ), ข้าวป้างงก (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ข้าวฟ่าง จังหันมะพุด สมุทรโคดม (ภาคกลาง), เข้าป้างหางช้าง มกโคดม มุทโคดม (ภาคใต้), จังหันมะพูด (ไทย), ดั่วป้าง (ม้ง), เพล่เส่อแบ เป่เส่อแบล (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เกาเลี้ยง ฮวงซู่ (จีน) เป็นต้น

ลักษณะของข้าวฟ่างสมุทรโคดม
ต้นข้าวฟ่างสมุทรโคดม จัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะกลม สูงได้ประมาณ 3-4 เมตร ตามบริเวณข้อจะมีขนสั้นสีน้ำตาล ซึ่งมองเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ใบข้าวฟ่างสมุทรโคดม ใบออกสลับกัน ลักษณะของใบจะแคบเป็นเส้นยาวประมาณ 50 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ปลายใบแหลมคม บริเวณท้องใบไม่มีขน แต่จะมีผงสีขาวนวล เส้นกลางใบจะแข็ง ส่วนขอบใบและหลังใบจะมีขนสั้น ๆ

ดอกข้าวฟ่างสมุทรโคดม ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายยอด มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร

ผลข้าวฟ่างสมุทรโคดม ผลมีลักษณะกลมเท่ากับเมล็ดพริกไทย โผล่พ้นออกมาจากเปลือก ผลแก่จะมีเนื้อแข็ง ผิวภายนอกผลเป็นมัน ส่วนเมล็ดจะเป็นสีน้ำตาลออกเทา และมีแป้งมาก

สรรพคุณของข้าวฟ่างสมุทรโคดม
ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน จะมีรสชุ่ม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงและให้พลังงาน (เมล็ด)
ใช้เป็นยารักษาโรคประสาท ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ด้วยการใช้รากข้าวฟ่างสมุทรโคดมแห้งประมาณ 30 กรัม ผสมกับเหง้าว่านน้ำเล็ก (Acorus gramineus soland.) 15 กรัม, หญ้าปล้องจีน (Juncus effuses L.) 15 กรัม, ใบไผ่ขมจีน (Pleioblastus amarus (Keng) Keng f.) 5 ใบ (จะใช้รากข้าวฟ่างสมุทรโคดมเพียงอย่างเดียวก็ได้) แล้วนำมาผสมกันต้มกับน้ำกิน (รากแห้ง)
ใช้เป็นยารักษาอาการไอ หอบ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม นำมาตุ๋นกับน้ำตาลแล้วใช้กรวดกิน (รากแห้ง)
รากสดใช้ต้มกับน้ำกินตอนอุ่น ๆ เป็นยาแก้เจ็บกระเพาะอาหาร หรือเจ็บปวดบริเวณหน้าอก (รากสด)
ใช้เป็นยารักษาโรคอหิวาตกโรค บิด ช่วยฝาดสมานลำไส้และกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เมล็ด)
ใช้รากแห้งประมาณ 15-30 กรัม ถ้าสดใช้ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำ จะมีรสชุ่ม มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปวดกระเพาะอาหาร และช่วยห้ามโลหิต (ราก)[1]
ใช้รักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี ด้วยการใช้เมล็ดแห้งที่คัดเอาสิ่งเจือปนอื่น ๆ ทิ้งออกแล้ว นำมาคั่วจนเหลืองและมีกลิ่นหอม วางผึ่งให้เย็น ก่อนนำมากินควรบดประมาณครั้งละ 1.5-3 กรัม วันละ 3-4 ครั้ง ส่วนเด็กที่ระบบการย่อยอาหารไม่ดี ให้ใช้เมล็ดข้าวฟ่างสมุทรโคดมที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัม นำมาคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอม และลูกพุทราคั่วจนเกรียมรวมกันบดเป็นผง ใช้กินวันละ 2 ครั้ง (เมล็ด)
ใช้เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 30-60 กรัม หรือรากแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ถ้ารากสดใช้ประมาณ 30-60 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก, เมล็ด)
สตรีคลอดบุตรยาก (ช่วยในการเร่งคลอดทารก) ให้ใช้รากข้าวฟ่างสมุทรโคดมที่แห้งในที่ร่ม นำมาเผาให้เป็นเถ้าและบดให้เป็นผง ใช้ผสมกับเหล้ารับประทานครั้งละ 6 กรัม (รากแห้ง)
หากสตรีตกโลหิตหลังการคลอดบุตร ให้ใช้รากสดประมาณ 7 ต้น (ประมาณ 30-60 กรัม) ผสมกับน้ำตาลทรายแดงประมาณ 15 กรัม แล้วต้มกับน้ำกิน จะช่วยบรรเทาอาการตกเลือดลงได้ (รากสด)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Sunday, March 24, 2019

สมุนไพรขางคันนา

ขางคันนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium heterocarpon var. strigosum Meeuwen 

จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)



 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขางคันนาแดง (เชียงใหม่), หญ้าตืดหมา (ลำปาง), อีเหนียวใหญ่ (ชัยภูมิ), พึงฮวย (ชุมพร), เส่งช้างโชก (กะเหรี่ยง ลำปาง) เป็นต้น

ลักษณะของขางคันนา
ต้นขางคันนา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งกึ่งตั้งและกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยถึงกึ่งแผ่ปกคลุมดิน มีความสูงได้ประมาณ 50-175 เซนติเมตร หรืออาจสูงได้ถึง 2 เมตร ลำต้นนั้นเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนที่ถูกแสงแดดมักเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียวอ่อน ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-5.2 มิลลิเมตร มีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส นครราชสีมา กาญจนบุรี อุบลราชธานี เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ และขอนแก่น ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 76-892 เมตร

ใบขางคันนา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยบนสุดจะเป็นรูปไข่กลับหรือรูปไข่กลับแกมใบหอก ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ โดยใบบนสุดจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.6-2.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร ส่วนใบด้านข้างจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.3-4 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงค่อนข้างจะเขียวเข้ม หลังใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมหนาแน่น (แต่ขนจะสั้นกว่าชนิด Desmodium styracifolium) ส่วนด้านหน้าใบนั้นไม่มีขน แต่พบได้ในบางสายพันธุ์ที่จะมีขนเล็ก ๆ ขึ้นกระจายอยู่ตามเส้นใบและแผ่นใบด้านหน้า ก้านใบยาวประมาณ 1.4-2.2 เซนติเมตร หูใบเป็นสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแดงเข้ม

ดอกขางคันนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 4.3-5.8 เซนติเมตร มีดอกย่อยประมาณ 43-90 ดอก การออกดอกจะเป็นแบบ Indeterminate กลีบดอกเป็นสีม่วงหรือสีม่วงปนสีขาวนวล มีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว อับเรณูเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล ก้านอับเรณูเป็นสีแดง เกสรเพศเมียเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล ส่วนก้านเกสรเพศเมียเป็นสีเขียว

ผลขางคันนา ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว ยาวประมาณ 1.3-3 เซนติเมตร มีขนและคอดหักเป็นข้อ ๆ แตกออกได้ตามตะเข็บล่าง ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 4-9 เมล็ด บางช่อดอกย่อยฝักจะมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ออกดอกติดเมล็ดได้ดีมาก โดยจะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่จะออกดอกมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

สรรพคุณของขางคันนา
ตำรายาไทยระบุว่า สมุนไพรขางคันนามีรสเมาเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้เด็กตัวร้อน ดับพิษตานซาง แก้กาฬมูตร (ลำต้นและใบ)
ใช้เป็นยาแก้โรคลำไส้ ใช้ขับพยาธิได้ทุกชนิด และเป็นยาขับปัสสาวะ (ลำต้นและใบ)
ยาพื้นบ้านจะใช้รากขางคันนา นำมาผสมกับรากมะเดื่อดิน และผงปวกหาด ใช้ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง เป็นยาถ่ายพยาธิ (ราก)
ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบและลำต้นขางคันนา นำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้บวมพอง (ลำต้นและใบ)
ประโยชน์ของขางคันนา
ใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ โดยต้นที่มีอายุ 45 วัน คุณค่าทางอาหารจะประกอบไปด้วยโปรตีน 11.9-15.9%, แคลเซียม 1.26-1.49%, ฟอสฟอรัส 0.18-0.26%, โพแทสเซียม 1.17-1.26%, ADF 38.7-47.3%, NDF 45.8-54.9%, DMD 39.3-39.5%, ลิกนิน 14.2-17.7% ส่วนต้นที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 11-12.8%, ไนเตรท 78.4-85 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 14.1-22.4 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 4.2-6.1%, มิโมซิน 1.17-1.54% และไม่พบไนไตรท์

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Saturday, March 23, 2019

สมุนไพรขางครั่ง

ขางครั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Dunbaria longiracemosa Craib 


(ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dunbaria longeracemosa Craib) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE


 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดอกครั่ง (เชียงใหม่), เถาครั่ง (เลย) ส่วนลำพูนเรียก "ขางครั่ง"

ลักษณะของขางครั่ง
ต้นขางครั่ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยหรือไม้พุ่มเลื้อยพัน ลำต้นมีความยาวได้ประมาณ 3-5 เมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 2.83-9.47 มิลลิเมตร ลำต้นเป็นสีเขียวอมน้ำตาลและมีขนละเอียดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ขึ้นปกคลุมอยู่มาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ระบายน้ำดี ชอบที่ร่มและมีความชุ่มชื้น ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ในพื้นที่มีร่มเงาน้อย ดินเหนียว เนื้อดินละเอียด เช่น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา หรือพบได้ในป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบ จนถึงความสูง 400 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนในต่างประเทศมีเขตการกระจายพันธุ์ในลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ใบขางครั่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยส่วนปลายเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมใบหอก ส่วนใบย่อยด้านข้างจะมีลักษณะเป็นรูปไข่เบี้ยวหรือรูปใบหอกแกมสามเหลี่ยม ใบส่วนปลายนั้นมีขนาดกว้างประมาณ 2.05-2.73 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.94-8.88 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยด้านข้างกว้างประมาณ 1.8-2.14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.11-6.61 เซนติเมตร ส่วนก้านใบรวมยาวประมาณ 1.01-2.91 เซนติเมตร ก้านใบข้างจะสั้นมากหรือยาวได้เพียง 2 มิลลิเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น ผิวใบนุ่ม สีใบด้านหน้าเป็นสีเขียวอมเหลืองอ่อนถึงเขียวเข้มและค่อนข้างมัน ส่วนสีใบด้านหลังจะเป็นสีเขียวอมเหลืองเข้มกว่าด้านหน้าและผิวออกด้านเล็กน้อย ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย เส้นใบด้านหลังนูนขึ้นเป็นสันเล็กน้อย เส้นใบแตกแบบขนนก ก้านใบมีขนขึ้นปกคลุมหนาแน่น หูใบแหลม สั้นประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร
ดอกขางครั่ง ออกดอกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ เป็นช่อยาวประมาณ 6.43-14.29 เซนติเมตร ดอกย่อยมีหลายดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปดอกถั่ว มีจำนวน 6-35 ดอกต่อช่อ เกิดเรียงสลับรอบแกนช่อดอก กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง ส่วนด้านในเป็นสีม่วงอมแดงเข้ม ช่อดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ส่วนดอกเพศเมียจะเป็นช่อง 3 ช่อง โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ผลขางครั่ง ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนยาว มีขนละเอียดขึ้นปกคลุม เมื่อแห้งจะแตกเป็นสองแนว ภายในมีเมล็ดหลายเมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล ออกผลในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมขางครั่ง

สรรพคุณของขางครั่ง
ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากหรือใบขางครั่ง นำมาผสมกับใบโผงเผง บดให้เป็นผงละเอียด ปั้นเป็นยาลูกกลอนกินแก้ไข้ (ราก, ใบ)

ประโยชน์ของขางครั่ง
ดอกสามารถนำมาใช้บริโภคได้ โดยนำมาทำเป็นผักรวม ทำอาหารประเภทผักหรือใช้ใบอ่อนและช่อดอกรับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ให้รสฝาดมัน
ฝักใช้รับประทานได้
ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับสัตว์แทะเล็มของโคกระบือ โดยคุณค่าทางอาหารของใบและเถาอ่อนนั้น จะมีค่าโปรตีน 13.34%, เยื่อใย 29.14%, ไขมัน 2.18%, เถ้า 6.87%, คาร์โบไฮเดรต (NFE) 48.47%, เยื่อใยส่วน ADF 33.38%, NDF 45.11%, ลิกนิน 9.88%

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Friday, March 22, 2019

สมุนไพรขยุ้มตีนหมา


ขยุ้มตีนหมา ชื่อสามัญ Morningglory, Tiger-foot Morning Glory





ขยุ้มตีนหมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-tigridis L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ipomoea hepaticifolia L., Ipomoea capitellata Choisy, Convolvulus pes-tigridis (L.) Spreng.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)

 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เถาสายทองลอย (สิงห์บุรี), ผักบุ้งทะเล (พังงา), เพาละมูลู เพาละบูลู (มาเลย์-ยะลา) เป็นต้น

ลักษณะของขยุ้มตีนหมา
ต้นขยุ้มตีนหมา จัดเป็นพรรณไม้เถาล้มลุกมีอายุเพียง 1 ปี ไม่มีมือเกาะ ลำต้นมีลักษณะเล็กเรียว มักเลื้อยไปตามพื้นดินหรือเลื้อยพาดพัน ซึ่งจะมีความยาวได้ประมาณ 0.5-3 เมตร ลำต้นปกคลุมไปด้วยขนแข็งสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นอยู่ตามบริเวณที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ในนาข้าว และตามดินทรายใกล้ทะเล ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึง 1,000 เมตร และขยุ้มตีนหมายังเป็นพืชที่พบกระจายอยู่เกือบทั่วโลก เช่น จีน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, แคชเมียร์, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, นิวกินี, ฟิลิปปินส์, ศรีลังกา, เวียดนาม, แอฟริกา, ออสเตรเลีย, และในหมู่เกาะแปซิฟิก


ใบขยุ้มตีนหมา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ แผ่นใบกว้างเป็นรูปไข่ ส่วนขอบใบเป็นแฉกหรือเป็นจักเว้าลึกประมาณ 7-9 แฉก ซึ่งมักจะเป็นจักลึกไปถึงโคนใบ หรือขอบใบเว้าลึกแยกเป็น 3 พู ซึ่งแต่ละพูจะเว้าลึกแยกเป็นส่วนอีก 2-3 พู ดูคล้ายเป็นใบประกอบที่มีใบย่อยประมาณ 7-9 ใบ ปลายใบแต่ละแฉกแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน ก้านใบมีลักษณะเล็กและเรียวยาวประมาณ 1.5-10 เซนติเมตร


ดอกขยุ้มตีนหมา ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกมีประมาณ 2-3 ดอก หรือเป็นดอกเดี่ยวเกิดที่ซอกใบ ก้านดอกหรือก้านช่อยาวประมาณ 5-12 เซนติเมตร มีขนขึ้นปกคลุม ช่อดอกมีใบประดับลักษณะเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลม ยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงติดกันมี 5 กลีบ ยาวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร และมีขนยาวสีขาว ปลายกลีบแหลม ส่วนกลีบดอกจะเป็นสีขาวมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตรหรือติดกันเป็นรูประฆัง ความยาวกลีบดอกประมาณ 4-6 เซนติเมตร ผิวกลีบเรียบ ปลายกลีบเว้าหยักเข้าเล็กน้อย เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร ส่วนเกสรเพศผู้และเพศเมียนั้นจะมีลักษณะเรียบเกลี้ยง ไม่มีขนปกคลุม โดยเกสรเพศผู้จะมี 5 อัน ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่เป็นแบบ Superior ovary ลักษณะเป็นรูปไข่


ผลขยุ้มตีนหมา ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่แบบแคปซูล ยาวประมาณ 8-9 มิลลิเมตร ผิวผลเกลี้ยง ถ้าผลแห้งจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเมล็ดจะมีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร และมีขนสีเทาขึ้นกระจายอยู่


สรรพคุณของขยุ้มตีนหมา
รากขยุ้มตีนหมา ใช้เป็นยารุ รักษาโรคไอเป็นเลือด (ราก)
เมล็ดขยุ้มตีนหมา ใช้เป็นยารักษาโรคท้องมาน (เมล็ด)
ทั้งต้นนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเนย ใช้ปิดหัวฝีไม่ให้แพร่กระจาย (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ทำเป็นยาระงับพิษสุนัขบ้า (ทั้งต้น)

ขอบคุณแหล่งที่มาhttps://medthai.com

สมุนไพรขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Arcangelisia flava (L.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)

มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขมิ้นฤาษี ฮับ (ภาคใต้), ชั้วตั่วเหล่ง (ม้ง) เป็นต้น

ลักษณะของขมิ้นเครือ
ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่ จะมีรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างตรง มีโค้งงอบ้างบางตอน ผิวเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกบางมีรอยแตกเล็ก ๆ เป็นแนวตามยาวของราก รอยแตกที่พาดขวางจะเป็นรอยนูนเล็กน้อย รากขมิ้นเครือที่แห้งแล้ว ผิวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีรอยแตกพาดขวางอยู่ทั่วไป เปลือกหลุดง่าย จัดเป็นพืชหายากชนิดหนึ่ง มักขึ้นตามชายป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 300 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ที่จีน (เกาะไหหลำ) ภูมิภาคมาเลเซีย และภูมิภาคอินโดจีน

ใบขมิ้นเครือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปไข่แกมรี รูปไข่กว้าง หรือรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม ตัด หรือเป็นรูปหัวใจเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบไม่มีขน มีเส้นใบออกจากโคนใบเป็นรูปฝ่ามือ 5 เส้น และมีเส้นแขนงใบอีก 1-3 คู่ โดยมักจะออกเหนือครึ่งหนึ่งของเส้นกลางใบไป เมื่อแห้งแล้วจะเห็นเส้นร่างแหไม่ชัดเจน ก้านใบยาว ที่โคนและปลายบวม


ดอกขมิ้นเครือ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามง่ามใบหรือตามเถา ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แตกกิ่งด้านข้างยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีสีขาวแกมเหลืองหรือแกมเขียว โดยดอกเพศผู้จะไม่มีก้านหรือก้านสั้น มีใบประดับย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร โคนหนาเห็นได้ชัด กลีบเลี้ยงวงนอกมีประมาณ 3-4 กลีบ มีขนาดสั้นกว่า 1 มิลลิเมตร ส่วนวงในใหญ่กว่า มีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ยาวประมาณ 1.5-2.5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้จะเชื่อมกัน ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ ยาวได้ประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร ปลายโค้ง มีเกสรเพศผู้ปลอมขนาดเล็กลักษณะคล้ายเกล็ด เกสรเพศเมียจะมี 3 อัน ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียกว้าง ไม่มีก้าน เป็นตุ่มออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
ผลขมิ้นเครือ ผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปทรงกลม ออกเป็นช่อตามลำดับ มักแตกก้านยาวประมาณ (5-)7-30 (-45) เซนติเมตร แกนกลางและก้านใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ผลกับก้านผลจะแตกจากด้านข้าง มีประมาณ 1-3 ผลติดอยู่ด้วยกันบนก้านที่มีลักษณะเป็นรูปตะบอง ที่ปลายบวมยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร ผลสุกเป็นสีเหลือง ค่อนข้างแบน ด้านข้าง รูปกึ่งรูปไข่ตามขวาง ยาวประมาณ 2.5-3.3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.2-3 เซนติเมตร และหนาประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะย่น ขนเกลี้ยง ผนังผลชั้นในแข็ง ภายในผลมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 เมล็ด ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

สรรพคุณของขมิ้นเครือ
ตำรายาไทยจะใช้เนื้อไม้ขมิ้นเครือเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต (เนื้อไม้) น้ำต้มจากลำต้นหรือรากใช้เป็นยาบำรุง (ลำต้น, ราก)
รากมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงน้ำเหลือง (ราก)
ลำต้นและรากใช้เป็นยาแก้เบาหวาน (ลำต้นและราก)
รากใช้เป็นยาหยอดตา แก้ตาแดง ตาเปียก ตาแฉะ (ราก)
ลำต้นและรากมีสารอัลคาลอยด์ชื่อ berberine ซึ่งใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร รักษามาลาเรีย แก้ไข้ และรักษาโรคอหิวาต์ได้ผลดีเทียบเท่ากับยาคลอแรมเฟนิคอล (ลำต้นและราก)
ยางจากต้นใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ (ยาง)
น้ำต้มจากลำต้นหรือราก ใช้เป็นยาแก้ไอ (ลำต้น, ราก)
รากใช้เป็นยาขับลม (ราก)
น้ำต้มจากลำต้นหรือกิ่งก้าน ใช้เป็นยาแก้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ (ลำต้น, กิ่งก้าน)
ยางจากต้นใช้เป็นยาแก้โรคเมืองร้อนที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย (ยาง)
ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)
ในซาราวักจะใช้ลำต้นและรากเป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ลำต้นและราก)
เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้ (เนื้อไม้)
รากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ราก)
เนื้อไม้ใช้เป็นยาขับประจำเดือน ส่วนน้ำต้มจากลำต้นหรือรากมีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือน แก้ปวดท้อง (ลำต้น, เนื้อไม้, ราก)
ลำต้นหรือกิ่งก้านนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคดีซ่าน (ลำต้น, กิ่งก้าน)
เนื้อไม้ใช้ขูดเป็นยาล้างแผลพุพอง แผลเรื้อรัง และแก้อาการคัน (เนื้อไม้)
ชาวม้งจะใช้ใบขมิ้นเครือนำมาทุบแล้วใช้ห่อพันบริเวณที่เอ็นขาดเพื่อช่วยประสานเอ็น (ใบ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขมิ้นเครือ
สมุนไพรขมิ้นเครือ
มีรายงานพิษต่อเม็ดเลือดในหลอดทดลอง แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงควรมีการทดลองทางพิษวิทยาเพิ่มเติมก่อนนำมาใช้
รากและลำต้นที่ได้มาจากร้านขายยาแผนโบราณจากป่าหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และจากสวนสมุนไพรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณของสาร berberine อยู่สูงถึง 3.22% โดยขมิ้นเครือจากตลาดจะมีปริมาณของสารดังกล่าวอยู่น้อยกว่ามาก ส่วนขมิ้นเครือของจังหวัดสงขลานั้นไม่มีเลย ส่วนรากขมิ้นเครือจากสวนสมุนไพร จังหวัดจันทบุรี จะมีปริมาณของสาร berberine สูงสุด

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, March 21, 2019

สมุนไพรย่านงด

สรรพคุณและประโยชน์ของต้นย่านงด


สมุนไพรย่านงด ชื่อวิทยาศาสตร์ Poikilospermum suaveolens (Blume) Merr. วงศ์กะลังตังช้าง (URTICACEAE หรือ CECROPIACEAE)


 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เครือเต่าไห้ (ลำปาง), ขมัน (จันทบุรี), อ้ายไร (กรุงเทพฯ), ชะไร ยาวี (สตูล), เถากะมัน ย่านมูรู (พัทลุง), กุระเปี๊ยะ (สงขลา), มะรุ (ปัตตานี), โร (พังงา), มือกอ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น

ลักษณะของย่านงด
ต้นย่านงด จัดเป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีลักษณะกลมเรียบ มีสีน้ำตาลเข้ม จามข้อเถามีรากอากาศงอห้อยลงมา กิ่งอ่อนและลำต้นมีตุ่มระบายอากาศตามผิว เปลือกต้นเป็นสีเทาและมียางใส มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดจีน ไปจนถึงอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ โดยมักขึ้นตามชายป่าดิบชื้นที่มีแสงแดด



ใบย่านงด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับไปตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปรีกว้าง ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-26 เซนติเมตร เนื้อใบหนาเกลี้ยง หลังใบและท้องใบเรียบ เส้นใบออกจากจุดฐาน 3 เส้น มีเส้นแขนงใบ 10-12 คู่ สามารถเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ก้านใบมีสีน้ำตาลอมแดง ยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร มีเกล็ดประปราย ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง


ดอกย่านงด ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้จะออกรวมกันเป็นช่อกลมหรือเป็นก้อนสีชมพูอมแดง ขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะรวมกันเป็นช่อกลมเหมือนกัน แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า หรือมีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ดอกย่อยจะอัดติดกันแน่นอยู่บนฐานดอก ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายแยกเป็นแฉก 4 แฉก มีเกสรเพศผู้ 2-4 อัน รังไข่มี 1 ช่อง มีไข่อ่อน 1 หน่วย


ผลย่านงด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลเป็นสีแดงถึงสีน้ำตาลอมแดง มีขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อผลยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร


สรรพคุณของย่านงด
เปลือกจากเนื้อไม้ย่านงด นำมาผสมปรุงเป็นยาบำรุงประสาท บำรุงหัวใจ และบำรุงครรภ์รักษาสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ (เปลือกจากเนื้อไม้)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Tuesday, March 19, 2019

สมุนไพรโกฐหัวบัว


โกฐหัวบัว ชื่อสามัญ Szechuan lovage, Selinum






โกฐหัวบัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Ligusticum striatum DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ligusticum wallichii Franch., Ligusticum chuanxiong S.H.Qiu, Y.Q.Zeng, K.Y.Pan, Y.C.Tang & J.M.Xu) บางข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Ligusticum sinense Oliv. ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า โกฐหัวบัวนั้นคือชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Conioselinum univitatum Trucz. โดยจัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

 มีชื่ออื่น ๆ ว่า ชวงเกียง (จีนแต้จิ๋ว), ชวนโซยงวิง ชวงชวอง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของโกฐหัวบัว
ต้นโกฐหัวบัว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง โคนต้นเป็นข้อ ๆ และมีรากฝอยงอกอยู่ที่ข้อ บริเวณช่วงบนจะแตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยการใช้ข้อของลำต้น ชอบอากาศร้อนชื้น ชอบดินหนาและลึก การระบายน้ำดี มีฤทธิ์เป็นกลางหรือกรดเล็กน้อย เจริญเติบโตได้ดีในที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,500 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15 องศาเซลเซียส สูงสุด 34 องศาเซลเซียส และต่ำสุด -5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 80% มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 ปี พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมณฑลเสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน หูเป่ยของประเทศจีน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า "พิกัดโกฐ"


ใบโกฐหัวบัว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ออกเรียงเวียน แฉกสุดท้ายมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขอบใบหยักลึกสุดแบบขนนก ส่วนใบที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร และยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร ส่วนก้านใบนั้นยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โคนก้านแผ่เป็นกาบหน้าใบและหลังใบไม่มีขน ตามเส้นใบมีขนเล็กน้อย

ดอกโกฐหัวบัว ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นดอกช่อแบบซี่ค้ำร่มหลายชั้น มีหลายดอกย่อย ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาว ดอกหนึ่งมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน

ผลโกฐหัวบัว ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ มี 2 ลูก เป็นห้าเหลี่ยมและในเหลี่ยมจะมีท่อน้ำมัน 1 ท่อ
เหง้าโกฐหัวบัว ส่วนของเหง้าคือส่วนที่นำมาใช้ทำยา ซึ่งเรียกว่า "โกฐหัวบัว" โดยเหง้าจะมีลักษณะค่อนข้างกลม ข้อป่อง ปล้องสั้น เมื่อตัดเอารากแขนงออกหมด จะได้เหง้าเป็นรูปค่อนข้างกลมคล้ายกำปั้น ผิวขรุขระเป็นตะปุ่มตะป่ำไม่สม่ำเสมอ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-7 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลไหม้หรือสีน้ำตาลอมเหลือง ผิวสาก เหี่ยวย่น เนื้อแน่น หักยาก รอยหักเป็นสีขาวอมเหลืองหรือเป็นสีเหลืองอมเทา มีท่อน้ำมันสีน้ำตาลอมเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่นหอมฉุนรุนแรง รสขม มัน แต่จะหวานในภายหลัง และชาเล็กน้อย

หมายเหตุ : โกฐหัวบัวในตระกูลเดียวกันยังมีอีกหลายพันธุ์ เช่น Cnidium ofcinale Makino, Ligusticum wallichii Franch. ซึ่งในอดีตเราจะนำมาใช้ทดแทนกันได้ แต่ในปัจจุบันได้พบว่า โกฐหัวบัวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ โกฐหัวบัวชนิด Ligusticum chuanxiong Hort. ซึ่งเป็นชนิดที่เรากล่าวถึงในบทความนี้ มันจึงถูกนำมาใช้เป็นตัวหลักของโกฐหัวบัว

สรรพคุณของโกฐหัวบัว
เหง้ามีรสเผ็ด ขมเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ตับ และถุงน้ำดี ใช้เป็นยาฟอกเลือด แก้เลือดน้อย แก้โรคโลหิตจาง บำรุงโลหิต ช่วยกระจายการตีบของเส้นเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดลมไหลเวียน (เหง้า)
ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หากใช้โกฐหัวบัวเข้ากับตำรายาจีน จะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดศีรษะหรือปวดศีรษะข้างเดียวได้ผลมากขึ้น โกฐหัวบัวจึงเป็นสมุนไพรที่เหมาะสำหรับการแก้อาการปวดศีรษะโดยเฉพาะ (เหง้า)
ใช้เป็นยาแก้เสมหะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
จีนจะใช้โกฐหัวบัวเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ วัณโรค อาเจียนเป็นเลือด โรคเข้าข้อ ตกเลือด (เหง้า)
 ช่วยแก้อาการปวดหัวใจ (เหง้า)
ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นหน้าอก แน่นท้อง แก้ลม ขับลมในลำไส้ แก้ลมในกองริดสีดวง กระจายลมทั้งปวง (ลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอน ๆ ทำให้ผายออกมา) (เหง้า)
ใช้โกฐหัวบัวรักษาสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมีอาการปวดประจำเดือน (เหง้า)
ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อาการปวดจากเลือดคั่ง แก้ปวดข้อ ปวดกระดูก แก้ฟกช้ำปวดเจ็บต่าง ๆ รวมทั้งปวดฟัน (เหง้า)
ช่วยขับลมชื้นในร่างกาย หรือใช้โกฐหัวบัวเข้ากับตำรายาจีน เพื่อเป็นยาขับลมชื้นในร่างกายและทำให้หายปวดเมื่อยตามร่างกาย (เหง้า)
ส่วนใบมีกลิ่นหอมชื่นใจ ใช้เป็นยาขับพยาธิในท้อง แก้บิด เป็นยาขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ แก้ไอ แก้โรคประสาท และใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้หวัดและแก้ท้องร่วง (ใบ)
นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อนำโกฐหัวบัวไปเข้าตำรายารักษาโรคหัวใจ จะทำให้เส้นเลือดในหัวใจขยายตัวและลดความดันในเส้นเลือดได้ (เหง้า)
โกฐหัวบัวจัดอยู่ในพิกัดโกฐ ได้แก่ โกฐทั้งห้า โกฐทั้งเจ็ด และโกฐทั้งเก้า ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับเสมหะ แก้หืดไอ ขับลม บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก (เหง้า)
โกฐหัวบัวจะอยู่ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม ซึ่งได้แก่ ตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" และตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" ซึ่งมีส่วนประกอบของโกฐหัวบัวอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้า ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย คลื่นเหียน อาเจียน ใจสั่น แก้ลมจุกแน่นในท้อง (เหง้า)
ในตำรายาพระโอสถพระนารายณ์ มีปรากฏการใช้โกฐหัวบัวในตำรับ "ยาทรงนัตถุ์" ซึ่งมีส่วนประกอบรวม 15 ชนิด รวมทั้งโกฐหัวบัว โดยนำตัวยาทั้งหมดมาบดรวมกันให้เป็นผงละเอียด ใช้สำหรับนัตถุ์หรือดมเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ แก้วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา และอยู่ในตำรับ "มโหสถธิจันทน์" อีกขนานหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบรวม 16 สิ่ง รวมทั้งโกฐหัวบัวด้วย ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด (เหง้า)
ในตำรายาไทยมีการใช้โกฐหัวบัวใน "พิกัดจตุวาตะผล" ซึ่งเป็นตำรับยาจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลมที่ประกอบไปด้วยผล 4 อย่าง อันได้แก่ โกฐหัวบัว กระลำพัก เหง้าขิงแห้ง และอบเชยเทศ โดยมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม แก้ลมกองริดสีดวง (เหง้า)
นอกจากนี้ยังมีปรากฏการใช้โกฐหัวบัวในตำรับยาสมุนไพรประจำบ้าน ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขอีกหลายตำรับ เช่น "ยามันทธาตุ" (แก้ธาตุไม่ปกติ แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ), ตำรับ "ยาหอมเทพวิจิตร" (แก้ลม บำรุงหัวใจ), ตำรับ "ยาวิสัมพยาใหญ่" (แก้อาการจุกเสียด ท้องขึ้น อืดเฟ้อ) และในตำรับ "ยาประสะเปราะใหญ่" (ถอนพิษไข้ตานแทรกสำหรับเด็ก)
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโกฐหัวบัว
เหง้าโกฐหัวบัวมีน้ำมันระเหยและอัลคาลอยด์ (Alkaloid) กับสารจำพวก Phenols, Chidiumlantone, Cnidlide, Ferulic acid, Folic acid เป็นต้น
โกฐหัวบัวนั้นมีน้ำมันระเหยง่ายอยู่ประมาณ 2% ซึ่งในน้ำมันจะมี cnidium lactone, cnidic acid และมีชันซึ่งมีรสเปรี้ยว นอกจากนั้นยังมีสารจำพวก phthalide อีกหลายชนิด เช่น butylidenephthalide, butylpthalide, crysophanol, ferulic acid, ligustilide, neocni-dilide, perlolyrine, sedanonic acid, senkyunolide A, spathulenol, tetramethylpyrazine, wallichilide, 3-butylidine-7-hydroxyphthalide เป็นต้น
มีรายงานการวิจัยที่พบว่า โกฐหัวบัวสามารถลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้และมดลูกได้ และยังช่วยป้องกันการขาดออกซิเจนในเลือด ต้านอาการปวด อาการอักเสบ ช่วยขับเหงื่อ ขับประจำเดือน และช่วยทำให้นอนหลับได้นานขึ้น
เมื่อใช้น้ำที่สกัดได้จากเหง้าโกฐหัวบัว นำมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อของหัวใจที่แยกออกจากร่างของกระต่าย พบว่าสามารถขยายหลอดเลือดหัวใจของกระต่ายได้ จึงสรุปได้ว่า โกฐหัวบัวสามารถลดความดันในเส้นเลือดได้
เมื่อใช้น้ำที่สกัดได้จากเหง้าโกฐหัวบัว นำมาฉีดเข้าไปในมดลูกของกระต่ายที่กำลังตั้งครรภ์ พบว่าจะทำให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง แต่หากฉีดมากเกินไปจะทำให้การบีบตัวของมดลูกเกิดอาการชา และการบีบตัวได้หยุดบีบต่อ
ประโยชน์ของโกฐหัวบัว
ดอกใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับเครื่องสำอางแต่งหน้า
ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ค้นพบว่า สารสกัดจากเหง้าโกฐหัวบัว เป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงสูงที่สุด โดยสามารถป้องกันยุงกัดได้นานถึง 6.5 ชั่วโมง เทียบเท่ากับสารเคมีไล่ยุงดีดีที ซึ่งเป็นสารเคมีไล่ยุงมาตรฐานที่นิยมใช้และมีวางขายแพร่หลายตามท้องตลาด อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรืออาการแพ้ใด ๆ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ในอนาคตจึงสามารถพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการผลิตเป็นสารไล่ยุงทางเลือกจากธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีไล่ยุงชนิดต่าง ๆ ได้

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Sunday, March 17, 2019

สมุนไพรโกฐเขมา

โกฐเขมา ชื่อสามัญ Atractylodes, Atractylis



โกฐเขมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Atractylodes lancea (Thunb.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Atractylodes lyrata Siebold & Zucc., Atractylis chinensis (Bunge) DC.) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

 มีชื่อเรียกอื่นว่า โกฐหอม (ไทย), ชางตุ๊ก ซังตุ๊ก (จีนแต้จิ๋ว), ชางซู่ ชางจู๋ (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของโกฐเขมา
ต้นโกฐเขมา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นร่อง ลำต้นขึ้นเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ไม่แตกกิ่งก้านสาขาหรือแตกกิ่งเฉพาะตอนบน มีขนคล้ายใยแมงมุมเล็กน้อย เหง้าทอดนอนหรือตั้งขึ้น มีรากพิเศษขนาดเท่า ๆ กันจำนวนมาก มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และรัสเซีย มักขึ้นตามทุ่งหญ้าในป่าและตามซอกหิน มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีนและแมนจูเรีย ในมณฑลเจ้อเจียง เจียงซี เจียงซู ซานตงเสฉวน เหอหนาน หูเป่ย อันฮุย ฯลฯ โดยแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดคือ มณฑลหูเป่ย ส่วนแหล่งที่มีคุณภาพดีที่สุด คือ โกฐเขมาจากมณฑลเหอหนาน พืชชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่หลากหลายทั้งบนเขา หุบเขา หรือที่ราบเขา ต้องการชั้นดินที่หนาและลึก ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขัง และจะเจริญเติบโตได้ดีมากในบริเวณพื้นดินที่ไม่สูงนักและเป็นดินร่วนปนทราย มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 ปี


ใบโกฐเขมา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนแผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ลักษณะของใบมีหลายรูปแบบหรือเป็นรูปหอก ขอบใบมีขนครุยหรือหยักเป็นฟันเลื่อย ใบบริเวณกลางต้นมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรี รูปรีแคบ หรือรูปใบหอกกลับ ส่วนใบบริเวณใกล้โคนต้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือหยักแบบขนนก 3-5 แฉก แฉกปลายเป็นรูปกลม รูปไข่กลับ รูปไข่ หรือรูปรี ส่วนแฉกข้างเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรี ก้านใบสั้น หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนหลังใบมีคราบสีขาวเกาะอยู่

ดอกโกฐเขมา ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นตามปลายกิ่ง ออกเดี่ยวหรือหลายช่อ วงใบประดับซ้อนกันแน่นเป็นรูประฆัง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ใบประดับมีประมาณ 5-7 แถว ขอบมีขนคล้ายใยแมงมุมเล็กน้อย ปลายใบ โดยใบประดับวงในจะมีลักษณะเป็นรูปรีถึงรูปแถบ มีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.1-1.2 เซนติเมตร ส่วนใบประดับกลางจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมรีหรือรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และใบประดับที่อยู่วงนอกจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก มีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ปลายใบประดับในสุดอาจมีสีแดง ด้านบนของฐานดอกแบน มีเกล็ดหนาแน่น ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศหรือดอกเพศเมียที่มีเกสรเพศผู้ลดรูป กลีบเลี้ยงเป็นขนสีน้ำตาลถึงขาวหม่น มี 1 แถว โคนติดกันเป็นวง ยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร กลีบดอกยาวประมาณ 9 มิลลิเมตร ปลายเป็นหยัก 5 หยัก เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดที่หลอดกลีบดอก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบมี 1 ช่อง ก้านยอดเกสรเพศเมียจะสั้น ยอดเกสรเพศเมียเป็นสามเหลี่ยม มีขนนุ่ม เกสรเพศเมียจะแยกเป็น 2 แฉก

ผลโกฐเขมา ผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ออกดอกและเป็นผลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม
เหง้าโกฐเขมา เหง้ามีลักษณะค่อนข้างกลมหรือยาวเป็นรูปทรงกระบอก หรืออาจมีแง่งยาวแยกออกไปบ้าง มีความยาวได้ประมาณ 3-10 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผิวมีลักษณะขรุขระ เป็นปุ่มปม เปลือกนอกคล้ายผิวมะกรูด มีสีน้ำตาลอมเทา สีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาลแกมดำ มีรอยย่นและรอยบิดตามขวาง เนื้อในแน่น เมื่อฝานหัวออกใหม่ ๆ จะเป็นสีขาวขุ่นที่เนื้อใน และมีแต้มสีแสดของชันน้ำมันอยู่ประปรายทั่วไป มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสหวานอมขมเล็กน้อย และเผ็ดร้อน โดยเหง้าใต้ดินนี้จะเรียกว่า "โกฐเขมา" เมื่อนำมาดองกับเหล้าจะทำให้ยาดองเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม

หมายเหตุ : ในวงศ์ของโกฐเขมา จะมีหลายพันธุ์ เช่น Atractylodes lancea Sieb .et Zucc., A. ovata DC., A. chinensis DC. ซึ่งเหล่านี้เป็นตระกูลเดียวกันแต่จะต่างพันธุ์กัน ส่วนมากพบทางภาคเหนือของประเทศจีน สามารถนำมาใช้แทนกันได้

สรรพคุณของโกฐเขมา
เหง้าโกฐเขมามีรสเผ็ดขมหอม เป็นยาสุขุม ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร
ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้หวัดคัดจมูก แก้เหงื่อออกมาก แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง แก้ลมตะกัง
ใช้เป็นยาแก้หอบหืด ช่วยระงับอาการหอบคล้ายยาอีเฟรดริน
ใช้เป็นยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ ขับพิษเสมหะ
ใช้เป็นยาแก้โรคในปากในคอ โรคในปากในคอเป็นแผลเน่าเปื่อย
เหง้าใช้เป็นยาขับลม ขับลมชื้นในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกแน่น ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะ และช่วยแก้เสียดแทงสองราวข้าว
ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ท้องร่วง
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้เป็นยาแก้โรคเข้าข้อ แก้ขาปวดบวม ขาไม่มีแรง ปวดข้อ
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน ระบุว่า โกฐเขมานั้นมีฤทธิ์ขับลมและความชื้น, แก้ความชื้นกระทบส่วนกลาง (เบื่ออาหาร อาเจียน อึดอัดลิ้นปี่ จุกเสียด ท้องเสีย), ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดจากลมเย็นหรือความชื้น (จับไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว), ช่วยเสริมระบบการย่อยอาหาร และแก้อาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ
แพทย์แผนโบราณของจีนจะนิยมใช้โกฐเขมามาก ใช้เข้ายาจีนหลายขนาน ตำรายาจีนจะใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้ปวดข้อเนื่องจากข้ออักเสบ แก้อาการบวม (โดยเฉพาะอาการบวมที่ขา) แก้หวัด และแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน โดยใช้ในขนาดประมาณ 3-9 กรัม นอกจากนี้ยังใช้โกฐเขมาเข้ากับยาอีกหลายตัว เป็นตำรายาแก้ตับอักเสบด้วย
ในบัญชียาจากสมุนไพรตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้โกฐเขมารวม 2 ตำรับ คือ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม มีปรากฏในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" และตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" ที่มีส่วนประกอบของโกฐเขมาอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง และในกลุ่มยารักษาอาการทางระบบอาหาร มีปรากฏการใช้โกฐเขมาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ "ยาธาตุบรรจบ" ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ ช่วยแก้อาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
โกฐเขมาเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า "พิกัดโกฐ" โดยโกฐเขมานั้นจัดอยู่ใน "โกฐทั้งห้า" (เบญจโกฐ), "โกฐทั้งเจ็ด" (สัตตโกฐ) และ "โกฐทั้งเก้า" (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้สะอึก แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม ใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก
ขนาดและวิธีใช้ ให้ใช้เหง้าครั้งละ 5-12 กรัม นำมาต้มกิน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา

การเตรียมตัวยาโกฐเขมาให้พร้อมใช้
วิธีที่ 1 โกฐเขมาแห้ง เตรียมโดยการนำวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้มาแช่ในน้ำสักครู่ ล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำไปใส่ในภาชนะปิดฝาไว้เพื่อให้อ่อนนุ่ม นำมาหั่นเป็นแว่นหนา ๆ แล้วนำไปทำให้แห้ง
วิธีที่ 2 โกฐเขมาผัดเกรียม จะมีรสเผ็ด มีฤทธิ์ช่วยให้การทำงานของลำไส้แข็งแรง แก้ท้องเสีย ช่วยรักษาอาการท้องเสียเนื่องจากม้ามพร่อง และโรคบิดเรื้อรัง ให้เตรียมโดยการนำตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 1 นำมาใส่ในกระทะ ผัดโดยใช้ไฟปานกลางจนกระทั่งผิวนอกของตัวยามีสีน้ำตาลไหม้ จากนั้นพรมน้ำเล็กน้อย แล้วผัดต่อโดยใช้ไฟอ่อน ๆ จนตัวยาแห้ง แล้วนำออกจากเตาและทิ้งไว้ให้เย็น เสร็จแล้วก็ร่อนเอาเศษเล็ก ๆ ออก
วิธีที่ 3 โกฐเขมาผัดรำข้าวสาลี จะช่วยเพิ่มฤทธิ์ให้การทำงานของม้ามและกระเพาะอาหารดีขึ้น ช่วยรักษาอาการของม้ามและกระเพาะอาหารทำงานไม่สัมพันธ์กัน แก้เสมหะเหนียวหนืด แก้ต้อหิน และแก้โรคตาบอดกลางคืน ให้เตรียมโดยนำรำข้าวสาลีมาใส่ลงในภาชนะที่เหมาะสม ให้ความร้อนโดยใช้ไฟปานกลางจนกระทั่งมีควันออกมา ใส่ตัวยาที่ได้จากวิธีที่ 1 ลงไป แล้วคนอย่างรวดเร็วจนกระทั่งผิวของตัวยาเป็นสีเหลืองเข้ม จากนั้นนำออกจากเตา แล้วร่อนเอารำข้าวสาลีออกและตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโกฐเขมา
เหง้าโกฐเขมามีองค์ประกอบเคมีเป็นน้ำมันระเหยง่ายอยู่ประมาณ 3.5-5.6% ในน้ำมันระเหยง่ายจะประกอบไปด้วยสารสำคัญ คือ Atractylon, Atractylodin, β-Eudesmol, Elemol, Hinesol, สารกลุ่ม Polyacetylene, Coumarin และยังพบวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินดี และกลูโคส เป็นต้น
โกฐเขมา มีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบ ต้านปวด ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดอุณหภูมิกาย ลดความดันโลหิต
เมื่อนำน้ำต้มของโกฐเขมามาป้อนให้กระต่ายเป็นเวลา 10 วัน พบว่าน้ำตาลในเลือดของกระต่ายลดลง เมื่อหยุดยาก็ไม่พบว่าน้ำตาลในเส้นเลือดของกระต่ายจะเพิ่มขึ้น
เมื่อนำน้ำที่ได้จากการต้มโกฐเขมา มาฉีดเข้าหัวใจของคางคก ก็พบว่าการเต้นของหัวใจอ่อนลง หรือฉีดยาเข้าเส้นเลือดใหญ่ของคางคก พบว่าเส้นเลือดของคางคกจะมีการขยายตัวเล็กน้อย
จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเหง้าโกฐเขมาด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 1,786 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Saturday, March 16, 2019

สมุนไพรโกฐก้านพร้าว

โกฐก้านพร้าว ชื่อสามัญ Picorrhiza



โกฐก้านพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ Picrorhiza kurroa Royle ex Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Picrorhiza lindleyana Steud, Veronica lindleyana Wall.) (พันธุ์จากอินเดีย), Neopicrorhiza scrophulariiflora (Pennell) D.Y.Hong (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Picrorhiza scrophulariiflora Pennell) (พันธุ์จากทิเบต)ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE)

สมุนไพรโกฐก้านพร้าว มีชื่อเรียกอื่นว่า หูหวางเหลียน (จีนกลาง), กะฎุกะ, กฏุโรหินี, กฏุกะโรหินี, โอ่วไน้ เป็นต้น

ลักษณะของโกฐก้านพร้าว
ต้นโกฐก้านพร้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1-2 ปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของป่าหิมพานต์จากแคชเมียร์ไปจนถึงแคว้นสิกขิมของประเทศอินเดีย มีการปลูกมากในประเทศจีน เขตปกครองตนเองของทิเบต เนปาล และในศรีลังกา


ใบโกฐก้านพร้าว ใบออกติดกับราก ซ้อนกันเหมือนใบดอกบัว ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรีเหมือนช้อน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-5 เซนติเมตร


ดอกโกฐก้านพร้าว ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นจากโคนใบ ดอกมีสีม่วงเข้มหรือสีม่วงน้ำเงิน ก้านดอกยาว


ผลโกฐก้านพร้าว ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กลม ส่วนเมล็ดเป็นรูปไข่ สีดำเงา ขนาดยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร
โกฐก้านพร้าว คือ ส่วนของรากหรือเหง้าแห้งที่นำมาใช้เป็นยา โดยจะมีลักษณะกลมยาว ผิวขรุขระ มีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับก้านย่อยของช่อดอกมะพร้าวเมื่อช่อดอกนั้นติดลูก ที่เรียกกันว่า "หางหนูมะพร้าว" มีข้อคล้ายตะไคร้ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีประมาณ 5-8 ข้อ แต่ละข้อจะมีขน ผิวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมเทาเข้ม มีวง ๆ อันเป็นแผลเป็นของตา มีตาและมีส่วนของลำต้นติดอยู่บ้าง เนื้อนิ่ม รากจะมีรอยย่นตามแนวยาว มีรอยแตกตามขวาง และมีรอยแผลเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลเป็นจุด ๆ ที่รอยหักแข็ง ส่วนเนื้อในนั้นเป็นสีดำ เป็นสมุนไพรที่มีรสขมจัดและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว


หมายเหตุ : โกฐก้านพร้าว ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picrorhiza kurroa Royle ex Benth. เป็นพันธุ์จากอินเดีย ส่วน Picroriza scrophulariora Pennell. เป็นพันธุ์จากทิเบต แต่สามารถนำมาใช้แทนกันได้

สรรพคุณของโกฐก้านพร้าว
รากโกฐก้านพร้าวมีรสขม เป็นยาเย็นจัด ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ตับ และลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น แก้เลือดกำเดา อาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือด
ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน ลดไข้ แก้ไข้ แก้ไข้เรื้อรัง แก้ไข้ซึ่งมีอาการให้สะอึก แก้สะอึก แก้อาเจียน แก้เสมหะเป็นพิษ แก้เหงื่อออกไม่รู้ตัว แก้ซางตัวร้อนในเด็ก
รากและเหง้าใช้เป็นยาแก้หอบ แก้หอบเพราะเสมะหะเป็นพิษ
รากใช้เป็นยาแก้ลม ช่วยขับความชื้นในร่างกาย
ใช้เป็นยาแก้โรคบิด แก้บิดชนิดปวดท้องน้อย
ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร
ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว
ในบัญชียาจากสมุนไพรตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้โกฐก้านพร้าวในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม มีปรากฏในตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” ที่มีส่วนประกอบของโกฐเขมาอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง
โกฐก้านพร้าวเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐก้านพร้าวนั้นจัดอยู่ใน “โกฐทั้งห้า” (เบญจโกฐ), “โกฐทั้งเจ็ด” (สัตตโกฐ) และ “โกฐทั้งเก้า” (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้สะอึก แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม ใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก
ในตำราอายุรเวทของอินเดียกล่าวว่า ถ้าใช้โกฐก้านพร้าวในขนาดต่ำ ๆ จะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร และเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่ถ้าใช้มากจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง และเชื่อกันว่าเป็นยาแก้ไข้จับสั่นและเป็นยาขับน้ำดี
ขนาดและวิธีใช้ : ให้นำมาบดเป็นยาผง ใช้รับประทานครั้งละ 0.5-1.5 กรัม โดยใช้ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 3-10 กรัม

ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีธาตุอ่อน ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เกินขนาด และรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของโกฐก้านพร้าว
สารที่พบในโกฐก้านพร้าว ได้แก่ สาร Cuthartic acid, D-Mannitalm, Kutkin, Kutkisterol, Picroside Rutkisterol, Vanillic acid เป็นต้น ส่วนในผลพบแป้ง น้ำตาล โปรตีน และวิตามินซี
โกฐก้านพร้าวมีสารขมที่ชื่อว่า Picrorrhizin อยู่ในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังมีสารที่แสดงฤทธิ์ต่อหัวใจหลายชนิด และสารอื่น ๆ อีก เช่น aucubin และสารในกลุ่ม iridoid glycosides
จากการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่าโกฐก้านพร้าวมีฤทธิ์ลดความเครียด ลดระดับไขมันในเลือด ปรับระบบภูมิคุ้มกัน ต้านออกซิเดชั่น แก้แพ้ ขยายหลอดลม ขับปัสสาวะ ปกป้องตับ ป้องกันการเกิดเนื้องอก ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ฯลฯ
เมื่อนำโกฐก้านพร้าวไปต้มกับน้ำในสัดส่วน 1 ต่อ 4 พบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
สารสกัดที่ได้จากรากโกฐก้านพร้าว นอกจากจะสามารถต่อต้านเชื้อได้หลายชนิดแล้ว ยังสามารถนำมาใช้แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะที่ติดเชื้อและตับอักเสบได้ด้วย
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเหง้าโกฐก้านพร้าวด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 12,500 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูทดลอง ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, March 14, 2019

สมุนไพรโกฐกระดูก

สมุนไพรโกฐกระดูก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี

ชื่อสามัญ Costus  โกฐกระดูก ชื่อวิทยาศาสตร์ Aucklandia lappa DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Saussurea lappa (Decne.) C.B.Clarke) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
สมุนไพรโกฐกระดูก มีชื่อเรียกอื่นว่า บักเฮียง (จีนแต้จิ๋ว), มู่เชียง มู่เซียง (จีนกลาง) เป็นต้น



ลักษณะของโกฐกระดูก
ต้นโกฐกระดูก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กและมีขนขึ้นปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้านสาขา

ใบโกฐกระดูก ใบมีขนาดใหญ่ เป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปสามเหลี่ยม โคนใบเว้าเข้าหากัน ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยลักษณะคล้ายหนาม หน้าใบเป็นสีเขียวและมีขนหยาบ ๆ ขึ้นปกคลุม ส่วนหลังใบเป็นสีเขียวอ่อนอมเหลือง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 100 เซนติเมตร ก้านใบยาว



ดอกโกฐกระดูก ดอกเป็นสีม่วงเข้ม โดยจะออกติดกับโคนใบ ก้านดอกยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม ๆ เล็ก ๆ ในดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 10 ชั้น เป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกยาวประมาณ 9-25 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ลักษณะคล้ายดอกบานไม่รู้โรย ดอกขาว ดอกสีม่วงเข้ม เป็นดอกเดี่ยว

ผลโกฐกระดูก ผลมีลักษณะเป็นเส้นแบน ยาว 6 มิลลิเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออก
โกฐกระดูก คือส่วนของรากที่นำมาใช้เป็นยาและเรียกว่า "โกฐกระดูก" โดยจะเป็นรากสะสมอาหารที่มีขนาดใหญ่ รากเป็นสีเทาถึงสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมยาวเป็นรูปกระสวย คล้ายกระดูก เนื้อแข็ง มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-5 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอมเทา หรือเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีรอยย่นชัดเจนและมีร่องตามยาว ผิวนอกมีร่องไขว้ไปมาคล้ายร่างแห ส่วนด้านข้างมีรอยแผลเป็นรากแขนง เนื้อแข็งและหักยาก รอยหักเป็นสีน้ำตาลอมเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม พบรากแขนงบ้างเล็กน้อย เมื่อนำมาผ่าตามแนวขวาง เนื้อในรากจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนนอกที่บางกว่า และส่วนในที่เป็นเนื้อราก ซึ่งจะมีสีจางกว่า วงแคมเบียมสีน้ำตาล และมีลายเส้นตามแนวรัศมี ส่วนเนื้อตรงกลางจะยุบตัวลงและมีรูพรุน ตามตำรายาไทยว่ามีรสขม หวาน มัน มีกลิ่นหอมเฉพาะ (ตำรายาโบราณบางเล่มก็เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "โกฐหอม" เนื่องมาจากมีกลิ่นหอมที่ชวนดม)


สรรพคุณของโกฐกระดูก
รากโกฐกระดูกมีรสเผ็ดขม มีกลิ่นหอม เป็นยาสุขุมออกฤทธิ์ต่อปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ และตับใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ราก)
ใช้เป็นยาไขมันในเลือดลดน้ำตาลในเลือด (ราก)
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น
ช่วยบำรุงกระดูก (ราก)
ใช้เป็นยาแก้โรคโลหิตจาง (เปลือกราก)
รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ตำรายาไทยใช้รากปรุงเป็นยาหอมรับประทานแก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ขับลมในลำไส้ และแก้โรคโลหิตจาง (ราก, เปลือกราก)
ใช้เป็นยาแก้อาเจียน (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้เสมหะและลม ใช้แก้หืดหอบ แก้ลมในกองเสมหะ (ราก)
ช่วยกระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้ให้บีบตัว ทำให้น้ำย่อยของกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น จึงสามารถนำมาใช้เป็นยาขับลมในกระเพาะ ลำไส้ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยในการย่อยอาหารได้ อีกทั้งยังช่วยแก้อาการจุกเสียด จุกเสียดแน่นท้อง และยังช่วยขับลมชื้นได้ด้วย ตำรับยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จะใช้โกฐกระดูก 10 กรัม, โกฐเขมาขาว 10 กรัม และเปลือกส้ม 8 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)ส่วนเปลือกรากก็มีสรรพคุณเป็นยาขับลมในลำไส้เช่นกัน (เปลือกราก)
รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ปวดกระเพาะ ตำรับยาแก้ปวดกระเพาะจะใช้โกฐกระดูก 30 กรัม, ดีปลี 30 กรัม, ข่าลิง 30 กรัม, หนังกระเพาะไก่ 30 กรัม, ส้มมือ 15 กรัม, อบเชย 8 กรัม, ลิ้นทะเล 100 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 8 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง ส่วนตำรับยาแก้อาการปวดท้องของโรคบิด จะใช้โกฐกระดูก 10 กรัม และฟ้าทะลายโจร 10 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ชงกับน้ำรับประทาน (ราก)
ผงจากรากโกฐกระดูก สามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่และฆ่าเชื้อไทฟอยด์ (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ปวด (ราก)
ในบัญชียาจากสมุนไพร ตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้สมุนไพรโกฐกระดูกในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม โดยมีปรากฏอยู่ในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" และตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" ซึ่งมีส่วนประกอบของโกฐกระดูกอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้อาการหน้ามืด ตาลาย แก้ลมวิงเวียน ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง และมีปรากฏในยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ในตำรับ "ยาประสะกานพลู" ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียดแน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย อันเนื่องมาจากธาตุไม่ปกติ
โกฐกระดูกเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐกระดูกนั้นจัดอยู่ใน “โกฐทั้งห้า” (เบญจโกฐ), “โกฐทั้งเจ็ด” (สัตตโกฐ) และ “โกฐทั้งเก้า” (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้สะอึก แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม ใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก
นอกจากนี้ในตำรายาไทยยังมีการนำโกฐกระดูกมาใช้ในอีกหลายตำรับ เช่น ตำรับยา "พิกัดสัตตะปะระเมหะ" (เป็นตำรับยาที่มีการจำกัดจำนวนตัวยาแก้เสมหะที่มีกลิ่น 7 อย่าง คือ โกฐกระดูก, ลูกกระวาน, ผลรักเทศ, ตรีผลาวะสัง, ต้นก้นปิด และต้นตำแย่ทั้ง 2) ที่มีสรรพคุณเป็นยาชำระมลทินโทษให้ตกไป ช่วยชำระเมือกมันในลำไส้ และแก้อุจจาระธาตุลามก, ในตำรับยา "พิกัดตรีทิพย์รส" (เป็นการจำกัดจำนวนของที่มีรสดี 3 อย่าง ได้แก่ โกฐกระดูก เนื้อไม้กฤษณา และอบเชยไทย) ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ และช่วยแก้ลมในกองเสมหะ
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ในขนาด 3-10 กรัม ต่อ 1 ครั้ง หรือตามที่ต้องการ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ในขนาด 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก ต้มกับน้ำร้อนนาน 30 นาที ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น


ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Wednesday, March 13, 2019

สมุนไพรแก้วลืมวาง

สมุนไพรแก้วลืมวางชื่อสามัญ Chinese Pink

แก้วลืมวาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Dianthus chinensis L. จัดอยู่ในวงศ์ CARYOPHYLLACEAE[1],[2]

 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผีเสื้อ (กรุงเทพฯ), เก็งชุ้งล้อ (จีน-กรุงเทพฯ), ฉวีม่าย (จีนกลาง), สือจู๋ (จีนกลาง) เป็นต้น



ลักษณะของแก้วลืมวาง
ต้นแก้วลืมวาง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ร่วนซุย เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในเขตอบอุ่นแถบเหนือ


ใบแก้วลืมวาง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน โคนใบเชื่อมติดกันเล็กน้อย ไม่มีก้านใบ ใบมีขนาดเล็ก ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแคบ ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ มีสีเขียวอ่อน


ดอกแก้วลืมวาง ออกดอกบริเวณปลายยอด มีประมาณ 1-3 ดอก ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก ยาวประมาณ 16-24 เซนติเมตร โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็นแฉกแหลม ตั้งตรงมี 5 แฉก และกลีบดอกมีขนาดยาวประมาณ 1-25 มิลลิเมตร ขอบกลีบดอกหยักเป็นซี่ ๆ ห่างกัน มีทั้งสีแดงแกมขาว สีแดงม่วงอ่อน หรือสีแดงแกมสีแดงดำ กลางดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ท่อเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 2 แฉก


ผลแก้วลืมวาง ผลหุ้มอยู่ในโคนกลีบ ปลายผลหยักเป็นเลื่อย มี 4 ซีก สีแห้ง
สรรพคุณของแก้วลืมวาง
ทั้งต้นมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ไต กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้เล็ก ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน (ต้น)
ต้นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือด ตำรับยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน จะใช้แก้วลืมวาง, ผักกาดน้ำ, ชะเอม และรากต้นพุดตาน นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ต้น)


ลำต้นใช้เป็นยาขับระดูของสตรี (ต้น)
ใช้เป็นยาแก้แผลเน่าเปื่อย ด้วยการใช้ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำล้างแผล (ต้น)
ใช้เป็นยารักษาฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝี (ต้น)
ใช้เป็นยารักษาบาดแผล รักษาโรคโกโนเรีย แก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน (ต้น)
ลำต้นใช้เป็นยาแก้โรคมะเร็งผิวหนัง แก้โรคเรื้อน (ต้น)
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ประมาณ 5-12 กรัม ต่อ 1 ครั้ง นำมาต้มรับประทาน

ข้อควรระวัง : ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับสตรีมีครรภ์ เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของแก้วลืมวาง
สารสำคัญที่พบในสมุนไพรชนิดนี้ คือ พบน้ำมันระเหยที่ดอก เช่น Eugenol, Phenylethylalcohol, Benzyl benzoate, Benzyl salicylate, Methyl salicylate เป็นต้น ส่วนในต้นพบ Japonin, Alkaloid, น้ำตาล และวิตามินเอ
เมื่อใช้น้ำที่ต้มได้จากต้นแก้วลืมวาง นำมาฉีดเข้ากระเพาะอาหารของกระต่ายในปริมาณ 2 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่าภายใน 6 ชั่วโมง กระต่ายจะมีปัสสาวะเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2.5 เท่าของปกติ
น้ำที่ต้มได้จากต้นแก้วลืมวาง เมื่อนำมาฉีดเข้าลำไส้ของกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ให้แรงขึ้น
เมื่อใช้สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ นำมาฉีดเข้าเส้นเลือดของกระต่าย พบว่าจะทำให้การเต้นของหัวใจอ่อนลง และความดันลดลง

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สมุนไพรแก้มขาว


สมุนไพรแก้มขาว ชื่อสามัญ Butterfly Flower

แก้มขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Mussaenda sanderiana Ridl. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรแก้มขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะเบ้อขาว (เลย), กำเบ้อ กำเบ้อขาว ผีเสื้อ (เพชรบูรณ์), แก้มขาว (นครราชสีมา, ภาคกลาง), รางแก้ม (ลั้วะ), พอแต (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แก้มอ้น, ดอกย่าป่า, ใบต่างดอก เป็นต้น



ลักษณะของแก้มขาว
ต้นแก้มขาว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร เนื้อไม้เหนียว ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาลเทาถึงเข้ม ส่วนกิ่งก้านแตกแขนงเป็นพุ่มแน่นในช่วงปลายกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดกับวิธีตอนกิ่ง มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรอินโดจีน พบได้มากตามชายป่าดิบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบได้ตามป่าดิบเขา หรือป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400-1,300 เมตร ชอบความชุ่มชื้นและมีแสงแดดปานกลาง


ใบแก้มขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบแผ่เป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร มีขนละเอียดทั้งสองด้าน หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบแผ่มองเห็นเส้นแขนงใบเป็นลอน หูใบชัดเจนอยู่ระหว่างก้านใบ


ดอกแก้มขาว ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ก้านดอกสั้น กลีบดอกเป็นสีเหลืองสดถึงสีส้ม เชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนกลีบเลี้ยงส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปากหลอดมีขนละเอียดยาว ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เกสรเพศผู้อยู่ในหลอดดอกมี 5 อัน ดอกแก่มีใบเลี้ยงขนาดใหญ่ 1 กลีบ มีสีขาวนวล ลักษณะคล้ายใบเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ปลายแหลมคอดเรียว โคนใบมนและสอบเรียว




ผลแก้มขาว ผลเป็นผลสด มีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีขนาดเล็ก สีเขียว ผิวมีช่องอากาศ ปลายผลยังคงมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่เนื้อจะนุ่ม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ใน 1 พวงจะมีผลประมาณ 15-20 ผล
สรรพคุณของแก้มขาว
เปลือก เนื้อไม้ และเหง้าแก้มขาว มีสรรพคุณเป็นยากระจายโลหิต (เปลือก, เนื้อไม้, เหง้า)
ชาวลั้วะจะใช้ลำต้นนำมาต้มน้ำดื่มและผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีก 9 ชนิด เป็นยาบำรุงกำลัง (ลำต้น)
เถาแก้มขาวมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ผิดสำแดง (เถา)
เถาใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดู (เถา)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากแก้มขาว นำมาขูดผสมกับรากผักคราด และรากแข้งกวางดง ใช้ตุ๋นกับไก่กิน เป็นยาแก้ปวดฟัน (ราก)
ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้รากแก้มขาวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย ช่วยเจริญอาหาร (ราก)
ลำต้นใช้เข้ายารักษาโรคริดสีดวงทวาร (ลำต้น)
ใช้เป็นยาขับน้ำนิ่วในไต (เปลือก, เนื้อไม้, เหง้า)
ประโยชน์ของแก้มขาว
ในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วไป

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com