คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Sunday, April 28, 2019

สมุนไพรคำเตี้ย

คำเตี้ย

คำเตี้ย ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygala chinensis L. จัดอยู่ในวงศ์ต่างไก่ป่า (POLYGALACEAE)



สมุนไพรคำเตี้ย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มักกำ (เชียงใหม่), ม้าอีก่ำ ม้าอีก่ำแดง (อุบลราชธานี), ถั่วสลัม, ปีกไก่ดำ, ม้าแม่ก่ำ, หญ้ารากหอม, เนียมนกเขา, เตอะสิต่อสู่, หญ้าปีกไก่ดำ เป็นต้น

ลักษณะของคำเตี้ย
ต้นคำเตี้ย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุเพียงฤดูเดียว มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะต้นตรงหรือทอดเลื้อยและชูยอดขึ้น ตรงปลายกิ่งเป็นเหลี่ยม ลำต้นกลมและมีขนขึ้นปกคลุม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7-2.5 เซนติเมตร รากมีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าสน และบริเวณที่โล่งในป่าดิบแล้ง

ใบคำเตี้ย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมไข่กลับถึงรูปใบหอกปลายใบมน เรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มและรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวหรือออกม่วง ก้านใบยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร

ดอกคำเตี้ย ออกดอกเป็นช่อกระจะ โดยจะออกเป็นกระจุกสั้น ๆ ตามซอกใบ ยาวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยมีประมาณ 5-16 ดอก กลีบดอกเป็นสีขาวครีม มี 3 กลีบ เชื่อมกันที่ฐาน กลีบดอกมีลักษณะคล้ายรูปดอกถั่ว สีขาว โคนกลีบเป็นสีเขียว กลีบบนมี 2 กลีบ ลักษณะเป็นรูปช้อนหรือรูปสามเหลี่ยม ส่วนกลีบล่างมี 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูปเกือบมน มีรยางค์คล้ายแปรง ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน ติดกับกลีบดอก ไม่มีจานฐานดอก เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ขอบเป็นขนครุย มี 2 คาร์เพล ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวมี 4 อัน แยกกัน มี 2 ชั้น มีขนที่ขอบกลีบเลี้ยง กลีบคู่ล่างมี 2 กลีบ คล้ายกลีบดอก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

ผลคำเตี้ย ผลเป็นผลแห้งแตกแบบแคปซูล ลักษณะแบน มีกลีบเลี้ยงติดทน ภายในมีเมล็ดสีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ด เมล็ดมีเยื่อที่ขั้ว

สรรพคุณของคำเตี้ย

ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้ทั้งต้นคำเตี้ย นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย เหน็ดเหนื่อย ร่างกายทรุดโทรม (ทั้งต้น)หรือจะใช้รากนำมาต้มหรือดองกับเหล้ากินก็ได้ โดยอาจใส่น้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อทำให้กินได้ง่ายขึ้น แต่การดองควรนำไปตากแห้งก่อน (ราก)
คำเตี้ยหรือม้าแม่ก่ำจัดว่าเป็นยาม้าของคนไทยใหญ่เลยก็ว่าได้ โดยเชื่อว่าถ้าถอนรากมาต้มกินติดต่อกันอย่างน้อย 10 วัน จะช่วยบำรุงกายได้ดีมาก เดินขึ้นเขาได้สบาย ไม่เหน็ดเหนื่อย หมอยาไทใหญ่ยังบอกว่า กินยานี้แล้วจะช่วยทำให้หลับสบาย คลายเครียด เพิ่มกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้เลือดไหลเวียนดี ดังนั้นในตำรับยาบำรุงกำลังของหมอยาไทใหญ่จึงมักมีม้าแม่ก่ำหรือคำเตี้ยอยู่ด้วยเสมอ โดยจะใช้เป็นสมุนไพรเดี่ยวหรือใช้ผสมกับยาบำรุงกำลังอื่น ๆ ในตำรับก็ได้ ใช้ได้ทั้งการต้มและดองกับเหล้ากิน เช่น พ่อสายแดดจะมีตำรับยากำลังม้า ซึ่งจะประกอบไปด้วย คำเตี้ย ม้าสามต๋อน และตานคอม้า ใช้ต้มกินเป็นประจำเพื่อบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย เหน็ดเหนื่อย ปวดเมื่อย ร่างกายทรุดโทรม และช่วยกำจัดโรคภัยทุกชนิด (ราก, ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งต้น)
ใช้เป็นยาแก้หวัด (ทั้งต้น)
ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ ไอหนัก ๆ ช่วยขับเสมหะเหนียวข้นให้ออกมาได้โดยง่าย (ราก, ทั้งต้น)
ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการหอบหืด (ราก, ทั้งต้น)
ตำรับยาแก้หัวใจอ่อน ท้อแท้ และหมดเรี่ยวแรง จะใช้รากคำเตี้ย (ม้าแม่ก่ำ) และรากพวงพี (พนมสวรรค์) นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก)
ตำรับยาแก้ฝีในท้องจะใช้รากคำเตี้ย (ม้าแม่ก่ำ) รากเข็มขาว และรากเข็มแดง นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก)
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้เป็นยาเดี่ยวหรือใช้ผสมกับลำต้นม้ากระทืบโรง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลังทางเพศ (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (ทั้งต้น)
ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันงา นำมานวดเส้น (ทั้งต้น)
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงน้ำนมของสตรี (ราก)
ต้นคำเตี้ยเป็นตัวยาหนึ่งในตำรับยารักษามะเร็งของหมอสมหมาย ทองประเสริฐ ซึ่งในตำรับยาจะเรียกว่า หญ้าปีกไก่ดำหรือม้าอีก่ำ โดยส่วนประกอบทั้งหมดของยาตำรับนี้ ได้แก่ คำเตี้ยหรือปีกไก่ดำ (Polygala chinensis L.), เหง้าพุทธรักษา (Canna indica Linn), ไฟเดือนห้า (Ludwigia hyssopifolia (G.Don) well), พญายอ (Clinacanthus nutan Lindl.), เหงือกปลาหมอ (Acanthus ebracteatus), แพงพวยฝรั่ง (Catharanthus roseus CL.), ข้าวเย็นเหนือ (Smilax corbularia Kunth C) และข้าวเย็นใต้ (Smilax glabra)
คำเตี้ยหรือม้าแม่ก่ำจัดอยู่ในเภสัชตำรับของอินเดีย ปากีสถาน ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Indian Senega และมีชื่อจีนว่า Yuan Zhi โดยจัดเป็นหนึ่งใน 50 สมุนไพรที่จีนใช้มากที่สุด มีสรรพคุณเด่นคือการเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงสมอง ใช้รักษาความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น หลงลืมง่าย อารมณ์แปรปรวน เครียด กังวล นอนไม่หลับ หวัดไอที่มีเสมหะเหนียวข้น หอบหืด แผล ฝี หนอง น้ำร้อนลวก

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สมุนไพรค่าหด

ค่าหด

ค่าหด ชื่อวิทยาศาสตร์ Engelhardtia spicata Lechen ex Blume, (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Engelhardtia aceriflora (Reinw.) Blume) จัดอยู่ในวงศ์ค่าหด (JUGLANDACEAE)



สมุนไพรค่าหด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ข่าหด เก็ดลิ้น ฮ่อจั่น (จันทบุรี), ปอแก่นเทา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ยมโดย (ภาคใต้), เก็ดลิ่น, ลบลีบ เป็นต้น

ลักษณะของค่าหด
ต้นค่าหด จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 15-30 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงพุ่มกลม ลำต้นมักคดงอ เปลือกต้นหนาแตกเป็นร่องลึกสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นชัดเจนพบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นทางภาคใต้ ตั้งแต่ระดับ 500-1,500 เมตร

ใบค่าหด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 1-6 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปรียาว รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสาก ส่วนใบแก่ผิวเรียบ และจะทิ้งใบหมดก่อนออกดอก

ดอกค่าหด ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ ลักษณะห้อยลง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่กันคนละช่อ ดอกเพศผู้จะรวมกันเป็นช่อสั้นแบบหางกระรอก ส่วนดอกเพศเมียจะอยู่รวมกันเป็นช่อห้อยลงมา แต่ละดอกจะมีกาบบาง ๆ เป็นรูปแฉกสามเหลี่ยมสีเหลืองอ่อนรองรับ และกาบนี้จะเจริญต่อไปเป็นผล

ผลค่าหด ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม แข็ง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีขนแข็งสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมแน่น มีใบประดับเป็นกาบปลายแยกเป็นสามแฉกบาง ๆ ติดอยู่ ง่ามกลางจะยาวที่สุดประมาณ 4 เซนติเมตร

สรรพคุณของค่าหด

เปลือกต้นใช้เป็นยารักษาอาการปวดฟัน (เปลือกต้น)
ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นค่าหดนำมาฝนกับต้นมะขามป้อม ใช้กินหลังคลอดเป็นยาคุมกำเนิด (ลำต้น)
เปลือกต้นนำมาต้มให้หญิงหลังคลอดบุตรอาบ ช่วยให้มดลูกหดตัวเร็ว (เปลือกต้น)
เปลือกต้นนำมาต้มอาบเป็นยารักษาตุ่มคันในเด็ก (เปลือกต้น)
เปลือกต้นนำไปผิงไฟอุ่น แล้วนำมาทาแผล เป็นยาสมานแผลอักเสบ (เปลือกต้น)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Friday, April 26, 2019

สมุนไพรกางขี้มอด

กางขี้มอด

กางขี้มอด ชื่อสามัญ Black Siris, Ceylon Rose Wood, Crofton weed




กางขี้มอด ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia odoratissima (L.f.) Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acacia odoratissima (L.f.) Willd., Mimosa odoratissima L.f.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

สมุนไพรกางขี้มอด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กางแดง คางแดง (แพร่), จันทน์ (ตาก), มะขามป่า (น่าน), ตุ๊ดเครน (ขมุ) เป็นต้น

ลักษณะของกางขี้มอด
ต้นกางขี้มอด จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีความสูงได้ประมาณ 10-30 เมตร กิ่งก้านลู่ลง ปลายยอดและกิ่งอ่อนมีรอยแผล มีรูอากาศตามลำต้นและกิ่ง เปลือกต้นเป็นสีเทาอมเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในเป็นสีแดง มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ใบกางขี้มอด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ออกเรียงสลับแบบตรงข้าม ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 10-25 คู่ แผ่นใบเรียบบาง ใบย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานหรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมนหรือสอบ โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง
ใบกางขี้มอด

ดอกกางขี้มอด ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายยอด ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอกรวมกันเป็นกลุ่ม ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาวนวล กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีขน ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปกรวย ผิวมีขน ยาวประมาณ 6.5-9 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาวจำนวนมาก ยาวเท่าหลอดกลีบดอก โคนก้านเกสรเพศผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ออกดอกในช่วงประมาณมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

ผลกางขี้มอด ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 17-22 เซนติเมตร ผิวเรียบ ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ฝักแห้งและแตกออกด้านข้าง ภายในมีเมล็ดประมาณ 8-12 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรีกว้าง

สรรพคุณของกางขี้มอด

ดอกและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ดอก, เปลือก)
ใบมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ใบ)
ดอกมีรสหวานใช้เป็นยาแก้ตาอักเสบ (ดอก)
เปลือกต้นใช้ต้มเอาน้ำแล้วอมไว้ในปาก แก้อาการปวดฟัน (เปลือกต้น)
เปลือกมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้พิการ (เปลือก)
เปลือกใช้เป็นยาแก้พยาธิ (เปลือก)
ใช้เป็นยาแก้ตกโลหิต (เปลือก)
เปลือกใช้ฝนรักษาแผลโรคเรื้อน แผลเปื่อยเรื้อรังและทาฝี (เปลือก)
เปลือกใช้เป็นยาแก้ฝี แก้บวม (เปลือก)
ดอกใช้เป็นยาแก้คุดทะราด (ดอก)
ดอกใช้เป็นยาแก้ปวดบาดแผล แก้พิษฟกบวม (ดอก)
ประโยชน์ของกางขี้มอด
เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในการสร้างบ้าน ก่อสร้างภายในที่ไม่รับน้ำหนักมาก ทำไม้อัด เป็นเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
ชาวไทใหญ่จะใช้ยอดอ่อนในพิธีสร้างบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, April 25, 2019

สมุนไพรคาง

คาง

คาง ชื่อสามัญ Black siris, Ceylon rose wood


คาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia lebbekoides (DC.) Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acacia lebbekoides DC., Albizia lebbekioides (DC.) Benth.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

สมุนไพรคาง มีชื่ออื่น ๆ ว่า กาง, ก๋าง, ข่าง, คาง, คางแดง, จามจุรีดง, จามจุรีป่า เป็นต้น


ลักษณะของต้นคาง

ต้นคาง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตามกิ่งก้านมีขนขึ้นปกคลุม เป็นพรรณไม้ที่เกิดขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำอาจขึ้นลงท่วมถึงได้ โดยพบได้ตามลำธารทางภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ส่วนในกรุงเทพฯ ก็พอหาได้บ้าง

ใบคาง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละใบประกอบมี 15-25 คู่ เรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้าน ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม มีขนขึ้นปกคลุมทั้ง 2 ด้าน
ดอกคาง ออกดอกเป็นช่อด้านข้าง เป็นดอกช่อชนิดกลุ่มย่อย กลีบเลี้ยงเป็นรูปกระดิ่ง กลีบดอกเป็น
ผลคาง ผลมีลักษณะฝักแบนโต สีน้ำตาลเข้ม มีขนขึ้นปกคลุม


สรรพคุณของคาง

ดอกมีรสหวาน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ดอก)
เปลือกต้นมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะและบำรุงหนังเส้นเอ็นให้บริบูรณ์ (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ดอก)
เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ด้วยการใช้เปลือกต้น 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (เปลือกต้น)
ผลใช้เป็นยารักษาโรคในจักษุ (ผล)
เปลือกต้นและใบใช้เป็นยาแก้ไอ (เปลือกต้น, ใบ)
รากและดอกใช้เป็นยาแก้ลงท้อง (ราก, ดอก)
ใช้เป็นยารักษาลำไส้พิการ (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาแก้โรคพยาธิ (เปลือกต้น)
ช่วยรักษาอาการตกเลือด (เปลือกต้น)
ดอกใช้เป็นยาแก้พิษงู (ดอก)
ใช้เป็นยารักษาคุดทะราด และรักษาอาการไข้ที่เกิดจากพิษอักเสบตา (ดอก)
ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้ฝี (ใบ)
รากใช้เป็นยาแก้ฝีเปื่อย แก้บวม (ราก)
ดอกใช้เป็นยาแก้ฝี แก้บวม แก้ฟกช้ำบวม รักษาอาการปวดบาดแผล (ดอก)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้พิษฝี รักษาฝี แก้แผลเน่า แก้อาการบวม ปวดบาดแผล (เปลือกต้น)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Wednesday, April 24, 2019

สมุนไพรขี้อ้ายดง

ขี้อ้ายดง

ขี้อ้ายดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Walsura villosa Wall. ex Hiern จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (MELIACEAE)


สมุนไพรขี้อ้ายดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลำไยป่า (เชียงใหม่), เฟียง (เลย), ขัดลิ้น (อุทัยธานี), คัดลิ้น (กาญจนบุรี), ขี้อ้ายแดง ขี้อ้ายนา (ราชบุรี), ขี้ล้อ ขี้อ้าย (ภาคเหนือ), ข่าลิ้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กัดลิ้น คัดลิ้น (ตามตำรายาเรียก) เป็นต้น

ลักษณะของขี้อ้ายดง

ต้นขี้อ้ายดง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 5-8 เมตร พบขึ้นในป่าเบญจพรรณและตามป่าราบทั่ว ๆ ไป
ใบขี้อ้ายดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ แผ่นใบหนา ใบมีขนาดประมาณ 4 นิ้วฟุต ท้องใบเป็นสีน้ำตาล และมีขนบาง ๆ อ่อน ๆ ขึ้นเล็กน้อย
ดอกขี้อ้ายดง ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกที่ง่ามใบและปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอม
ผลขี้อ้ายดง ออกผลเป็นแบบช่อ ผลมีลักษณะกลมรี ผิวผลเกลี้ยง มีสันตื้น ๆ ปลายผลมีติ่งแหลม ผนังผลบางคล้ายหนัง

สรรพคุณของขี้อ้ายดง

รากขี้อ้ายดงมีรสร้อนจัด ใช้เป็นยารักษาเส้นเอ็นพิการและบำรุงเส้น (ราก)
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ยานี้กับบุคคลที่เป็นโรคดีเดือดและโรคเส้นประสาทพิการ

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Tuesday, April 23, 2019

สมุนไพรลิ้นกวาง

ลิ้นกวาง

ลิ้นกวาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ancistrocladus tectorius (Lour.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ ANCISTROCLADACEAE


สมุนไพรลิ้นกวาง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลิ้นควาย (ลำปาง), หางกวาง (นครพนม), ค้อนหมาแดง (นครราชสีมา), หูกลวง (ปราจีนบุรี, ตราด), โคนมะเด็น (สุพรรณบุรี), คันทรง ทองคันทรง (ชลบุรี), ค้อนตีหมา (ยะลา), พันทรง (นราธิวาส), ค้อนหมาขาว (ภาคกลาง), ยูลง ลิดาซาปี (มลายู-ภาคใต้), กระม้า (เขมร-สระบุรี), ขุนม้า ขุนมา (เขมร-สุรินทร์), ซินตะโกพลี (กะเหรี่ยง-ลำปาง), กะม้า ขุนนา (เขมร) เป็นต้น

ลักษณะของลิ้นกวาง
ต้นลิ้นกวาง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ลำต้นขึ้นใหม่เป็นพุ่ม มักเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 15-20 เมตร ส่วนกิ่งก้านเล็ก ๆ มีตะเป็นมือ มีลักษณะเป็นข้อแข็ง ๆ สำหรับเป็นที่ยึดเกาะพันไม้อื่น เถาแก่เป็นสีน้ำตาล เถาแตกเป็นรอยตื้นตามยาว ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ขึ้นได้ในที่ราบสูงทั่วไป ชอบดินค่อนข้างชื้นและดินอุดมสมบูรณ์พอเหมาะ อุ้มน้ำได้ดี ชอบแสงแดดรำไร พบขึ้นทั่วไปตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น

ใบลิ้นกวาง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียงเวียนสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกกลับ รูปรี หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลมและค่อย ๆ สอบเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-19 เซนติเมตร แผ่นใบแข็งกระด้าง มีเส้นใบเชื่อมกันก่อนถึงขอบใบ ยอดอ่อนเป็นสีแดงหรือสีเขียวอมขาวอ่อน ๆ[

ดอกลิ้นกวาง ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด แต่ละดอกจะมีขนาดเล็ก ฐานดอกเป็นสีเขียว ส่วนกลีบดอกเป็นสีขาวอมแดงถึงสีแดงคล้ำ ส่วนโคนเป็นท่อสั้น ๆ แยกออกเป็น 5 กลีบ ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม

ผลลิ้นกวาง ผลมีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร และมีปีกอยู่ 5 ปีก ซึ่งจะมีความยาวไม่เท่ากันรองรับ แบ่งเป็นปีกเล็ก 2 ปีก และปีกใหญ่ 3 ปีก เมื่อแก่จะแห้งเป็นสีน้ำตาล ออกผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของลิ้นกวาง

ทั้งต้นใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้โรคกระษัย ไตพิการ และไข้ป่า (ทั้งต้น)
รากนำมาต้มใช้เป็นยารักษาโรคไข้จับสั่น (ราก)
รากนำมาต้มใช้เป็นยารักษาโรคบิด (ราก)
เถาและใบนำมาต้มเคี่ยวให้น้ำเข้มข้น ใช้กินก่อนอาหารครั้งละครึ่งแก้ว เป็นยาขับพยาธิ (เถาและใบ)
ใบอ่อนนำมาต้มเอาน้ำอาบเป็นยารักษาอาการบวมตามตัวและเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง (ใบอ่อน)

ประโยชน์ของลิ้นกวาง

ใบอ่อนหรือยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกรวมกับผักอื่น ๆ โดยจะมีรสฝาดมัน
ใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Sunday, April 21, 2019

สมุนไพรค้อนหมาขาว

ค้อนหมาขาว

ค้อนหมาขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena angustifolia Roxb. จัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย NOLINOIDEAE



 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พร้าวพันลำ (เชียงใหม่), หมากพู่ป่า (แพร่), ผักก้อนหมา (ลำปาง), ผักหวานดง คอนแคน (นครราชสีมา), ว่านสากเหล็ก (สุรินทร์), อีกริมป่า (ชลบุรี), ดอกแก รางดอย (ลั้วะ) เป็นต้น

ลักษณะของค้อนหมาขาว

ต้นค้อนหมาขาว จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม มีความสูงได้ประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงเป็นต้นเดียวหรือแตกเป็นกอเล็กน้อย ลำต้นหนา เป็นรูปทรงกระบอก ต้นอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนสีเทา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ ขึ้นได้ดีในทุกสภาพแวดล้อม พบได้ทุกภาคของประเทศไทย โดยมักขึ้นตามป่าดิบแล้งทั่วไป

ใบค้อนหมาขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปดาบ มีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร ผิวใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบเป็นเส้นใย

ดอกค้อนหมาขาว ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ลักษณะห้อยลง ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

ผลค้อนหมาขาว ผลเป็นผลสด ลักษณะเป็นรูปเกือบทรงกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม ออกผลในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของค้อนหมาขาว

ตำรายาพื้นบ้านจะใช้ค้อนหมาขาวทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เบาหวาน (ทั้งต้น)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ค้อนหมาขาวทั้งต้นนำมาผสมกับใบพิมเสนต้น และใบบัวบก แล้วบดให้ละเอียดทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนกิน หรือใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้รากสาด ไข้กาฬ (ทั้งต้น)
ชาวเขาเผ่าเย้าจะใช้รากค้อนหมาขาวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ราก)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของค้อนหมาขาว
สารสกัดจากทั้งต้นที่อยู่เหนือดินด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ยับยั้งการเกร็งตัวของลำไส้สัตว์ทดลอง

ประโยชน์ของค้อนหมาขาว

ยอดอ่อนหรือดอกอ่อนมีรสหวาน ใช้ลวก ต้ม รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงแค แกงผักรวมใส่ปลาย่าง หรือผัด
มีบ้างที่นำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สมุนไพรคว่ำตายหงายเป็น

คว่ำตายหงายเป็น

คว่ำตายหงายเป็น ชื่อวิทยาศาสตร์ Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers.) จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบหิน (CRASSULACEAE)



สมุนไพรคว่ำตายหงายเป็น มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กาลำ (ตราด), แข็งโพะ แข็งเพาะ โพะเพะ โพ้ะเพะ (นครราชสีมา), ต้นตายปลายเป็น (จันทบุรี), ทองสามย่าน (กาญจนบุรี), เพรอะแพระ (ประจวบคีรีขันธ์), ส้มเช้า (ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, ตรัง), มะตบ ล็อบแล็บ ลบลับ ลุบลับ ลุมลัง (ภาคเหนือ), ยาเท้า ยาเถ้า มะตบ ล็อบแลบ ลุบลับ ฮ้อมแฮ้ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กระลำเพาะ ต้นตายใบเป็น นิรพัตร เบญจฉัตร (ภาคกลาง), กะเร คว่ำตายหงายเป็น (ชลบุรี, ภาคใต้), ปะเตียลเพลิง (เขมร-จันทบุรี), ตะละ ตาละ (มาเลย์-ยะลา), โกดเกาหลี (คนเมือง), สะแกหล่า (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), บล้งตัวเก่า (ม้ง), กะลำเพาะ เพลาะแพละ นิรพัตร ต้านตายใบเป็น ฆ้องสามย่านตัวเมีย (ไทย), ลั่วตี้เซิงเกิน (จีนกลาง) เป็นต้น


ลักษณะของคว่ำตายหงายเป็น

ต้นคว่ำตายหงายเป็น เป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นมีความแข็งแรงมากและมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงประมาณ 0.4-1.5 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านหรือแตกเพียงเล็กน้อย ลำต้นกลม มีเนื้อนิ่มอวบน้ำ ผิวเกลี้ยง ภายในลำต้นและกิ่งก้านกลวง โคนกิ่งเป็นสีเทา ยอดต้นเป็นสีม่วงแดง ส่วนที่ยังอ่อนอยู่ของลำต้นจะมีข้อโป่งพองเป็นสีเขียวและแถบหรือจุดสีม่วงเข้มแต้มอยู่ ส่วนที่แก่แล้วจะมีใบเฉพาะครึ่งบน หรือในช่วงที่ดอกบานนั้นใบเกือบจะไม่มีเลย ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและใบ ขึ้นได้ในดินที่เป็นหิน ในที่โล่งแจ้ง หรือในที่ค่อนข้างร่ม ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,000 เมตร เป็นพืชที่ทนทานและสามารถขึ้นได้แม้ในสภาพอากาศที่แห้งแล้ง โดยพบขึ้นกระจายทั่วไปในเขตร้อนของโลก ในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา เป็นต้น

ใบคว่ำตายหงายเป็น ใบเป็นใบเดี่ยวหรือเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ บางครั้งเป็นใบประกอบแบบขนนกจะมีใบย่อยได้ถึง 5 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปรีกว้าง ส่วนปลายและโคนใบจะมน ส่วนขอบใบหยักโค้งเป็นซี่มนตื้น ๆ หนา ฉ่ำน้ำ และเป็นสีม่วง แต่ละรอยจักจะมีตาที่สามารถงอกรากและลำต้นใหม่ได้ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร เส้นใบเห็นได้ไม่ชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 1.5-10 เซนติเมตร มีลักษณะค่อนข้างจะโอบลำต้น ก้านใบจะย่อยและสั้น

ดอกคว่ำตายหงายเป็น ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกและห้อยลง มีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบดอกด้านล่างเป็นสีเขียว ส่วนด้านบนเป็นสีแดง ส่วนกลีบรองดอกจะเชื่อมติดกัน ที่ปลายจักเป็นแฉกเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ แบ่งออกเป็น 4 แฉก ตรงปลายแหลม เช่นเดียวกับกลีบดอก ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน มีความยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนท่อเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร รังไข่มีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีสีเขียว ผิวเกลี้ยง และมีความยาวได้ประมาณ 0.2-1 เซนติเมตร


ผลคว่ำตายหงายเป็น ผลจะออกเป็นพวงและมีอยู่ 4 หน่วย เป็นผลแห้ง แตกตะเข็บเดียว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกหุ้มอยู่ ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก มีลักษณะเป็นรูปกระสวยแกมรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี

สรรพคุณของคว่ำตายหงายเป็น

ทั้งต้นและรากมีรสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและไต ใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็น เป็นยาฟอกเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี (ราก, ทั้งต้น)
คนเมืองจะใช้นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ใบ)
ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้ใบคว่ำตายหงายเป็นนำมาผสมกับก้านและใบขี้เหล็กอเมริกา ใบสับปะรด และแก่นสนสามใบ ต้มอบไอน้ำ ช่วยบำรุงกำลังสำหรับคนติดฝิ่น (ใบ)
รากนำมาตากแห้งใช้เป็นยาลดไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด (ราก, ทั้งต้น)
ใบใช้วางบนหน้าอกเป็นยารักษาอาการไอและอาการเจ็บหน้าอก บ้างใช้นำมาวางไว้บนศีรษะเป็นยาแก้ปวดหัว (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้คอบวม คอเจ็บ ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาตำคั้นเอาน้ำมาอมกลั้วคอ (ทั้งต้น)
ตำรายาไทยจะใช้ใบนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้อหิวาตกโรค (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้อาการปวดกระเพาะ กระเพาะแสบร้อน ด้วยการใช้รากและใบสด นำมาตำผสมกับเกลือเล็กน้อย ใช้รับประทาน (รากและใบ)
ใบนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว (ใบ)
ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และเย้า จะใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น (ใบ, ทั้งต้น)
ใบนำมาต้มกับน้ำกินหลังคลอดเป็นยาแก้อาการผิดเดือน (บ้านม้งหนองหอย แม่แรม เชียงใหม่) (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้อาการบวมน้ำ (ราก, ทั้งต้น)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบหรือรากสดนำมาตำพอกเป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด แผลโดนมีดบาด ช่วยสมานบาดแผล ทำให้แผลหายเร็ว (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
ใบหรือทั้งต้นใช้ตำพอกรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ชนิดไม่เป็นมาก) และผิวหนังไหม้ที่เกิดจากการถูกแดดเผา หรือใช้เฉพาะใบเอามาเผาไฟเล็กน้อยนำมาตำพอกก็ได้ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
ใบใช้ตำพอกเป็นยาฆ่าเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง รักษาตาปลา รักษาหูดที่เท้า (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้ฝีหนองทั้งภายในและภายนอก รักษาฝี แก้พิษฝีหนอง ฝีเต้านม ด้วยการใช้รากและใบสดรวมกัน 60 กรัม นำมาตำให้พอแหลก คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง ใช้รับประทาน ส่วนกากที่เหลือนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
น้ำคั้นจากใบใช้หยดลงบนผิวหนังเพื่อรักษาโรคหิดและขี้เรื้อน (ใบ)
รากนำมาตากแห้งใช้เป็นยาแก้หัดหรืออีสุกอีใสได้ (ราก)
ใบใช้เป็นยาแก้ลมพิษ โดยนำมาตำพอกบริเวณผื่น (ใบ)
ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดอักเสบ ฟกช้ำบวม ขับพิษ ถอนพิษ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
น้ำคั้นจากใบใช้ผสมกับการบูร นำมาทาถูนวดแก้อาการเคล็ดขัดยอก แพลง กล้ามเนื้ออักเสบ และช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี หรือทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมาก ๆ หรือจะใช้รากหรือทั้งต้นสดนำมาตำพอกแก้อาการเคล็ดขัดยอกก็ได้ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาทารักษาโรคไขข้ออักเสบ (ใบ)
ชาวม้งจะใช้ใบนำมาหั่นให้เป็นฝอยแล้วตุ๋นกับไข่รับประทานเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว (ใบ)
ใบหรือทั้งต้นใช้ตำพอกแก้อาการปวดกระดูก กระดูกหัก กระดูกร้าว ปวดตามข้อ (ราก, ใบ, ทั้งต้น)
บางข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบนำมาคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมันมะพร้าวใช้เป็นยาทาถูนวดระงับอาการโตของอวัยวะในโรคเท้าช้าง (ใบ) (ข้อมูลที่ได้มาไม่มีแหล่งอ้างอิง)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม ใบแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม รากแห้งให้ใช้ครั้งละ 36 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา ส่วนการนำมาใช้ภายนอกให้ใช้ยาสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาตำพอกแผลบริเวณที่ต้องการ

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Friday, April 19, 2019

สมุนไพรควินิน

ควินิน

ควินิน ชื่อสามัญ Quinine อ่านได้หลายอย่าง คือ ควินนีน, ควินไนน์, ไควไนน์ (แต่ไม่อ่านว่า ไควนีน) ส่วนเยอรมันเขียนว่า Chinin และอ่านว่า คีนิน



ควินิน ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinchona pubescens Vahl (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cinchona succirubra Pav. ex Klotzsch) (ควินินเปลือกแดง), Cinchona calisaya Wedd. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cinchona ledgeriana (Howard) Bern.Moens ex Trimen) (ควินินเปลือกเหลือง)จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรควินิน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ซิงโคนา (ทั่วไป), กิมโกยนับ กิมโกยเล็ก (จีน), จินจีเล่อ จินจีน่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของควินิน

ต้นควินิน จัดเป็นไม้ยืนต้นเขียวตลอดปี มีความสูงของต้นได้ประมาณ 8-30 เมตร ลำต้นตั้งตรงถึง 6 เมตร จึงมีการแตกกิ่งก้าน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้กิ่งชำหรือเมล็ด แต่ถ้าปลูกเป็นจำนวนมากจะนิยมใช้เมล็ดปลูก เจริญงอกงามได้ในพื้นที่ความสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000-9,000 ฟุต มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแอนดีสของเอกวาดอร์และเปรู และต่อมาชาววิลันดาได้นำพันธุ์ไม้ชนิดนี้ไปปลูกในประเทศอินโดนีเซีย อังกฤษ อินเดีย และศรีลังกา

ใบควินิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ออกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมสั้น โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หลังใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีเขียวอ่อนกว่า หรือเป็นสีเขียวอ่อนปนแดงเล็กน้อย มักมีสีแดงและมีขนสั้น ๆ ตามเส้นใบใหญ่ ก้านใบสั้นเป็นสีแดง มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ใบอ่อนเป็นสีแดง

ดอกควินิน ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู กลีบเลี้ยงดอกติดกันเป็นหลอดสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 2.4-3.6 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ตามกลีบดอกมีขนสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 5 อัน จะติดกับหลอดกลีบดอก ส่วนก้านเกสรเพศเมียมีอยู่ 1 อัน และยาวพันอยู่ติดกับหลอดดอก ส่วนปลายแยกเป็น 2 แฉก ภายในรังไข่นั้นแบ่งออกเป็น 2 ห้อง

ผลควินิน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระสวย รูปกลมรี หรือรูปไข่ยาว มีความยาวประมาณ 2.5-3.2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมน้ำตาล พอแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดประมาณ 25 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดจะเป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาลแดง
ผลควินิน

หมายเหตุ : นอกจากควินินชนิด Cinchona succirubra Pav. แล้ว ยังมีควินินอีก 2 ชนิด คือ ควินินชนิด Cinchona Ledgeriana Moens ซึ่งต้นจะมีลักษณะคล้ายกันแต่จะมีความสูงน้อยกว่า หรือสูงได้ประมาณ 10 เมตร ใบจะเป็นรูปไข่ยาวและแคบกว่าชนิดแรก ใบเรียบเป็นมันไม่มีขน ส่วนเปลือกต้นจะเป็นสีเหลือง และควินินชนิด Cinchona ofcinalis L. ซึ่งเป็นควินินชนิดที่พบได้ในประเทศจีน มีเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล ซึ่งควินินทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้

สรรพคุณของควินิน

ใช้เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร (เปลือกต้น)
เปลือกต้นมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้เปลือกแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินหรือบดเป็นผงผสมกิน จะมีรสฝาด ส่วนอีกตำรับให้ใช้เปลือกแห้งประมาณ 3 กรัม (สำหรับคนแข็งแรงให้ใช้เปลือกต้น 6 กรัม) ผสมกับเปลือกอบเชยประมาณ 1.5 กรัม แล้วนำมาต้มกับน้ำกิน (เปลือกต้น)

ใช้แก้อาการเมาค้าง ด้วยการใช้เปลือกต้นแห้งประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาแก้พิษสุราเรื้อรัง ด้วยการใช้เปลือกต้นประมาณ 5-8 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาแก้ปากเจ็บ คอเจ็บ ด้วยการใช้เปลือกต้นแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำแล้วใช้อมบ้วนปากกลั้วคอ 2 เวลา เช้าและเย็น (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยารักษาหัวใจเต้นเร็ว (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย (เปลือกต้น)
ขนาดและวิธีใช้ : ให้ใช้เปลือกต้นประมาณ 3-6 กรัม นำมาบดเป็นผงรับประทาน หรือใช้ประมาณ 3-8 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับคนที่เป็นไข้มาลาเรียที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นสีดำ สตรีมีครรภ์ และคนที่เป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรง

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, April 18, 2019

สมุนไพรครามใหญ่

ครามใหญ่

ครามใหญ่ ชื่อสามัญ Anil, Guatemalan indigo, Small-leaved indigo (Sierra Leone), West Indian indigo, Wild indigo



ครามใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Indigofera suffruticosa Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Indigofera anil L.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรครามใหญ่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ครามป่า ครามผี (เชียงใหม่), คราม (ไทย), ครามเถื่อน (เงี้ยว-เชียงใหม่) ส่วนที่อุบลราชธานีเรียกว่า "ครามใหญ่" เป็นต้น

ลักษณะของครามใหญ่

ต้นครามใหญ่ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 129.81-192.19 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมม่วง มีขนสีขาวขึ้นปกคลุมบาง ๆ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 18.02-26.04 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือ และพบว่ามีปลูกกันเอาไว้ทำครามสำหรับย้อมสีผ้า พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่โล่ง ดินร่วนปนเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 35 เมตร

ใบครามใหญ่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบออกเรียงตรงข้ามกัน ก้านใบรวมยาวประมาณ 6.74-8.96 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบแหลมมีติ่ง โคนใบรีกลม ส่วนขอบใบหยักแบบขนครุยมีขนสีขาวสั้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.75-0.95 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.9-2.78 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างนุ่ม หน้าใบมีขนสีขาวสั้น ๆ ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตรขึ้นปกคลุม กลางหลังใบมีขนสีขาวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น เส้นกลางใบด้านหน้าเป็นร่องจากโคนใบถึงปลายใบเห็นชัดเจน เส้นใบมองเห็นได้ไม่ชัดเจน ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.67-0.83 เซนติเมตร

ดอกครามใหญ่ ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ตาข้างจำนวนมาก ช่อดอกยาวประมาณ 3.75-10.49 เซนติเมตร เป็นดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว สีชมพู มีก้านดอกสั้นประมาณ 1 มิลลิเมตร ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 14-36 ดอก ออกดอกในช่วงประมาณพฤษภาคม

ผลครามใหญ่ ออกผลเป็นฝักรวมกันเป็นช่อ ฝักมีลักษณะเป็นรูปกลมโค้งงอคล้ายรูปเคียว มีรอยคอดระหว่างข้อตื้น ๆ ปลายยอดฝักชี้ลง ช่อหนึ่งมีประมาณ 12-34 ฝัก ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 0.19-0.29 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.18-1.52 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 3-4 เมล็ด เมล็ดเป็นรูปทรงกระบอกปลายตัด มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีน้ำตาล
ครามป่า


สรรพคุณของครามใหญ่

ใบมีรสเย็นฝาดเบื่อ มีสรรพคุณเป็นยาดับพิษ แก้ไข้หวัดตัวร้อน บ้างใช้ใบผสมกับยาอื่น ๆ เป็นยาดับพิษ รักษาไข้หวัดตัวร้อน และแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้โลหิต (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ (เปลือกต้น)
เปลือกต้นมีรสเย็นฝาดเบื่อ ใช้เป็นยาแก้พิษฝี แก้พิษงู (เปลือกต้น)
น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาทาแก้หิด (น้ำมันจากเมล็ด)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Wednesday, April 17, 2019

สมุนไพรคนทีเขมา

คนทีเขมา

คนทีเขมา ชื่อสามัญ Five-leaved chaste tree, Chinese chaste, Indian privet, Negundo chest nut
คนทีเขมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex negundo L. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

สมุนไพรคนทีเขมา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คนทีสอดำ (ภาคเหนือ), คนทิ คนที (ภาคตะวันออก), โคนดินสอ คนดินสอดำ ดินสอดำ ผีเสื้อดำ (อื่น ๆ), กูนิง (มาเลเซีย-นราธิวาส), กุโนกามอ (มาเลเซีย-ปัตตานี), หวงจิง (จีนกลาง), อึ่งเกง (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น


ลักษณะของคนทีเขมา

ต้นคนทีเขมา จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 3-6 เมตร ผิวลำต้นเป็นสีเทาปนน้ำตาล กิ่ง ก้าน และใบมีกลิ่นหอม กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีสีเทาและมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม รากเป็นสีเหลือง เนื้อในรากเป็นสีขาว พรรณไม้นี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ กิ่งตอน และเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกา และได้แพร่พันธุ์มายังเอเชียตอนใต้ ไปจนถึงญี่ปุ่นและต่อมายังเอเชีย ที่ระดับความสูงประมาณ 200-1,400 เมตร

ใบคนทีเขมา ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 5 หรือ 3 ใบ โดย 3 ใบบนจะมีขนาดใหญ่กว่า 2 ใบล่าง ใบบนมีก้าน ส่วนใบล่างไม่มีก้าน ใบมีกลิ่น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบยาวแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นสีขาว ปกคลุมไปด้วยขนอ่อน

ดอกคนทีเขมา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีอยู่เป็นจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวแกมม่วงอ่อน กลีบดอกแตกออกเป็น 5 แฉก ขนาดไม่เท่ากัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย เชื่อมติดกันที่โคน ปลายกลีบล่างแผ่โค้ง กลีบรองดอกเชื่อมกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ออกดอกในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน

ผลคนทีเขมา ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปกลม แห้ง เปลือกแข็งเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ติดผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน

ข้อควรรู้ : คนทีเขมาเป็นสมุนไพรเก่าแก่ชนิดหนึ่ง แม้จะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในบ้านเรา แต่คงเข้ามาเป็นเวลานานแล้วพร้อม ๆ กับคนทีสอ ในภาษาพื้นบ้านจะเรียกสมุนไพรทั้งสองชนิดนี้เหมือนกัน เช่น ผีเสื้อบ้าง ดินสอบ้าง แต่จะแยกขาวกับดำ โดยผีเสื้อดำจะหมายถึงคนทีเขมา ส่วนผีเสื้อขาวจะหมายถึงคนทีสอ หมอยาบอกว่า สมุนไพรทั้งสองชนิดนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้ แต่หมอยาจะนิยมใช้คนทีสอมากกว่าเพราะกลิ่นดีกว่า คนทีเขมานอกจากชนิดนี้แล้วยังมีคนทีเขมาอีก 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งมีลักษณะของต้นที่คล้ายกัน แต่เมล็ดจะมีสีดำมากกว่า โดยมีชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vitex neyundo L.var. heterophylla (Franch) Rehd และชนิด Vitex quinata A.N. Willd โดยทั้งสองชนิดนี้สามารถนำมาใช้แทนกันได้

สรรพคุณของคนทีเขมา

ใบใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ใบ)
ใช้เป็นยาบำรุงเลือดลม ด้วยการใช้ผลอย่างเดียว หรือใช้กิ่ง ก้าน ใบ และผล นำมาตากแห้ง ดองกับเหล้ากิน (ผลควรทุบให้แตกก่อนนำมาดอง) ใช้กินครั้งละ 1 เป๊ก หรือประมาณ 30 ซีซี วันละ 1-2 ครั้ง หากกินเป็นประจำจะช่วยทำให้เลือดลมดี ไม่มีสิวมีฝ้า ลดอาการไม่สบายขณะมีประจำเดือนและคนวัยทองได้ (กิ่ง, ก้าน, ใบ, ผล)
ยางใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ยาง)
ใบใช้ผสมกับน้ำใช้ทาหน้าผากรักษาอาการปวดศีรษะ หรือนำใบสดมาขยี้ดม ขยี้ปิดที่หน้าผาก ขยี้กับน้ำแล้วเอาลูบหัว ลูบตามตัว ต้มอาบ เอาใบมาชงกิน หรือนำใบแห้งมาสูบก็ได้ (ใบ)
ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการหูอื้อ (ใบ)
ใบมีรสหอมร้อน ใช้เป็นยาแก้เยื่อจมูกอักเสบ (ใบ)
ยางมีรสร้อนเมา ใช้ขับเลือดและลมให้กระจาย (ยาง)
ใช้เป็นยาแก้พิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยกระจายพิษไข้ในร่างกาย แก้ไอหวัดตัวร้อน (รากและก้าน)
ตำรายาไทยจะใช้รากและใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดไข้ แก้ไข้ (รากและใบ) ส่วนช่อดอกก็มีสรรพคุณเป็นยาลดไข้ด้วยเช่นกัน (ช่อดอก)
ใช้เป็นยารักษาไข้หวัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-40 ใบ หรือประมาณ 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 3 เวลา หรือใช้ใบแห้งนำมาสูบแก้หวัดที่มีน้ำมูกไหล ส่วนอีกวิธีให้ใช้ใบสด 30-40 กรัม ผสมกับหอมใหญ่ 8 กรัม และขิงสดอีก 8 กรัม นำไปต้มกับน้ำกิน (ใบ) ส่วนดอกและผลก็มีสรรพคุณรักษาไข้หวัด ไอหวัดด้วยเช่นกัน (ดอก, ผล)
ใช้รักษาโรคไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 180 กรัม ใส่น้ำให้ท่วมแล้วนำไปต้มโดยใช้ไฟอ่อน ๆ เคี่ยวให้ข้น จนเหลือราว ๆ ถ้วยครึ่ง แล้วแบ่งรับประทานครึ่งหนึ่งก่อนมีอาการ หลังจากกิน ไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ให้กินส่วนที่เหลือ หรือจะใช้รากสดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินก่อนมีอาการราว ๆ 3 ชั่วโมงก็ได้ (ราก, ใบ)ส่วนผลก็มีสรรพคุณรักษาไข้มาลาเรียด้วยเช่นกัน (ผล)
ใช้รักษาโรคไข้รากสาดน้อยรวมถึงอาการไอ ให้ใช้ผลประมาณ 3-10 กรัม นำมาคั่วโดยอย่าให้ไหม้ เพราะจะทำให้ยาไม่มีฤทธิ์ จากนั้นให้นำมาต้มกิน (ผล)
ใช้เป็นยาแก้ไอ (ราก, ใบ, ผล)
ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ (ใบ)
ใช้เป็นยาขับเสมหะ (ราก, ใบ, ผล)
ใช้รักษาหอบหืด ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 50 ลูก หรือใช้ประมาณ 6-15 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใส่น้ำตาลทรายจำนวนพอควร แล้วนำมาชงกับน้ำกินวันละ 2 เวลา หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 6-20 กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ชงกับน้ำกินก็ได้ (ผล, เมล็ด) ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้หอบหืดด้วยเช่นกัน (ราก)
ใช้รักษาหลอดลมอักเสบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (รากและก้าน)
รากมีรสร้อนเมา ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ลม (ราก)
เปลือกต้นมีรสหอมร้อน ใช้เป็นยาแก้ลมเสียดแทง (เปลือกต้น)
ช่อดอกมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการท้องเสีย (ช่อดอก)
รากและใบใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง (รากและใบ, รากและก้าน) หรือจะใช้เปลือกต้นเป็นยาต้มกินบรรเทาอาการปวดท้องก็ได้ (เปลือกต้น)
รากใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหาร (ราก)แก้อาการปวดกระเพาะ (รากและก้าน, เมล็ด) หรือใช้ผลรักษาอาการปวดท้องโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3-10 กรัม นำมาบดให้เป็นผง แล้วปั้นเป็นเม็ดกิน (ผล)
ใช้รักษากระเพาะอาหารเป็นแผล กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ปวดกระเพาะ ด้วยการใช้ผลแห้งหรือเมล็ดประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือบดเป็นผงกิน หรือจะใช้รากสดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลแดงพอสมควร ต้มกับน้ำกินก็ได้ (ราก, ผล, เมล็ด)
ช่วยแก้อาหารไม่ย่อย (เมล็ด)
ใบ ดอก และผลใช้เป็นยาแก้บิด แก้ลำไส้อักเสบ (ใบ, ดอก, ผล) ใช้รักษาโรคบิดไม่มีตัวลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-40 ใบ หรือประมาณ 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 3 เวลา (ใบ) ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือใช้ชงดื่มแทนชาเพื่อป้องกันลำไส้อักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด) ด้วยการใช้รากสดประมาณ 30 กรัม นำมาหั่นให้เป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนำมาคั่วกับเหล้าให้หวานจนเป็นสีเหลือง ใส่น้ำประมาณ 2 ถ้วย แล้วต้มให้เหลือเพียง 1 ถ้วย นำมาใช้กินก่อนอาหารค่ำ (ราก, รากและก้าน)นอกจากนี้เปลือกต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้พยาธิด้วยเช่นกัน (เปลือกต้น)
รากมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
ใช้เป็นยาแก้ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ใบ, ดอก, ผล)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
รากใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงแห้ง (ราก)
คนทีเขมา สมุนไพรเฝ้าเลือดลมผู้หญิง นิยมใช้เข้ายาอาบ ยาอบ และยาประคบสำหรับผู้หญิง โดยทำเป็นยาต้มกินจะทำให้เลือดลมดี ผู้หญิงที่เลือดแห้ง ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีอาการผิดเลือดผิดลม หากใช้สมุนไพรชนิดนี้ต้มกินต้มอาบเป็นประจำจะช่วยลดอาการไม่สบายก่อนมีประจำเดือนได้ เช่น อาการหงุดหงิดฉุนเฉียว อารมณ์แปรปรวนง่าย ร้องไห้ง่าย นอนไม่หลับ ขี้ลืม พูดจาเพ้อเจ้อ สับสน ปวดศีรษะ วิงเวียน ท้องอืด บวม ปวดเมื่อยตามตัว และเจ็บตึงเต้านม นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดจะไปลมจะมา หรือที่เรียกว่า วัยหมดประจำเดือน และยังเหมาะกับผู้หญิงหลังคลอด เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยปรับระบบการทำงานของเลือด อารมณ์ผิดปกติหลังคลอด เช่น อารมณ์แปรปรวน หดหู่ ซึมเศร้า จนบางคนมีอาการหมดอารมณ์ทางเพศไปเลย หรือที่เรียกว่า "โรคเบื่อผัว" นอกจากนี้ยังช่วยขับน้ำนม ขับเหงื่อได้อีกด้วย โดยใช้เปลือกต้น ผล และใบ นำมาต้มกินหรือนำผลไปดองกิน (เปลือกต้น, ใบ, ผล)


ยาดองคนทีเขมาแก้โรคสตรีเบื่อผัว ทำให้ไข่ตกเป็นปกติ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ บำรุงสตรีให้อ่อนเยาว์ขึ้น จะใช้เมล็ดคนทีเขมา 50 กรัม นำมาตำให้พอแหลก ดองกับเหล้าท่วมตัวยา 4 เท่า ทิ้งไว้นาน 7 วัน ใช้กินครั้งละ 1 ถ้วยตะไล เช้าและเย็น (เมล็ด)
ใช้รักษาอาการลมผิดเดือนหลังคลอด เช่น อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า เบื่อผัว ให้ใช้เมล็ดตากแห้ง นำมาตำแล้วดองกับเหล้ากินวันละ ½ -1 ถ้วยตะไล เช้าและเย็น (เมล็ด)
ยาแก้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีอารมณ์หงุดหงิดช่วงมีประจำเดือน จะใช้เมล็ดนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนกินครั้งละ 2 เม็ด เช้าและเย็น (เมล็ด)
ตำรับยาขับเลือดร้ายขณะอยู่ไฟ อันเนื่องมาจากปวดท้อง ซึ่งกำลังอยู่ไฟ เนื่องจากเลือดคลั่งและทำให้เลือดดี จะใช้ใบคนทีเขมา 1 บาท, ใบหนาด 1 บาท, ใบผักเสี้ยนผี 1 บาท, กะทือ 1 บาท, กระเทียม 1 บาท, ขิง 1 บาท, ดีปลี 1 บาท, พริก 1 บาท, หัวข่า 1 บาท, หัวไพล 1 บาท, หัวหอม 1 บาท, สารส้ม 1 บาท และผิวมะกรูดอีก 22 บาท นำมารวมเข้าด้วยกัน ตำเป็นผงละลายน้ำร้อนหรือน้ำสุรา ใช้กินครั้งละ 1 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (ใบ)
ตำรับยาแก้เลือดแห้ง จะใช้รากคนทีเขมา รากมะตูม รากมะอึก เปลือกไม้แดง เปลือกเพกา ไผ่สีสุก และฝาง นำมาต้มกิน (ราก)
รากใช้เป็นยารักษาโรคตับ (ราก) ใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบ (รากและก้าน, ใบ, ดอก, ผล)
ใบใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน (ใบ)
ช่อดอกใช้เป็นยาฝาดสมาน (ช่อดอก)
ใช้รักษาบาดแผลจากของมีคม บาดแผลจากสุนัขและตะขาบกัด ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
ใช้รักษาแผลพุพองจากไฟไหม้ ด้วยการใช้กิ่งแห้ง นำมาคั่วโดยอย่าให้ไหม้ แล้วนำมาบดให้เป็นผงผสมกับน้ำมัน ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผล (กิ่งแห้ง)
ใช้รักษาฝีคัณฑสูตร ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 15 กรัม นำมาคั่วแล้วบดให้เป็นผง หรืออาจจะผสมเหล้าเล็กน้อยก็ได้ แล้วใช้กินตอนท้องว่าง (ผล)
ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ฝี เชื้อราที่เท้า ถอนพิษสาหร่ายทะเล ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
ใบ ดอก และผล ใช้ภายนอกเป็นยาแก้ผดผื่นคัน น้ำกัดเท้า แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ทั้งตะขาบกัด แมงมุมกัด โดยใช้ใบสดมาตำพอกแผล (ใบ, ดอก, ผล)
ยางใช้เป็นยาแก้คุดทะราด ฆ่าพยาธิผิวหนัง (หนัง)
ใบใช้เป็นยาแก้อาการบวมฟกช้ำดำเขียว ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำกิน ส่วนกากที่เหลือใช้พอกบริเวณที่ฟกช้ำ (ใบ) นอกจากนี้ เปลือกต้นก็มีสรรพคุณแก้ฟกบวมด้วยเช่นกัน (เปลือกต้น)
ผลใช้เป็นยารักษาอาการเหน็บชา (ผล)
ใช้รักษาโรคปวดตามข้อ ด้วยการใช้กิ่งสดประมาณ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำ ใช้แบ่งกิน 2 เวลา เช้าและเย็น (กิ่งสด)
ใบมีสรรพคุณรักษาโรคปวดตามข้อด้วยเช่นกัน (ใบ)
ใบใช้เป็นยาแก้ปวดตามข้อตามกล้ามเนื้อ ด้วยการนำใบมาอังไฟให้ร้อน ใช้นวดประคบ หรือใช้ทำเป็นน้ำมันนวด โดยใช้ใบสด 4 กิโลกรัม และน้ำมันงาหีบเย็น 1 ลิตร นำใบมาล้างให้สะอาดเด็ดเอาก้านทิ้ง แล้วนำไปตำให้แหลกคั้นเอาแต่น้ำ มาเคี่ยวรวมกับน้ำมันงาโดยใช้ไฟปานกลาง โดยเคี่ยวจนน้ำระเหยหมดเหลือแต่น้ำมัน โดยมีตะกอนสีเขียวเล็กน้อย จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมันมาเก็บไว้ใช้นวด ส่วนรากและใบก็ใช้ทำเป็นลูกประคบแก้อาการปวดตามกล้ามเนื้อได้ หรือจะใช้ก้านเป็นยาขับลมชื้นแก้อาการปวดเมื่อย ปวดบวม โดยนำก้านมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้ดองกับเหล้ากิน (ราก, ก้าน, ใบ) ตามตำรายาโบราณจะมีคนทีเขมาอยู่ในยาประคบ ยาย่าง รวมทั้งนำไปเคี่ยวน้ำมันทำเป็นยาพอก ใช้เป็นยากินเพื่อแก้อาการปวดเมื่อยตึงตามข้อ เส้นขัด เอ็นขัด เหน็บชา ลมในเอ็น เถาดาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ตกต้นไม้ ควายชน

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม กิ่งแห้งให้ใช้ 15-35 กรัม ใบแห้งให้ใช้ 10-35 กรัม ส่วนเมล็ดให้ใช้ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Tuesday, April 16, 2019

สมุนไพรคดสัง

คดสัง

คดสัง ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum trifoliatum Vent. จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)



มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เบน เบ็น (ขอนแก่น, มหาสารคาม), เบนน้ำ (อุบลราชธานี), เปือย (นครพนม), ย่านตุด คดสัง (สุราษฎร์ธานี), หญ้ายอดคำ (ภาคเหนือ), กรด (ภาคกลาง), จุด ชุด สุด (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของคดสัง

ต้นคดสัง จัดเป็นพรรณไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มสีน้ำตาลแกมเหลืองขึ้นปกคลุม เมื่อแก่ผิวจะเกลี้ยง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบขึ้นบริเวณที่ชุ่มชื้น ตามสองฝั่งแม่น้ำ หรือที่ราบที่น้ำท่วมถึง มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้

ใบคดสัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกที่ข้อเดียวกัน 3-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมมีติ่งสั้น โคนใบมนหรือค่อนข้างกลมเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร เนื้อใบหนามัน หรือค่อนข้างหนามัน ด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีตุ่มหูด หรือมีแถบของขนนุ่มสีน้ำตาลแกมเหลืองพาดขนานตามความยาวของเส้นกลางใบ เส้นใบมีประมาณ 6-8 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 4-7 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลแดงหรือสีสนิมเหล็กและมีขนนุ่ม เมื่อแก่ผิวจะเกลี้ยงและเปลี่ยนเป็นสีดำ

ดอกคดสัง ออกดอกเป็นช่อกระจายที่ปลายยอดหรือออกตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงตอนล่างเชื่อมติดกันเป็นท่อ ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร มีขนคล้ายเส้นไหมสีเทา ตอนบนแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีขนหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนนุ่มหนาแน่น ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนท่อเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร

ผลคดสัง ลักษณะของผลเป็นรูปรีแคบ มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร ผิวผลเกลี้ยง สีน้ำตาลดำเป็นมัน ไม่มีก้าน มีครีบปีกแข็ง 5 ปีก หรืออาจพบแบบ 4 หรือ 6 ปีกได้บ้าง โดยปีกจะมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ผลเมื่อแห้งจะแข็ง


สรรพคุณของคดสัง

ผลนำมาผสมกับเมล็ดข้าวโพด แล้วทำให้สุก นำมาปั้นเป็นยาลูกกลอนเอามาเคี้ยวเป็นยาบำรุงและรักษาเหงือก (ผล)
ผลนำมาต้มเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อยและเหงือกบวม (ผล)
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคบิด (ทั้งต้น)
เปลือกและรากใช้ฝนกับน้ำซาวข้าวกินเป็นยาสมานลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง (เปลือกและราก)
เปลือกและรากใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้อาการจุกเสียด (เปลือกและราก)
ทั้งต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ (ทั้งต้น)
ผลใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน (ผล)
รากใช้ปรุงเป็นยาชงรักษาอาการตกขาว และยังใช้ชำระล้างอวัยวะสืบพันธุ์ได้ด้วย (ราก)
ยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ลำต้นคดสังเข้ายากับแก่นมะขาม เบนน้ำ เพกา และจำปาขาว ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้นิ่วในไต (ลำต้น)
รากใช้ฝนทาแก้ฝีหนอง (ราก)
ประโยชน์ของคดสัง
รากใช้ชำระล้างอวัยวะสืบพันธุ์
ยอดหรือใบอ่อนคดสังใช้รับประทานสดเป็นผักร่วมกับลาบ ก้อย

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สมุนไพรคงคาเดือด

คงคาเดือด

คงคาเดือด ชื่อวิทยาศาสตร์ Arfeuillea arborescens Pierre ex Radlk. จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)


มีชื่อท้องถิ่น ๆ อื่นว่า ช้างเผือก (ลำปาง), สมุยกุย (นครราชสีมา), ตะไล (ราชบุรี), ตะไลคงคา (ชัยนาท), คงคาเลือด หมากเล็กหมากน้อย (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของคงคาเดือด
ต้นคงคาเดือด จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 8-20 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ลำต้นมีขนาดเท่าต้นมะพร้าวหรือใหญ่กว่า เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือเป็นสีหม่น ๆ และมีด่างเป็นดวงขาว ๆ ทั่วไปตามลำต้น ส่วนกิ่งนั้นเป็นสีเขียว มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน อาจพบในพม่าด้วย ส่วนในไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นทางภาคใต้ โดยพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และขึ้นประปรายตามป่าราบ ชอบเขาหินปูน ระดับความสูงจนถึง 600 เมตร

ใบคงคาเดือด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมยาวหรือเว้าตื้น โคนใบมนเบี้ยวไม่เท่ากันหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบหรือบางใบมีรอยหยักห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-7 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบมีขนยาวใกล้เส้นกลางใบทั้งสองด้าน ก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร

ดอกคงคาเดือด ดอกเป็นแบบแยกเพศร่วมต้น ออกดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร โดยจะออกที่ปลายยอด ช่อกระจุกเรียวยาว ม้วนขดเล็กน้อย ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อเดียวกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปรี รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาวประมาณ 5-5.9 มิลลิเมตร สีแดงอมเขียว กลีบดอกมี 2-4 กลีบ เป็นสีขาว มีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร จานฐานดอกเป็นรูปคล้ายปาก ดอกมีเกสรเพศผู้ 6-9 อัน เกลี้ยง ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 5-9 มิลลิเมตร ในดอกเพศเมียจะสั้นกว่าในดอกเพศผู้ อับเรณูยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร รังไข่มี 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 2 เม็ด มีขนและไร้ก้าน ในดอกเพศผู้ฝ่อ ในดอกเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย

ผลคงคาเดือด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี เป็นผลแบบแคปซูล บาง เกลี้ยง ปลายผลและขั้วผลแหลม มีปีก 3 ปีก ยาวประมาณ 3.2-5.5 เซนติเมตร ส่วนปีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลสดเป็นสีเขียว พอแห้งจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในมีเมล็ดสีดำ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่กลับมีขนขึ้นสีน้ำตาลปกคลุม ยาวประมาณ 5-5.5 มิลลิเมตร ขั้วเมล็ดมีขนาดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม


สรรพคุณของคงคาเดือด

เนื้อไม้คงคาเดือด
เปลือกต้นและเนื้อไม้มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
เปลือกต้นใช้กินเป็นยาดับพิษไข้ แก้พิษร้อนในกระหายน้ำ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ซางตัวร้อน (โรคของเด็กเล็ก มีอาการสำคัญคือ ซึม เบื่ออาหาร มีเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า) (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
เปลือกต้นมีรสเย็นออกขมฝาด ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้ไอ (เปลือกต้น)
เนื้อไม้มีรสเย็นขมฝาด ใช้ฝนกินเป็นยาฆ่าพยาธิ (เนื้อไม้)
เปลือกต้นนำมาต้มเอาน้ำอาบรักษาอาการคัน ช่วยแก้อาการคันแสบร้อนตามผิวหนัง (เปลือกต้น, เนื้อไม้)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Sunday, April 14, 2019

สมุนไพรแข้งกวางดง

แข้งกวางดง

แข้งกวางดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Wendlandia paniculata (Roxb.) DC. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)



มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กว้างดง ซั่ง จ่อล่อ น้าน (เชียงใหม่), ประดงแดง (สุโขทัย), ฮุนเต้า (เลย), แข้งกวาง (คนเมือง), ไม้กว้าว (คนเมือง, ไทใหญ่), ไม้กว๊าง (ลั้วะ), เส่ควอบอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ลักษณะของแข้งกวางดง
ต้นแข้งกวางดง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3-6 เมตร เรือนยอดเป็นทรงกลมโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทาแตกเป็นร่องตื้นตามขอบลำต้น พบขึ้นได้ในป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบเขา
ใบแข้งกวางดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มหรือสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ท้องใบมน เส้นแขนงใบเป็นร่องลึกชัดเจนข้างละ 10-12 เส้น มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอกแข้งกวางดง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายกิ่งเป็นสามเหลี่ยม ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็นแฉก 4-5 แฉก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
ผลแข้งกวางดง ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม แตกออกได้ตามพู ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก จะออกผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

สรรพคุณของแข้งกวางดง

ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นแข้งกวางดง นำมาผสมกับสมุนไพรจำพวกประดงรวม 9 ชนิด ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคประดง (ลำต้น)
ลำต้นแข้งกวางดงใช้ผสมกับแก่นขี้เหล็ก แก่นราชพฤกษ์ แก่นมะดูก แก่นไม้เล็ม และรากเดือยหิน นำมาต้มกับข้าว กินข้าวและน้ำเป็นยาแก้ปวดบั้นเอว (ลำต้น)
บางข้อมูลระบุว่า ใบใช้ตำกับเหล้าขาวคั้นเอาน้ำทาแก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ส่วนยางที่ได้จากการสับเปลือกใช้เป็นกาวได้ (เป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ biogang.net โดยอ้างอิงมาจากเว็บไซต์ pgr.rmutto.ac.th แต่น่าเสียดายที่ลิงก์ต้นฉบับเสีย เลยไม่ทราบว่าข้อมูลส่วนนี้ถูกต้องหรือไม่)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Saturday, April 13, 2019

สมุนไพรกำลังควายถึก

กำลังควายถึก

กำลังควายถึก ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax perfoliata Lour. จัดอยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE)
 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เครือเดา เดาน้ำ สะเดา (เชียงใหม่), ก้ามกุ้ง (อุตรดิตถ์), เขืองปล้องสั้น (นครราชสีมา), เขือง (ภาคอีสาน), เขืองแดง เขืองสยาม (ภาคกลาง), พอกะอ่ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หนามป๋าวหลวง (ไทใหญ่) เป็นต้น



ลักษณะของกำลังควายถึก

ต้นกำลังควายถึก จัดเป็นพรรณไม้เถาเกาะเกี่ยวพาดพัน ลำต้นเป็นเถากลมหรือเป็นเหลี่ยมมนเกลี้ยง หรือมีหนามโค้งประปราย หนาประมาณ 0.3-1.2 เซนติเมตร ช่วงระหว่างข้อยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย เนปาล จีน ไต้หวัน พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามป่าดิบ บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงประมาณ 1,500 เมตร

ใบกำลังควายถึก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง รูปรี รูปไข่แกมรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม มีบ้างที่โคนใบเว้าตื้น ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-18 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็ง มีนวลเล็กน้อยแอ่นเป็นร่อง เส้นแขนงใบออกจากโคนใบมีประมาณ 5-7 เส้น นูนเห็นชัดเจนทางด้านล่าง เส้นแขนงใบ 3 เส้นที่อยู่ตรงกลาง โคนเชื่อมกันห่างจากโคนใบประมาณ 0.5-1.3 เซนติเมตร เส้นใบย่อยสานเป็นร่างแห ก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวได้ประมาณ 1.5-6 เซนติเมตร ก้านใบตอนโคนแผ่ออกเป็นกาบกว้างประมาณ 0.7-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ที่โคนกาบเป็นรูปหัวใจเว้าลึกโอบรอบลำต้น ปลายแหลม มีมือพัน 1 คู่ ยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร

ดอกกำลังควายถึก ดอกเป็นแบบแยกเพศ และอยู่ต่างต้นกัน โดยจะออกตามโคนหรือตอนปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อกระจะรวมที่มีช่อย่อย ๆ แบบช่อซี่ร่ม ช่อยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ส่วนมากจะมีช่อซี่ร่มประมาณ 1-3 ช่อ แต่ในช่อดอกเพศผู้ช่ออาจยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร และมีช่อซี่ร่มได้ถึง 15 ช่อ และข้อที่ 4-6 ของช่อมีช่อซี่ร่มได้ข้อละ 2-4 ช่อ ที่โคนของแก่นช่อดอกจะมีใบประดับย่อย ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ก้านช่อดอกแข็ง ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ช่อซี่ร่มจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร และมีดอกย่อยประมาณ 20-70 ดอก ก้านช่อยาวประมาณ 0.7-1.5 เซนติเมตร วงกลีบรวมมี 6 กลีบ แยกจากกัน เรียงเป็น 2 วง ดอกเพศผู้กลีบรวมจะยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร เมื่อดอกบานกลีบจะโค้งลง กลีบรวมวงนอกเป็นรูปขอบขนาน ปลายมน มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนกลีบรวมวงในจะแคบกว่า และมีเกสรเพศผู้ 6 อัน ส่วนดอกเพศเมียกลีบรวมจะเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอก ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมื่อดอกบานกลีบจะกางตรง กลีบรวมวงนอกมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนกลีบรวมในจะแคบกว่า มีรังไข่เป็นรูปรี อยู่เหนือวงกลีบ มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียมี 3 แฉก มีเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์ที่มีลักษณะคล้ายเข็ม 3 อัน ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร

ผลกำลังควายถึก ออกผลเป็นช่อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม เนื้อผลนุ่ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน ๆ เมื่อสุกจะเป็นสีแดง ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีแดงเข้ม ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่กลับเกือบกลม มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกำลังควายถึก

ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เถาและหัว, เปลือก)
เปลือกใช้เป็นยาบำรุงโลหิต ทำให้ธาตุสมบูรณ์ (เปลือก)
รากเหง้าใช้ปรุงเป็นยาแก้ต่อมน้ำเหลืองภายใน ขับต่อมน้ำในร่างกาย (รากเหง้า)
รากเหง้าใช้ปรุงเป็นยาแก้ฝีภายใน (รากเหง้า)
ใช้เป็นยาบำรุงกำหนัด (เถาและหัว)
ใช้เป็นยาขับโลหิต (เถาและหัว)
น้ำจากยอดที่หักใช้หยดลงบริเวณที่เป็นหูด โดยให้ทำประมาณ 7 วัน หูดจะหาย (น้ำจากยอด)
เปลือกใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (เปลือก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Friday, April 12, 2019

สมุนไพรเขียวหมื่นปี

เขียวหมื่นปี


เขียวหมื่นปี ชื่อสามัญ Chinese Evergreen, Aglaonema (อโกลนีมา)
เขียวหมื่นปี ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaonema modestum Schott ex Engl. จัดอยู่ในวงศ์บอน (ARACEAE)

สมุนไพรเขียวหมื่นปี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านเขียวหมื่นปี, ว่านขันหมาก, มะเขือพ่อค้า บ้วนนีแช, แก้วกาญจนา (เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และเป็นราชาแห่งไม้ประดับ), ว่านเหนียนชิง (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของเขียวหมื่นปี

ต้นเขียวหมื่นปี จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กจำพวกว่าน เป็นต้นไม้ในกลุ่มอโกลนีมา อาจมีความสูงของต้นได้ถึง 1-2 เมตร มียางสีขาว ลำต้นตั้งตรงเป็นไม้เนื้ออ่อน มีข้อถี่ ไม่แยกต้น มีหัวอยู่ใต้ดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ,มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และแอฟริกา

ใบเขียวหมื่นปี ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกยาวหรือรูปใบพาย ปลายใบแหลม โคนใบค่อย ๆ สอบติดก้านใบแผ่นใบเป็นสีเขียวมีลายสลับกับสีเขียวแกมเทา เส้นใบจมพื้นใบนูนเป็นลอน ขอบใบบิด ลายเส้นใบคล้ายขนนก ลักษณะด้านบนเป็นร่องเล็กน้อย ด้านนอกกลมนูน บริเวณโคนแผ่ออกเป็นกาบสีเขียวออกแดงเรื่อ ๆ โอบหุ้มกับลำต้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ในช่วงแรก ๆ ใบจะเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆ พัฒนาการมาเป็นสีสันที่แปลกตาและดูสวยงามมากขึ้นเรื่อย ๆ

ดอกเขียวหมื่นปี ดอกมีลักษณะคล้ายกับดอกไม้ในวงศ์บอนทั่วไป โดยจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยวบริเวณง่ามใบ มีกาบหุ้มช่อดอกหรือกาบหุ้มปลีคล้ายดอกหน้าวัว ลักษณะเป็นรูปไข่หรือค่อนข้างกลม มีสีเหลืองนวล ช่อดอกมีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก ประกอบไปด้วยเกสรเพศผู้ที่อยู่ส่วนบนและเกสรเพศเมียที่อยู่ส่วนล่าง เมื่อต้นมีอายุประมาณ 18-20 เดือน จะเริ่มออกดอก โดยจะสังเกตได้จากยอดที่เกิดใหม่ จะมีใบขนาดเล็กกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า "ใบธง" ซึ่งดอกจะเกิดพร้อมกับใบธงนี้

ผลเขียวหมื่นปี ผลมีลักษณะและขนาดเท่ากับลูกหว้าขนาดใหญ่ เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองแก่

หมายเหตุ : ในวงศ์ต้นว่านกลุ่ม Aglaonema นี้ นอกจากเขียวหมื่นปีแล้ว ยังมีว่านสาวน้อยประแป้ง เขียวหมื่นปีลายแตง เขียวหมื่นปีเงินมาก ล้วนนำมาใช้เป็นยาได้ทุกชนิด แต่ต้องระวังการใช้ เพราะพืชเหล่านี้มีพิษเล็กน้อย และในยาสมุนไพรไทยยังไม่พบคนนำไปใช้เป็นยา


สรรพคุณของเขียวหมื่นปี

รากและใบมีรสจืด ขมเล็กน้อย เป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไทฟอยด์ (ราก, ใบ)
ใช้เป็นยาแก้อาการไอเป็นเลือด แก้อาการไอเนื่องจากปอดมีความร้อน แก้ไอหืดหอบ (ราก, ใบ)
ใช้เป็นยาแก้คอเจ็บ คอบวมอักเสบ ด้วยการใช้รากเขียวหมื่นปีนำมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลกคั้นเอาน้ำ ผสมกับน้ำเย็น ใส่เกลือเล็กน้อย นำมาใช้เป็นยาอมกลั้วคอ (ราก)
ใช้เป็นยาแก้คอตีบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 8-20 กรัม ตำให้แหลก นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือนำมาคั้นเอาน้ำแล้วผสมกับน้ำส้มสายชูเล็กน้อย ใส่น้ำเย็น แล้วนำมาอมกลั้วคอ (ใบ)
ใช้เป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ราก, ใบ)
 ใบนำมาตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกแผลสด ปิดบาดแผลที่ถูกของมีคม แล้วเอาผ้าพันไว้ให้แน่น เมื่อหายเจ็บแล้วค่อยนำผ้าพันแผลออก จะเห็นว่ารอยแผลเชื่อมสนิทหรือเป็นรอยเล็กน้อย แต่ไม่อักเสบ หรือเจ็บปวด และเมื่อแผลแห้งและตกสะเก็ดจะไม่เป็นแผลเป็น (ใบ)[2]
ใช้เป็นยาแก้ฝีบวมช้ำ แมลงกัดต่อย สุนัขหรืองูกัด ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำตาลเล็กน้อย รับประทานแต่น้ำ ส่วนกากที่เหลือให้นำมาพอกบริเวณบาดแผล (ใบ) บ้างใช้ลำต้นนำมาบดให้เป็นแป้งเหนียว ใช้เป็นยาทาบริเวณที่ถูกสุนัขกัดเพื่อรักษาบาดแผล (ต้น)
ใบใช้ภายนอกเป็นยาแก้ฝี หนอง ฝีหนองบนผิวหนัง (ใบ)
ใบนำมาบดใช้เป็นยาแก้ลดบวม พอกแก้อาการเคล็ดบวม รักษาข้อเคล็ดอักเสบ บวม (ใบ)
น้ำคั้นจากต้นจะมีฤทธิ์ระคายผิวหนัง ในรายที่เป็นโรคข้ออักเสบ จะช่วยทำให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น (ต้น)
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม ใบแห้งให้ใช้ 6-15 กรัม ส่วนใบสดให้ใช้ 15-30 กรัม (โดยส่วนมากจะใช้ยาจากต้นสดมากกว่า) ส่วนการนำมาใช้ภายนอกให้นำมาตำพอกบริเวณที่เป็น

ข้อควรระวัง : การนำมาใช้เป็นยาภายในต้องระวังให้มาก อย่าใช้นานเกินควร เนื่องจากยานี้จะทำให้เลือดเย็น

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, April 11, 2019

สมุนไพรเขยตาย

เขยตาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Glycosmis arborea (Roxb.) DC.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)



 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ส้มชื่น ศรีชมชื่น น้ำข้าวต้น พิษนาคราช พุทธรักษา (สุโขทัย), ประยงค์ใหญ่ (กรุงเทพฯ), กระรอกน้ำ กระรอกน้ำข้าว (ชลบุรี), มันหมู (ประจวบคีรีขันธ์), เขนทะ ส้มชื่น (ภาคเหนือ), ส้มชื่น (ภาคอีสาน), กระโรกน้ำข้าว เขยตายแม่ยายชักลาก ลูกเขยตาย น้ำข้าว (ภาคกลาง), เขยตายแม่ยายชักปรก ลูกเขยตาย ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ ต้มชมชื่น น้ำข้าว โรคน้ำเข้า หญ้ายาง (ภาคใต้), ชมชื่น เขยตายแม่ยายปรก ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ ตาระเป (บางภาคเรียก), ต้นเขยตาย (ตามตำรายาเรียก) เป็นต้น

ข้อควรรู้ : เหตุที่ได้ชื่อว่า "เขยตาย" นั้น สืบเนื่องมาจากมีตำนานเล่าว่า ลูกเขยกับแม่ยายไปทำไร่บนเขาด้วยกัน ขากลับลูกเขยถูกงูกัดตาย แม่ยายจึงตัดต้นไม้มาคลุมร่างเอาไว้กันอุจาด แล้วจึงไปตามคนในหมู่ เมื่อกลับไปที่เกิดเหตุก็พบว่าลูกเขยฟื้นขึ้นมาแล้ว เนื่องจากต้นไม้ที่แม่ยายชักปรกไว้นั้น มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษ

ลักษณะของเขยตาย

ต้นเขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน


ใบเขยตาย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม มีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมถึงกลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบหรือมีรอยจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีจุดต่อม หลังใบเรียบลื่นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า ใบด้านบน ๆ จะมีสีแดงที่ฐาน

ดอกเขยตาย ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงหรือออกเป็นกระจุกประมาณ 12-15 ดอก ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีขาว มี 5 กลีบ ขนาด 4-5 x 2-2.5 มิลลิเมตร เรียงซ้อนกันเป็นวง ผิวมีต่อมจุด รูปไข่กลับ ส่วนกลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร รูปแหลมกึ่งรูปไข่ มีขนอ่อนที่ส่วนปลาย มีใบประดับหุ้ม โดยชั้นบนจะมี 5 กลีบใหญ่ และมีส่วนย่อยเล็ก ๆ หลายอัน มีต่อมซึ่งเป็นร่อง ส่วนก้านชูดอกสั้นมาก เกสรเพศเมียออกเรียงเป็นวง ตรงกลางแกนดอกมีเกสรเพศผู้เป็นแท่ง ส่วนรังไข่มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร เป็นรูปไข่ ดอกมีเกสรเพศผู้ 8-10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน


ผลเขยตาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.18 เซนติเมตร ปลายผลแหลม ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูใส ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลม เป็นลาย ติดผลในช่วงประมาณเดือนมีนาคม

สรรพคุณของเขยตาย

ใบใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน (ใบ)
รากมีรสเมาขื่นปร่า ใช้เป็นยาแก้ไข้กาฬ ไข้รากสาด และเป็นยาลดไข้ (ราก)
รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้ไข้ (ราก, ใบ)
รากและใบใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคบิดท้องเดิน (ราก, ใบ)
ในบังกลาเทศจะใช้น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำตาล ใช้กินตอนท้องว่างเพื่อถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ไข้ (ใบ)
เนื้อไม้ เปลือกต้น และราก มีสรรพคุณเป็นยาขับน้ำนม (เนื้อไม้, เปลือกต้น, ราก)
น้ำคั้นจากใบใช้ผสมกับน้ำตาลกินตอนท้องว่างเป็นยาแก้โรคตับ (ใบ)
เปลือกต้นมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้ฝีทั้งภายในและภายนอก (เนื้อไม้, เปลือกต้น)
รากใช้ฝนทาแก้โรคผิวหนังพุพอง ทาแผลที่อักเสบ (ราก)
ใบนำมาบดผสมกับขิง ใช้รักษาผิวหนังอักเสบ เป็นตุ่มพุพอง หรือคันอักเสบ (ใบ)
รากใช้เป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษฝีทั้งภายในและภายนอก ใช้ฝนกับน้ำกินและทาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น พิษงู (จากงูที่มีพิษไม่รุนแรง) พิษตะขาบกัด พิษปลาดุกแทง ปลาแขยงปักมือ ฯลฯ หรือจะนำรากมาตำใส่น้ำมะนาวหรือเหล้าพอกทิ้งไว้สักครู่ก็ได้ อาการก็จะหาย (ราก)หรือใช้เปลือกต้นเป็นยากระทุ้งพิษ แก้พิษงูหรือพิษนาคราช แก้พิษต่าง ๆ แก้พิษไข้ (เปลือกต้น)
ใบนำมาขยี้หรือบดผสมกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์หรือน้ำมะนาว ใช้เป็นยาทารักษางูสวัด เริม ไฟลามทุ่ง ขยุ้มตีนหมา ลมพิษ (ใบ)
ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ฝีที่นม ตัดรากฝีที่นม เกลื่อนฝีให้ยุบ ยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิด (ราก)
ดอกและผลมีรสเมาร้อน ใช้เป็นยาแก้หิด (ดอกและผล)
ข้อควรระวัง : ยางจากทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน เพ้อคลั่งและเสียชีวิตได้

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Wednesday, April 10, 2019

สมุนไพรเอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด ชื่อวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. ex J.J. Sm., Gastrochilus miniatus (Lindl.) Kuntze, Saccolabium miniatum Lindl.) จัดอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE)


 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พุ่มสุวรรณ เอื้องไข่เหลือง เอื้องมันปู เอื้องฮางคาง (เชียงใหม่), เอื้องฮ่องคำ (ลำปาง), เอื้องเหลืองพระฝาง (กรุงเทพฯ), เข็มเหลือง, เข็มแสด, สุขสำราญ เป็นต้น

ลักษณะของเอื้องเข็มแสด
ต้นเอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ

ใบเอื้องเข็มแสด ใบออกเรียงสลับในระนาบเดียวกันและซ้อนกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบตัดเป็นจักแหลม ด้านล่างเป็นสันเหลี่ยม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็งเป็นสีเขียวแก่ ใบพับเป็นร่อง และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อยเมื่ออยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้ง

ดอกเอื้องเข็มแสด ออกดอกเป็นช่อตั้งตามซอกใบ ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 20-50 ดอกต่อช่อ ช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกหนา กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นมันสีส้มหรือสีเหลืองอมส้ม กลีบปากเป็นสีแสด ฝาปิดกลุ่มเรณูเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของเอื้องเข็มแสด
ในหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ระบุว่า รากของพรรณไม้ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ascocentrum miniatum (Lindl.) (ตามตำราเรียกต้น "เข็มเหลือง") มีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยารักษาฝีกาฬจับหัวใจ (ราก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Tuesday, April 9, 2019

สมุนไพรเข็มเศรษฐี

เข็มเศรษฐี 


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora macrothyrsa (Teijsm. & Binn.) T.Moore (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pavetta macrothyrsa Teijsm. & Binn.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) มีชื่อเรียกอื่นว่า เข็มแดง

ลักษณะของเข็มเศรษฐี
ต้นเข็มเศรษฐี จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย ๆ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้ม

ใบเข็มเศรษฐี ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ

ดอกเข็มเศรษฐี ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีแดง กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวสีแดง ปลายกลีบแหลม ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีแดงเข้ม ปลายแยกออกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ดอกมีเกสรเพศผู้ติดอยู่ระหว่างกลีบดอกมี 4 อัน

ผลเข็มเศรษฐี ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณของเข็มเศรษฐี

รากมีรสเย็นหวาน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุไฟ (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้โรคตา (ราก)
ใช้เป็นยาแก้เสมหะและกำเดา (ราก)
รากและดอกใช้เป็นยาแก้บิด (รากและดอก)
ใช้เป็นยาแก้บวม (ราก)

ประโยชน์ของเข็มเศรษฐี

ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป จัดว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามความเชื่อโบราณถือว่าดอกเข็มที่แหลมเรียว เปรียบเสมือนการมีปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็มจึงถูกยกย่องให้เป็นดอกไม้ประจำวันครู และมักถูกนำไปใช้บูชาพระและประดับแจกัน หรือใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆ

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Monday, April 8, 2019

สมุนไพรเข็มแดง

เข็มแดง 


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora lobbii Loudon (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ixora lobbii var. angustifolia King & Gamble) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)


 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เงาะ (สุราษฎร์ธานี), จะปูโย (มลายู-นราธิวาส), ตุโดบุโยบูเก๊ะ (มลายู), เข็มดอกแดง เป็นต้น

ลักษณะของเข็มแดง

ต้นเข็มแดง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะต้นนั้นจะคล้ายกับเข็มขาว ถ้ามีอายุหลายปีอาจมีขนาดของต้นเท่ากับต้นมะม่วงได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นปรปรายในจังหวัดต่าง ๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท ชอบขึ้นเองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ

ใบเข็มแดง ใบมีลักษณะหนายาวและแข็งเป็นสีเขียวสด ปลายใบแหลม
ดอกเข็มแดง ออกดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่มีสีแดงเข้ม ดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาวมาก แต่จะไม่มีกลิ่นหอม
ผลเข็มแดง ผลมีลักษณะกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ

หมายเหตุ : รูปที่ใช้ประกอบเป็นรูปจากต้นเข็มแดงที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora Lobbii

สรรพคุณของเข็มแดง

รากใช้ปรุงเป็นยาบำรุงไฟธาตุ (ราก)
รากใช้เป็นยารักษาตาพิการ (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้เสมหะและกำเดา (ราก)
รากใช้เป็นยาบรรเทาอาการบวม (ราก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Saturday, April 6, 2019

สมุนไพรเข็มขาว

เข็มขาว ชื่อสามัญ Siamese white ixora



เข็มขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora lucida R.Br. ex Hook.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ixora ebarbata Craib) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เข็มพระราม (กรุงเทพฯ), เข็มปลายสาน (ปัตตานี), เข็มขาว (นครศรีธรรมราช), เข็มขาว (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), เข็มไม้ (ไทย) เป็นต้น

ลักษณะของเข็มขาว
ต้นเข็มขาว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขึ้นเป็นพุ่มแน่น แตกกิ่งใกล้ผิวดินจำนวนมาก ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร เปลือกต้นเป็นสีดำ รากมีรสหวาน มีหูใบ 2 ข้าง น้ำยางใส ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนชุ่มชื้น มีแสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าราบหรือตามป่าเบญจพรรณ


ใบเข็มขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีขอบขนาน ปลายใบมน แหลม หรือเรียวแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบค่อนข้างหนา

ดอกเข็มขาว ออกดอกรวมกันเป็นช่อแบบซี่ร่มขนาดใหญ่แน่นทึบ ก้านดอกยาวกว่าดอกเข็มชนิดอื่น ๆ ดอกย่อยเป็นรูปหลอดปลายแยกออกเป็นกลีบ 4-5 กลีบ ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม


ผลเข็มขาว ลักษณะของผลเป็นรูปรี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร มีเนื้อนุ่ม ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีดำ
สรรพคุณของเข็มขาว
รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาช่วยเจริญอาหาร (ราก)
ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคตาต่าง ๆ (ราก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Friday, April 5, 2019

สมุนไพรขี้อ้าย

ขี้อ้าย ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia nigrovenulosa Pierre (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Terminalia hainanensis Exell, Terminalia obliqua W. G. Craib, Terminalia triptera Stapf, Terminalia tripteroides W. G. Craib) จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)




 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กำจาย (เชียงใหม่), สลิว (ตาก), แสนคำ แสงคำ สีเสียดต้น (เลย), หนามกราย (นครราชสีมา), หอมกราย (จันทบุรี), ขี้อ้าย หานกราย (ราชบุรี), เบน เบ็น (สุโขทัย), มะขามกราย หามกราย หนามกราย (ชลบุรี), ประดู่ขาว (ชุมพร), แฟบ เบ็น (ประจวบคีรีขันธ์), ตานแดง (ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, สงขลา), คำเจ้า พระเจ้าหามก๋าย พระเจ้าหอมก๋าย ปู่เจ้า ปู่เจ้าหามก๋าย สลิง ห้ามก๋าย (ภาคเหนือ), แสงคำ แสนคำ สังคำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กำจำ (ภาคใต้), แนอาม (ชอง-จันทบุรี), หนองมึงโจ่ หนองมึ่งโจ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของขี้อ้าย

ต้นขี้อ้าย จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 5-25 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ส่วนโคนต้นที่มีพูพอนขนาดเล็ก มักมีกิ่งย่อยรอบ ๆ ลำต้นทางด้านล่าง และจะร่วงโรยไปเมื่อแก่ เมื่อสับจะมียางสีแดงส้มชัดเจน เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา และมีรอยแตกตามยาวแบบตื้น ๆ เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน กระจายพันธุ์ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน และในคาบสมุทรมลายู ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยมักขึ้นกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าคืนสภาพ ป่าดงดิบแล้งบนเขาหินทรายและหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร ชอบแสงแดดจัด
กราย

ใบขี้อ้าย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันหรือออกเกือบตรงกันข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปมนแกมรูปไข่ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ มีต่อมหนึ่งคู่ที่บริเวณขอบใบใกล้ ๆ กับโคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ใบอ่อนปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลหนาอ่อนหนาแน่น และจะร่วงไปเมื่อใบมีอายุมากขึ้น เส้นแขนงใบมีข้างละ 8-10 เส้น ใบแก่ก่อนร่วงเป็นสีเหลือง ก้านใบมีขนาดเล็กเรียวและยาวได้ประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร

ดอกขี้อ้าย ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ออก 3-6 ช่อ ตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ช่อดอกย่อยแบบช่อเชิงลด ขนาดยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร แกนกลางช่อมีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกย่อยช่อเชิงลดยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกประมาณ 4-5 ดอก ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม มีใบประดับเป็นรูปเส้นด้าย ยาวได้ประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร ปลายแยกออกเป็น 5 แฉกรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกไม่มี ด้านในมีขน ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน มีขนาดยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง อับเรณูติดไหวได้ จานฐานดอกขอบหยักมน มีขนยาวหนาแน่น รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ยาวประมาณ 0.8-1 มิลลิเมตร เกลี้ยง มีช่อง 1 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2-3 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม

ผลขี้อ้าย ผลเป็นแบบผลผนังชั้นในแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย ขอบขนาน หรือเบี้ยว ผลมีปีก 3 ปีก ปีกบาง แต่ละปีกทำมุมเกือบเท่ากัน สีน้ำตาลอ่อน เปลือกผลเหนียว ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมเหลือง ส่วนผลแก่เป็นสีน้ำตาล ผลเมื่อแก่จะไม่แตกออก ขนาดของผลรวมทั้งปีกจะมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดเป็นสีขาว มีลักษณะเป็นรูปรี โดยจะออกผลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม

สรรพคุณของขี้อ้าย

เปลือกมีรสฝาด ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (เปลือก)
เปลือกใช้กินกับหมาก แก้ปากเปื่อย (เปลือก)
เปลือกใช้เป็นยากล่อมเสมหะและอาจม (เปลือก)
ผลมีรสฝาด ใช้เป็นยาแก้เสมหะเป็นพิษ (ผล)
เปลือกใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง รักษาโรคบิด แก้บิดปวดเบ่ง (เปลือก, ผล) หากมีอาการท้องร่วงอย่างแรง เป็นบิด ปวดเบ่ง ท้องเดิน ให้นำผลมารับประทานก็จะหาย (ผล)
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เปลือก)
ใช้เป็นยาคุมธาตุและให้อุจจาระเป็นก้อน แก้อุจจาระเป็นฟอง (เปลือก)
ผลใช้เป็นยาแก้อุจจาระเป็นมูกเลือด (ผล)
เปลือกใช้ภายนอกเอาน้ำต้มเปลือกใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรังและช่วยห้ามเลือด (เปลือก)

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

Thursday, April 4, 2019

สมุนไพรขี้เหล็กเลือด

ขี้เหล็กเลือด 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna timoriensis (DC.) H.S.Irwin & Barneby (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia timoriensis DC.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)



 มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้เหล็กคันชั่ง ขี้เหล็กตาซี ขี้เหล็กแดง ขี้เหล็กยายชี ขี้เหล็กปันช่าง บี้ตะขะ ช้าขี้เหล็ก ขี้เหล็กแมลงสาบ (เชียงใหม่), มะเกลือเลือด (ราชบุรี), กะแลงแง็น (นราธิวาส), ขี้เหล็กคันชั่ง ขี้เหล็กแดง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กดง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขี้เหล็กป่า (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กะแลงแงน ขี้เหล็กนางชี ขี้เหล็กเลือด ช้าขี้เหล็ก (ภาคใต้), ปี้ตะขะ (ละว้า-เชียงใหม่), แมะขี้เหละที แมะแคะแหล่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน), จี้ลีหลอย (เงี้ยว-แม่ฮองสอน) เป็นต้น


ลักษณะของขี้เหล็กเลือด

ต้นขี้เหล็กเลือด จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีลักษณะคล้ายขี้เหล็กบ้าน ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 8-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหรือสีเหลืองถึงสีเหลืองทองขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าราบ ป่าผลัดใบ ชายป่าที่แห้งแล้ง สองข้างถนน หรือบางครั้งพบขึ้นตามเขาหินปูน
ใบขี้เหล็กเลือด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน มีใบย่อยประมาณ 10-20 คู่ แกนกลางยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ก้านใบประกอบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมสั้น ๆ หรือเป็นติ่ง โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-6 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้านของแผ่นใบ ก้านใบย่อยสั้น ท้องใบเป็นสีแดง มีหูใบเป็นรูปติ่งหู ขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร
ดอกขี้เหล็กเลือด ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงแบบหลวม ๆ โดยจะออกตามซอกใบ ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เกลี้ยงหรือมีขน ใบประดับเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายกลม ยาวไม่เท่ากัน โดยจะยาวประมาณ 0.7-1.5 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มด้านนอก สำหรับกลีบดอกนั้นจะเป็นสีเหลืองสด กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร โคนกลีบดอกแหลม มีก้านกลีบสั้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน 2 อันมีขนาดใหญ่กว่า ก้านเกสรยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร อับเรณูยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้อีก 5 อัน มีอับเรณูขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย อับเรณูมีช่องเปิดที่ปลาย เกสรเพศผู้ที่ลดรูปจะมี 3 อัน ขนาดยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร รังไข่และก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ยอดเกสรมีขนาดเล็ก โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม

ผลขี้เหล็กเลือด ผลมีลักษณะเป็นฝักขนาดเล็ก ฝักเป็นรูปแถบ แบน และเกลี้ยง ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม กระเปาะแตกได้ ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลหลายเมล็ด หรือประมาณ 10-30 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปรีแบนและเป็นมันวาว เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร โดยจะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของขี้เหล็กเลือด

แก่นมีรสขม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต (แก่น)
ใช้เป็นยาแก้กระษัย (แก่น)
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (แก่น)
แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคสตรีที่มีโลหิตระดูเสีย เป็นยาล้างขับโลหิต (แก่น)
ใช้เป็นยาแก้ไตพิการ (แก่น)
เปลือกต้นมีรสขม ใช้เป็นยาแก้โรคหิด (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยารักษาอาการปวดเอว แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นปัตคาดบริเวณท้องน้อยและหน้าขาตึง (แก่น)
ประโยชน์ของขี้เหล็กเลือด
ใบอ่อนและดอกตูม ใช้รับประทานเป็นอาหารได้
ใช้ปลูกเป็นไม้เบิกนำ เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป ทนความแล้งได้ดี
ชาวขมุจะใช้เนื้อไม้หรือกิ่งนำมาใช้ในการก่อสร้าง ส่วนลำต้นนำไปใช้ทำฟืน

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com

สมุนไพรขี้หนอน

ขี้หนอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Zollingeria dongnaiensis Pierre จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)



สมุนไพรขี้หนอน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้มอด (ขอนแก่น, นครราชสีมา)
ลักษณะของขี้หนอน
ต้นขี้หนอน จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปไข่หรือเป็นพุ่มกลม โปร่ง เปลือกต้นด้านนอกเป็นสีเทาดำ เรียบ แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลทั่วไป ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีขาว ตามลำต้นหรือกิ่งไม้จะมีหนามยาว ๆ อยู่ประปราย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าผลัดใบ ชายป่า ที่รกร้างและด้านหลังชายหาด ที่ความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 375 มิลลิเมตร

ใบขี้หนอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงเวียนสลับ มีประมาณ 5-8 คู่ ใบย่อยออกเรียงตรงข้ามกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือสอบ โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-16 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวเป็นมัน ส่วนท้องใบมีขนสั้นนุ่ม แผ่นใบห่อเข้าเล็กน้อย เส้นแขนงใบมีข้างละประมาณ 7-9 เส้น ส่วนก้านใบย่อยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร

ดอกขี้หนอน ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามซอกใบค่อนไปทางปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และเป็นแบบแยกเพศ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวมี 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงประมาณพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ดอกมีพิษถ้ากินเข้าไปจะทำให้ตายได้

ผลขี้หนอน ผลเป็นผลแห้ง มีปีกยาว 3 ปีก เรียงตามยาว ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผลจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม


สรรพคุณของขี้หนอน

ด่างไม้ใช้เป็นยาแก้โรคกระษัย (ด่างไม้)
เปลือกใช้เป็นยาแก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้หวัดคัดจมูก ด้วยการนำเปลือกมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาแช่กับน้ำตีให้เป็นฟองสีขาว แล้วใช้ฟองนั้นสุมหรือพอกศีรษะเด็ก (เปลือกต้น)
ใช้เป็นยาแก้หวัด คัดจมูก (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
เปลือกใช้ผสมเป็นยาเขียวแก้ร้อนใน (เปลือก)
ใบใช้เป็นยาแก้ร้อน (ใบ)
ด่างไม้ใช้เป็นยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะ (ด่างไม้)
ใช้เป็นยาขับมุตกิดของสตรี (ด่างไม้)


ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขี้หนอน

ขี้หนอนมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ไม่พบความเป็นพิษ เมื่อให้สารสกัดจากใบด้วยเอทานอลและน้ำในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
สมุนไพรชนิดนี้มีความเป็นพิษเช่นเดียวกับมะคำดีควาย คือ เป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่น ถ้ากิน Saponin จะทำให้อาเจียนและท้องร่วง ถ้านำมาฉีดเข้าเส้นเลือดจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก (ศาสตราจารย์พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ)
ประโยชน์ของขี้หนอน
ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
ฟองที่ได้จากเปลือกนั้นสามารถนำมาล้างเครื่องเพชรได้เช่นเดียวกับมะคำดีควาย และยังสามารถนำมาใช้ซักผ้าได้อีกด้วย
ผลใช้ทำเป็นเครื่องประดับ
ในด้านการเป็นไม้ประดับ ต้นขี้หนอนจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีพุ่มใบหนา เรือนยอดค่อนข้างกลม สามารถปลูกเพื่อให้ร่มเงาได้ดี เมื่อผลัดใบแล้วจะออกดอกขาวบานสะพรั่ง ปลูกได้ง่ายและโตเร็ว ใช้พื้นที่ปลูกเพียง 3x3 เมตร
ในด้านการเป็นไม้ฟืนหรือถ่านไม้ เป็นฟืนที่ให้ความร้อน 4,543 แคลอรี/กรัม เป็นถ่านไม้ที่ให้ความร้อนถึง 6,989 แคลอรี/กรัม

ขอบคุณแหล่งที่มา https://medthai.com